กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเตรียมพร้อมรับมือลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพของเด็กเป็นผลกระทบโดยตรงจากสุขภาพของมารดาขณะตั้งครรภ์และโรคทางพันธุกรรมหลายโรค มีรายงานว่าผู้ป่วยโรคธาลัธซีเมียมีแนวโน้มสูงขึ้นมีเด็กและผู้ป่วยด้วยโรคนี้ถึงร้อยละ ๓๓.๖๓ โรคฮีโมพีเลีย โรคปากแหว่งเพดานโหว่ ก็ยังมีเด็กเป็นโรคนี้อยู่อีกมากถึงร้อยละ๕ จึงเป็นปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับความเอาใจใส่ดูแลและแก้ไขให้ถูกต้อง เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดีและเป็นกำลังของชาติที่สมบูรณ์ต่อไป รวมทั้งการให้ความรู้แก่มารดาขณะตั้งครรภ์ให้ระวังสุขภาพของตนเองและสุขภาพของลูกในครรภ์พร้อมกันเพื่อให้สุขภาพทั้งของมารดาและทารกพัฒนาไปอย่าสมบูรณ์พร้อมกันทั้งร่างกายและจิตใจได้อย่างเต็มที่ ซึ่งคุณภาพของเด็กและเยาวชนเกิดขึ้นได้จากการเห็นความสำคัญของเด็กโดยให้ความสำคัญอย่างจริงจังตั้งแต่การตั้งครรภ์ของแม่และการดูแลครรภ์ที่ถูกต้องระหว่างตั้งครรภ์ถือเป็นการใส่ใจดูแลสุขภาพของแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าของการตั้งครรภ์ พัฒนาการที่ดีของลูกในครรภ์ รวมไปถึงสุขภาพที่ดีของแม่และลูกนับตั้งแต่ตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด ๖ เดือน และเพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปอย่างมีพัฒนาการที่ดีแม่ตั้งครรภ์ควรใส่ใจดูแลตัวเองในเรื่องหลักๆ ดังนี้คือ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การกระตุ้นพัฒนาการลูกในครรภ์ และที่ขาดไม่ได้คือการใส่ใจกับการฝากครรภ์ เพราะจะได้รับการตรวจร่างกายและคำแนะนำในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง การติดตามการเจริญเติบโตและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กในครรภ์ และเพื่อให้ทารกในครรภ์คลอดออกมาอย่างสมบูรณ์แข็งแรงปลอดภัย นอกจากการใส่ใจกับการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และการได้รับการฝากครรภ์ ยังพบว่าอายุของแม่ขณะตั้งครรภ์ การได้รับยาบำรุงครรภ์ การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ โรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อของแม่ขณะตั้งครรภ์ก็มีผลต่อภาวะแรกเกิดของทารกอันจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตต่อไป เช่น แม่ที่มีอายุน้อยกว่า๑๘ ปี ( แม่วัยรุ่นในเขตรพสต.จำนวน ๑๖ คนคิดเป็นร้อยละ๑๗.๓๙ ตั้งแต่ ตค.๖๒ – พค.๖๓ ผลงานไม่ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดของกรมอนามัย ซึ่งกำหนดไว้ ๑๐ % ) และยังไม่เคยมีบุตรมีความเสี่ยงต่อการคลอดทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยการได้รับยาบำรุงขณะตั้งครรภ์โดยเฉพาะไอโอดีนที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาทถ้าระหว่างตั้งครรภ์แม่ไม่ได้รับหรือได้รับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้ทารกมีสติปัญญาลดลงก่อให้เกิดภาวะสมองพิการและหูหนวกได้ จากการวิจัยพบว่าเด็กอายุน้อยกว่า ๕ ปี ที่ขาดไอโอดีนจะมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กที่ได้รับสารไอโอดีนร้อยละ ๖.๙ - ๑0.๒ ส่วนพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์กับการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ พบว่าจะก่อให้เกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติบริเวณใบหน้า แขน ขา และการเจริญเติบโต รวมทั้งปัญหาทางด้านพฤติกรรมและความสามารถทางสติปัญญา ซึ่งการศึกษาในต่างประเทศพบว่าจะเกิดกลุ่มอาการผิดปกติของทารกในครรภ์ที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ของหญิงตั้งครรภ์ทั่วโลก ประมาณ ๙ รายต่อทารกแรกเกิด ๑,000 คน และระหว่างตั้งครรภ์แม่มีโรคประจำตัว ได้รับเชื้อหรือมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์เช่น เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะน้ำหนักตัวมากหรือน้อยกว่าปกติ และการขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดเป็นต้น ซึ่งการติดเชื้อของทารกในช่วงปริกำเนิดที่สำคัญได้แก่ HIV หัดเยอรมันเชื้ออีสุกอีใส Cytomegalovirus (CMV) และ Toxoplasmosis เป็นต้น ซึ่งเชื้อบางชนิดก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบประสาทและก่อให้เกิดความพิการต่อทารกได้จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้พบว่าการฝากครรภ์ ภาวะแทรกซ้อน การติดเชื้อและพฤติกรรมของแม่ขณะตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์ต่อภาวะแรกเกิดของทารก สามารถทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย คลอดก่อนกำหนด ขาดออกซิเจนเมื่อแรกเกิด และมีภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ซึ่งสิ่งดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารกแรกเกิดโดยเฉพาะในทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านในเมือง จึงจัดทำโครงการเตรียมความพร้อมรับมือเพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ดังนั้นการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ของแม่มีผลต่อภาวะแรกเกิดของทารกเพื่อให้มีการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเพื่อทำให้เด็กไทยเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์เห็นถึงความสำคัญของการตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์ ๑๒ สัปดาห์

หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักถึงความสำคัญของการฝากครรภ์เร็วก่อนอายุครรภ์๑๒สัปดาห์เพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ได้ร้อยละ๘๐

0.00
2 เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความความรู้ในการป้องกันเพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้,ความเข้าใจในการป้องกันเพื่อลดภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องร้อยละ๘๐

0.00
3 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครบ ๕ ครั้งตามเกณฑ์

หญิงตั้งครรภ์ในเขตรับผิดชอบได้รับบริการฝากครรภ์คุณภาพครบตามเกณฑ์ร้อยละ๘๐

0.00
4 หญิงตั้งครรภ์มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ที่ดีในอนาคต

หญิงตั้งครรภ์เมื่อคลอดบุตรแล้วสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง ๖ เดือน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดไม่เกิน๖เดือน,หญิงวัยเจริญพันธุ์คู่ที่พร้อมมีบุตรและอสม.ในเขตรับผิดชอบ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดไม่เกิน๖เดือน,หญิงวัยเจริญพันธุ์คู่ที่พร้อมมีบุตรและอสม.ในเขตรับผิดชอบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มี

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงทุกราย บรรยายให้ความรู้โดยวิทยาการระดับอำเภอ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่หญิงวัยเจริญพันธุ์และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงทุกราย บรรยายให้ความรู้โดยวิทยาการระดับอำเภอ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากรชม.ละ๓๐๐ บ x๖ ชม x ๓ คน x ๒วัน            เป็นเงิน = ๓,๖๐๐ บ. -ค่าอาหารกลางวันกลุ่มเป้าหมายจำนวน ๑๐๐คน -หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ ๑๕-๑๙ ปีจำนวน ๕๐ คน - หญิงตั้งครรภ์+สามี  จำนวน ๓๐ คน
- หญิงหลังคลอด จำนวน ๑๐  คน - อสม.  จำนวน  ๑๐ คน - อาหารกลางวันกล่องละ ๕๐ บ.x ๑๑๕ คน
(จนท. ,ทีมวิทยากร และคณะครูผู้ร่วมโครงการ จำนวน ๑๕ คน )       เป็นเงิน = ๕,๗๕๐ บ. - ค่าอาหารว่างมื้อละ๒๕บ.X๔มื้อ (๒วัน) x ๑๑๕ คน       เป็นเงิน = ๑๑,๕๐๐    บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20850.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงทุกราย

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเสี่ยงทุกราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย - ส่งต่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงทุกรายเพื่อรักษาต่อที่โรงพยาบาลโดยสูติแพทย์ประจำโรงพยาบาล -ส่งต่อมารดาหลังคลอดที่มีภาวะซึมเศร้าผิดปกติหลังคลอดเพื่อรับการรักษาที่โรงพยาบาล - ส่งต่อแม่วัยรุ่นหลังคลอดเพื่อรับบริการยาฝังคุมกำเนิดหลังคลอดทุกรายเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันภาวะเสี่ยงก่อนและขณะตั้งครรภ์และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องร้อยละ๘๐
2. หญิงวัยเจริญพันธุ์และหญิงตั้งครรภ์มีความตระหนักในการป้องกันภาวะเสี่ยงก่อนและขณะตั้งครรภ์ร้อยละ๘๐
3. หญิงตั้งครรภ์มีภาวะเสี่ยงจากการตั้งครรภ์ลดลงร้อยละ ๘๐
4. หญิงตั้งครรภ์มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ที่ดีในอนาคต
5. ทารกได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพและได้รับการทำคลอดอย่างปลอดภัยทั้งแม่และลูก
๖. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดตลอดจนทารกมีสุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรงและสุขภาพจิตดี


>