กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนต้านยาเสพติด ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสะเดา

กองสวัสดิการสังคม

1.นายทศพร ชาติสุวรรณ
2.นางสาวนงลักษณ์ สืบชนะ
3.นายปิยะ แสงรัตน์
4.นางอภิญญามีชัยชนะ
5.นายสถิตย์ โชติรุ่งโรจน์

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
ด้วยรัฐบาลกำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการขับเคลื่อนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่เพื่อหยุดยั้งและลดระดับการขยายตัวในทุกพื้นที่ของประเทศ เนื่องจากปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่มีผลต่อวิถีชีวิตและความสงบสุขของประชาชน และเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคมและพัฒนาประเทศโดยรวม เป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนของรัฐ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/ภาคเอกชน/ภาคประชาชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนภารกิจด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.2563 – พ.ศ.2565 โดยให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.2563 - พ.ศ.2565
ดังนั้นเทศบาลเมืองสะเดาได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญในการที่ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามนโยบายของรัฐบาลกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้เห็นโทษและพิษภัยของยาเสพติด ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อป้องปัญหายาเสพติด ยุทธศาสตร์ที่ 7 ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของประชาชนและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการอย่างบูรณาการ กิจกรรมอบรมให้ความรู้ตามแผนยุทธศาสตร์ เพื่อหยุดยั้งและลดระดับการขยายตัวของปัญหายาเสพติดในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเผยแพร่การป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเยาวชน/ประชาชน

 

0.00
2 เพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชน/ประชาชนให้ตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาของชุมชนตนเอง

 

0.00
3 เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชุมชนและเครือข่ายในระดับพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ

ชื่อกิจกรรม
รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประธานกล่าวพิธีเปิด

ชื่อกิจกรรม
ประธานกล่าวพิธีเปิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 เทเหล้าเผาบุหรี่ หลีกหนีสารเสพติด

ชื่อกิจกรรม
เทเหล้าเผาบุหรี่ หลีกหนีสารเสพติด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รณรงค์ต่อต้านยาเสพติด
  • บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด การป้องกันตนเองจากยาเสพติด
  • กิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่ หลีกหนีสารเสพติด
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 4 ดำเนินงานตามโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินงานตามโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ
จากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสะเดาจำนวน30,000บาท(สามหมื่นบาทถ้วน)เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการในแต่ละกิจกรรมจะเบิกจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องอาศัยระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมและการเข้าร่วมการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.2557และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการจัดงาน การจัดการแข่งขันกีฬาและส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาและรายละเอียด ดังนี้

รายการ ระเบียบ/หลักเกณฑ์/แนวทาง
1. ค่าวัสดุอุปกรณ์- ค่าแผ่นป้ายสติกเกอร์ “ครอบครัวปลอดยาเสพติด” ขนาด 12 x 25 ซม. ชิ้นละ 5 บาท จำนวน 4,000 ชิ้น เป็นเงิน 20,000 บาท
ระเบียบฯ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม พ.ศ.2557 หมวดที่ 2 ส่วนที่ 1
ข้อ 12 (5)
2. จัดนิทรรศการ - จัดนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด เป็นเงิน 3,800 บาท
ระเบียบ ฯ ว่าด้วยการเบิกจ่ายในการจัดงาน การจัดการแข่งขันกีฬาและการส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2559 หมวดที่ 1 ข้อ 5
3. อาหารว่างและเครื่องดื่ม - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท จำนวน 200 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
ระเบียบฯ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม พ.ศ.2557 หมวดที่ 2 ส่วนที่ 1
ข้อ 12 ,16,18,25(1) (บัญชีหมายเลข 1,5)
4. ค่าสมนาคุณวิทยากร - จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 เป็นเงิน 1,200 บาท
ระเบียบฯ ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม พ.ศ.2557 หมวดที่ 2 ส่วนที่ 1

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่
2.ประชาชนมีจิตสำนึกและตระหนักถึงปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาของชุมชนตนเอง
3.เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน


>