กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการขับเคลื่อนศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ มัสยิดพะยอมงาม บ้านห้วยไทร ม.10 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

คณะกรรมการมัสยิดพะยอมงาม บ้านห้วยไทร ม.10 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

1.นายประสิทธิ์ทิพยลักษณ์
2.นายจรัสแสะอาหลี
3.นายอาสีสันติ้งหวัง
4.นายเชษฐาหลำย๊ะ
5.นายอนันต์แสะอาหลี

หมู่ที่ 10 บ้านห้วยไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งจัดระบบการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชน โดยใช้ศาสนานำการพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชน ซึ่งมัสยิดเป็นศูนย์รวมด้านวิถีชีวิตของชุมชนไทยมุสลิมและเป็นเป้าหมายดำเนินการให้เป็นต้นแบบของศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการชุมชนที่นอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เป็นสถานที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของประชาชนในชุมชน นับว่าเป็นสถานที่ที่มีความสำาคัญต่อชุมชนและมีความเกี่ยวพันกันจนไม่สามารถแยกออกได้ เป็นพื้นฐานสำคัญของมุมมองสุขภาพด้านสังคมและนิเวศวิทยา จากแนวคิดดังกล่าวศาสนสถานจึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ การดำเนินการเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพจึงมีหลายมิติ ได้แก่ มิติทางกายภาพสังคม จิตวิญญาณเศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งมิติเหล่านี้เชื่อมโยงกันอย่างมีพลวัตร การดำเนินการสร้างสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนต้องเกิดจากความร่วมมือกัน เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนอย่างแท้จริง การพัฒนาศาสนสถานเพื่อเป็นศาสนสถานที่ส่งเสริมสุขภาพที่มีประสิทธิผลและจับต้องได้ต้องดำเนินการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อทำให้ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ สามารถควบคุมการดำเนินการต่างๆ และสามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้ การพัฒนาชุมชนเป็นการดึงศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรวัตถุที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อพัฒนาความสามารถในการช่วยเหลือตนเองและสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเพื่อพัฒนาระบบที่มีความยืดหยุ่น เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและสอดคล้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
ในปัจจุบัน มีโรคอุบัติใหม่ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่เสี่ยงทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย หรือกลายเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่เรื้อรังรักษาหายได้ยาก โรคมะเร็ง คือ โรคร้ายอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทยไปมากที่สุด รองลงมา คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารมีไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย จนไขมันไปสะสมอุดตันในหลอดเลือด ใน 10 อันดับโรคที่คนไทยมักเป็น และเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตผิดๆ เช่น การรับประทานอาหารไขมันสูง ไม่ขยับตัว หรือออกกำลังกาย ซึ่งได้แก่ โรคเบาหวาน โรคระบบกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นอักเสบ โรคอ้วน และน้ำหนักเกิน โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคเครียด เป็นอีกโรคที่ติดอันดับ 10 โรคที่คนไทยเป็นกันมาก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้มักไม่แสดงออกอาการให้คนภายนอกรู้มากนัก เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกวัน การใส่ใจเรื่องสุขภาพจึงมีความจำเป็น และการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค จึงเป็นเรื่องของคนในชุมชนที่จะต้องสร้างความตระหนัก มัสยิดถือเป็นศูนย์รวมของสถาบันครอบครัวที่จะผลักดันการขับเคลื่อนให้คนในชุมชนรักและใส่ใจสุขภาพ คณะกรรมการมัสยิดจึงได้เสนอโครงการขับเคลื่อนศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ มัสยิดพะยอมงาม บ้านห้วยไทร ม.10 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล ขึ้น โดยมุ่งหวังให้ผู้นำครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพไปยังบุคคลในครอบครัว สร้างสุขนิสัยส่วนบุคคลให้ถูกต้อง รวมถึงการประเมินสุขภาพตนเอง และพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกสุขลักษณะ ช่วยลดผลกระทบในด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่ออบรมให้ความรู้การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามกลุ่มวัยอย่างเหมาะสม

ร้อยละ 80 มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการอบรม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 09/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงาน (กรรมการมัสยิด,อสม.)

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเตรียมความพร้อมคณะทำงาน (กรรมการมัสยิด,อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย - ประชุม, จัดทำแผนงาน, มอบหมายงาน (มีจุดคัดกรองสุขภาพสำหรับการรวมกลุ่มมากกว่า 10 คน ภายใต้การควบคุมของเจ้าพนักงานควบคุมโรค) - ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 20 คน = 1,000 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x 25 คน = 1,000  บ. - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ๕๐๐ บาท x 1 แผ่น = 500 บ. รวมเงิน 2,5๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามกลุ่มวัย พฤติกรรมบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย อารมณ์และความเครียด - อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ (ดัชนีมวลกาย, รอบเอว, ระดับความดัน, ระดับน้ำตาล และมวลกล้ามเนื้อ) และบรรยายการปรั

ชื่อกิจกรรม
อบรมการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามกลุ่มวัย พฤติกรรมบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย อารมณ์และความเครียด - อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ (ดัชนีมวลกาย, รอบเอว, ระดับความดัน, ระดับน้ำตาล และมวลกล้ามเนื้อ) และบรรยายการปรั
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 31 คน = 1,550 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x 31 คน = 1,550  บ.
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 300 บ. x 6 ชม. = 1,800 บ.
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก ราคา 3,800 บ.
  • เครื่องวัดความดัน ราคา 3,000 บ.
  • แท่นวัดส่วนสูง ราคา 1,500 บ. รวมเงิน 13,2๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13200.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติเทคนิคการการออกกำลังกายตามกลุ่มวัย - การวิ่ง - การปั่นจักรยาน - การยกน้ำหนัก - การยืดเหยียด - ฤาษีดัดตน/มณีเวช

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติเทคนิคการการออกกำลังกายตามกลุ่มวัย - การวิ่ง - การปั่นจักรยาน - การยกน้ำหนัก - การยืดเหยียด - ฤาษีดัดตน/มณีเวช
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x 25 คน = 1,250 บ.
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x 25 คน = 1,250  บ.
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 300 บ. x 6 ชม. = 1,800 บ. รวมเงิน 4,3๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้นำครอบครัวมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
2. ผู้นำครอบครัวรับรู้และประเมินสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้


>