กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลท่ากำชำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

ปรธธานอาสาสมัครสาธารณสุข ม.4

นางสาวมูนีเจะมิง อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านตันหยงเปาว์
นางสาวสุรายนีเจะเลาะอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านตันหยงเปาว์
นางสาวรอกียะเจะมิงอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านตันหยงเปาว์
นางสาวรอสีด๊ะลาเตะอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านตันหยงเปาว์
นางสาวบาสีเราะมามะอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านตันหยงเปาว์

พื้นที่ตำบลท่ากำชำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้วิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสมโดยมีสาเหตุจากการกินอาหารที่มันจัดเค็มจัดหวานจัด รวมทั้งกินผักและผลไม้ที่ไม่เพียงพอ มีภาวะเครียด การสูบบุหรี่ และการดื่มสุราการออกกกำลังกายที่ไม่เพียงพอทำให้ จำนวนผู้ป่วยเรื้อรังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง ซึ่งพบได้ทั่วโลกทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ คือโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงประมาณ 5 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 860.53 ส่วนโรคเบาหวานพบประมาณ 3 ล้านคน อัตราป่วยต่อแสนประชากร 675.74 (ข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551)
จากสถานการณ์โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตันหยงเปาว์ มีการป่วยเพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่ไม่เหมาะสมซึ่งมีความเสี่ยงสูง จึงไม่สามารถลดปัญหาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อได้ รูปแบบการให้บริการแบบตั้งรับที่สถานบริการไม่สามารถที่จะตอบโจทย์ในการส่งเสริมป้องกันโรคของประชาชนได้ การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเสี่ยง จึงเป็นการประเมินภาวะเสี่ยงของสุขภาพประชาชนได้ในระดับหนึ่ง
ซึ่งจากสถานการณ์ข้างต้น อาสาสมัครสาธารณสุขบ้านตันหยงเปาว์เห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงตำบลท่ากำชำขึ้น เพื่อประชาชนในพื้นที่เขตรับผิดชอบ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่เป็นการพัฒนาระบบสุขภาพของประชาชนในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และได้ตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ร้อยละ 90 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ และได้ตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น

20.00 90.00
2 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่รวมถึงลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยรายเก่า

อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่เท่ากับศูนย์

60.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,057
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/09/2020

กำหนดเสร็จ 09/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.1 กิจกรรมอบรม

ชื่อกิจกรรม
1.1 กิจกรรมอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงความตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x50 บาท x 3 วัน = 7,500 บาท
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 50 คน x 2 มื้อ x 3 วัน = 7,500 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร 5 ชั่วโมง x 600 บาท x 3 วัน = 9,000 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์
-สมุด 10 บาท x 50 คน = 500 บาท
-ปากกา 5 บาท x 50 คน = 250 บาท
-แฟ้มใส่เอกสาร 15 บาท x 50 คน= 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กันยายน 2563 ถึง 4 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยและประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และได้ตระหนักถึงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมตรวจคัดกรองสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 50 บาท x 3 วัน = 7,500 บาท
-ค่าเครื่องวัดความดัน 2,250 บาท x 4 เครื่อง = 9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 กันยายน 2563 ถึง 9 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่รวมถึงลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยรายเก่า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว สามารถพึ่งพาตนเอง
2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถเป็นแบบอย่างและให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและประชาชนในชุมชนได้


>