กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการจัดการขยะเปียกและขยะอันตรายในชุมชนบ้านทุ่ง ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

กองสาธารณสุขและสิงแวดล้อม

ชุมชนบ้านทุ่งทั้งหมด

ที่ทำการชุมชนบ้านทุ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยถือเป็นปัญหาหลักด้านมลพิษของประเทศไทยในปัจจุบันเนื่องจากจำนวนของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้นพร้อมกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมซึ่งส่งผลให้รูปแบบ การดำรงชีวิตของประชาชนจากรูปแบบชุมชนชนบทซึ่งผลิตขยะมูลฝอยเพียงเล็กน้อยต่อวันกลายเป็นการดำรงชีวิตแบบชุมชนเมืองหรือชุมชนอุตสาหกรรมซึ่งก่อให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยต่อวันเป็นจำนวนมากรวมถึงข้อจำกัดด้านพื้นที่ในการกำจัดขยะมูลฝอยซึ่งในปัจจุบันมีพื้นที่ที่จะสามารถกำจัดขยะมูลฝอยได้น้อยลงทุกวันรวมทั้งการต่อต้านจากประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยจึงส่งผลให้ความรุนแรงของปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอยรุนแรงเพิ่มมากขึ้น
ในคราวการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) เพื่อใช้เป็นกรอบ และทิศทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายของประเทศให้เร่งรัดการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอยทั้งในพื้นที่นำร่องและในระดับชุมชนและหมู่บ้านภายใต้ RoadMapการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557ให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็วเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้ผลสัมฤทธิ์และตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะมูลฝอย
ในการนี้ คณะอสม. ชุมชนบ้านทุ่ง จึงขอมีส่วนร่วมในการกำจัดขยะอินทรีย์ที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น รบกวน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในชุมชนดูแล/จัดการกับปัญหาขยะที่เกิดจากครัวเรือนได้อีกด้วย จึงได้รวมตัวกันดำเนินกิจกรรมลดขยะอินทรีย์และขยะอันตราย เพื่อสุขภาพของคนในชุมชน จึงขอสนับสนุนงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชนและได้ดำเนินการจัดตั้งถังหมักในชุมชน ในปีงบประมาณที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้แต่ในส่วนของขยะอินทรีย์และอันตราย ยังไม่มีแนวทางในการบริหารจัดการ และเป็นขยะที่มีจำนวนมากในชุมชน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชุมชน และยังช่วยในการลดปัญหาสุขภาพ ทั้งยังส่งเสริมให้แต่ละครัวเรือนมีการจัดการขยะ ที่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง เพื่อไม่ให้ขยะดังกล่าวตกค้าง ทำให้ชุมชนสะอาด น่าอยู่ และไม่มีแหล่งเพาะพันธุ์โรคในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในการคัดแยกขยะ

 

0.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี

 

0.00
3 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน

 

0.00
4 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตพร้อมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครัวเรือนและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 วางแผนรายละเอียดโครงการ

ชื่อกิจกรรม
วางแผนรายละเอียดโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ

ชื่อกิจกรรม
เขียนโครงการและขออนุมัติโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ประสานงานการดำเนินโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประสานงานการดำเนินโครงการ/ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการขยะโดยชุมชน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ การคัดแยกขยะเปียก และขยะอันตรายในชุมชน
กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมหน้าบ้านน่ามอง ในครัวเรือนของตนเองโดยประสานกับเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขฯเพื่อเก็บขนขยะ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,000.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดา ประจำงบประมาณปี พ.ศ. 2563 เป็นเงินจำนวน 32,000.-บาท (สามหมื่นสองพันบาทถ้วน) เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้
กิจกรรมให้ความรู้
1). ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและเจ้าหน้าที่ 25 บาท x 1 มื้อ x 100 คน เป็นเงิน 2,500.- บาท
2). เอกสารให้ความรู้/วัสดุ เป็นเงิน 2,250.- บาท
กิจกรรมเชิงปฏิบัติการคัดแยกขยะเปียกขยะอันตราย
1) ถังแยกขนาด 120 ml5 จุดๆละ 3 ถังรวม 15 x 650 บาทเป็นเงิน 9,750.- บาท
2) ถังหมักรวมขนาด 200 ml10 ใบ x 800 บาท เป็นเงิน 8,000.- บาท
3) ไวนิล ขนาด 1 X2 เมตร พร้อมติดตั้ง จำนวน 5 ชุดเป็นเงิน 2,500.- บาท
4) กากน้ำตาล 20 แกลลอนๆละ20 กก. x 300 บาทเป็นเงิน 6,000.- บาท
5) กล่องขยะอันตราย 2 กล่อง x 500 บาท เป็นเงิน 1,000.- บาท

รวมทั้งสิ้น 32,000.-บาท (สามหมื่นสองพันบาทถ้วน)
(ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้ตามที่จ่ายจริงตามความเหมาะสม)

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนในชุมชนได้มีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ
2.ปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธีลดน้อยลง
3.ประชาชนได้มีกิจกรรมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะโดยชุมชน
4.ประชาชนในชุมชนสร้างความเข้มแข็งให้แก่ครัวเรือนและชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


>