กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) ในปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโล๊ะหะลอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละหะลอ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละหะลอ

หมู่บ้าน/ชุมชนในเขตรับผิดชอบของตำบลตะโละหะลอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อในประเทศ รวมสะสม 2551 ราย เสียชีวิต 38 ราย (ข้อมูลจาก รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)
Daily report EOC-YALA 13 เมษายน 2563) ในส่วนของจังหวัดยะลา ผู้ป่วยยืนยันทั้งหมด 85 ราย เสียชีวิต 2 ราย (Daily report EOC-YALA 13 เมษายน 2563)
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการ ให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยงานราชการ สถานบริการ สาธารณะต่างๆในเขตพื้นที่ตำบลตะโละหะลอ
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละหะลอ รับผิดชอบเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ทันต่อเหตุการณ์เพื่อลดผลการะทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก Coronavirus disease 2019 เป็นตระกูลเดียวกับโรคชาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัด ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืออู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีการการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้รู้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS)
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19(COVID-19) เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกนการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา -19 (COVID-19)ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19) 2. เพื่อตั้งด่านตรวจคัดกรองโรคและสถานที่กักกันเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อโคโรนา 3. เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19)

1.ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 2. มีด่านตรวจคัดกรองโรคและสถานที่กักกันเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 3. มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันโรคแก่กลุ่มเสี่ยงและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องครบ ร้อยละ100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด (COVID-19) ในปีงบประมาณ 2563

ชื่อกิจกรรม
โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด (COVID-19) ในปีงบประมาณ 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย 1.  ค่าป้ายรณรงค์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา -2019 พร้อมติดตั้งโครงไม้ ขนาด 2 x 4 ตรม. ๆ ละ 350 บาท จำนวน 5 ป้าย เป็นเงิน 14,000 บาท 2.  สื่อประชาสัมพันธ์ (สติกเกอร์ ) ขนาด A4 จำนวน 100 แผ่น ๆละ 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 3.  เจลแอลกอฮอล์ล้างมือชนิดขวดปั๊มขนาด 500 Ml จำนวน 20 ขวด ๆ ละ 370 บาท เป็นเงิน 7,400 บาท 4.  เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิทางหน้าผาก แบบ Non-conmtact infrared thermometer จำนวน 3 เครื่องๆ ละ 4000 บาท เป็นเงิน  12,000 บาท 5.  ชุดป้องกันเชื้อโรค จำนวน 10 ชุด ๆละ 1,550 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท 6.  น้ำยาฆ่าเชื้อ 1,000 ml จำนวน10 แกลอนๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท 7.  ถุงยาง (ไซค์ M L) จำนวน 20 กล่องๆ ละ 220 บาท เป็นเงิน 4,400 บาท 8.  รองเท้าบู๊ทจำนวน 10 คู่ ๆ ละ 295 บาท เป็นเงิน 2,850 บาท 9.  ค่าอาหารสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขอยู่เวรสถานที่กักกันระดับตำบล ตะโละหะลอ (เวร 24 ชั่วโมง) -  ค่าอาหาร จำนวน 3 มื้อ ๆละ 50 บาท 4 คน จำนวน 14 วัน เป็นเงิน 8,400 บาท -  ค่าอาหารว่าง จำนวน2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท 4 คน จำนวน 14 วัน เป็นเงิน3360 บาท                                                      รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  89,010 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 2. มีด่านตรวจคัดกรองโรคและสถานที่กักกันเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) 3. มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันโรคแก่กลุ่มเสี่ยงและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องครบ ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
89010.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 89,010.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
2. มีด่านตรวจคัดกรองโรคและสถานที่กักกันเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
3. มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันโรคแก่กลุ่มเสี่ยงและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องครบ ร้อยละ100


>