กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่ 2 ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง

-

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโงอำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

ปัญหากลุ่มเด็กปฐมวัย (0-5ปี) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการตายมารดาและเด็กอายุ 0-5 ปี ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลง โดยอัตราตายมารดาลดลงจาก 374.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปี พ.ศ.2505 เป็น 23.3 ต่อเกิดมีชีพแสนคน ในปีพ.ศ.2557 แต่ยังสูงกว่าเป้าหมายการพัฒนาสหัสวรรษ (MDGs) ที่กำหนดไว้เท่ากับ 18 ต่อการมีชีพแสนคน สำหรับภาวะโภชนาการและพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า อุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ยังเป็นปัญหาและยังไม่บรรลุเป้าหมายที่กระทรวงกำหนดไว้ไม่เกิน ร้อยละ 7 และจากผลการตรวจคัดกรองและประเมินพัฒนาการของเด็กในกลุ่มนี้ พบว่า มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 99.3 และ 98.7 ซึ่งเกินกว่าค่าที่กระทรวงกำหนดไว้ที่ร้อยละ 85
จังหวัดปัตตานียังมีปัญหาด้านสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญและส่งผลกระทบ โดยพบว่าปัญหามารดาและทารกเสียชีวิตยังมีอัตราที่สูงกว่าในพื้นที่อื่นๆ และสูงกว่าค่าเป้าหมายต่างประเทศ ปัญหาเด็กมี IQ ต่ำ ข้อมูลการสำรวจ IQ เฉลี่ยของเด็กในจังหวัดปัตตานี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 88.32 ซึ่งอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในประเทศ
ด้านโภชนาการเด็ก 0-5 ปี อันเนื่องมาจาก ด้านโภชนาการ ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว การกระจายอาหาร และความสามารถในการเข้าถึงอาหาร ส่งผลให้เด็กมีความเจริญที่ไม่สมส่วน โดยพบ เด็กเตี้ยร้อยละ 17.50 เด็กผอมร้อยละ 7.16 เนื่องจากขาดสารอาหารเรื้อรังปัญหาทันตสุขภาพ จังหวัดปัตตานีได้มีการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับจังหวัดมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน ในกลุ่มที่เป็นตัวแทนของเด็ก 0-5 ปี คือ เด็กอายุ 18 เดือน และเด็ก 3 ปี ซึ่งมีแนวโน้มปราศจากโรคฟันน้ำนมผุเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัดแต่ยังต่ำอยู่ เมื่อเทียบกับระดับประเทศ (เด็ก 3 ขวบ ปราศจากฟันผุร้อยละ 50.6) ปัญหากลุ่มโรคติดต่อในเด็กที่เกิดจากไม่ได้รับวัคซีน ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย และมีอุบัติการณ์การเกิดโรคเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ เช่น ไอกรน คอตีบ เป็นต้น สาเหตุของผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของวัคซีน ในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ยังมีความรู้ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องและความเชื่อที่ผิดๆ เช่น วัคซีนไม่ฮาลาล ฉีดวัคซีนแล้วทำให้เด็กเป็นไข้ เป็นต้น ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน DTP-HB3/OPV3 ร้อยละ 75.72 ได้รับวัคซีน MMR1 1 ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 80.20 วัคซีน IPV ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 67.78 วัคซีน DTP-HB4/OPV4 ร้อยละ 71.22 วัคซีน JE2 ร้อยละ 73.39 วัคซีน JE3 ร้อยละ 60.47 วัคซีน MMR2 ในเด็กอายุครบ 3ปี ร้อยละ 72.28 วัคซีน DTP5/OPV5 ร้อยละ 62.76
จากข้อมูลดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานีได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กปัตตานีโดยได้กำหนดนโยบาย Pattani smart kids เพื่อให้เด็กปัตตานีสุขภาพดี พัฒนาการสมวัย รูปร่างสมส่วน ฟันดี
จากข้อมูลการปฏิบัติงาน 4 กิจกรรมในเด็กอายุ 0- 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ปีงบประมาณ 2562พบว่า เด็ก 0-5 ปี อัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน DTP-HB3/OPV3 ร้อยละ 90.55 ได้รับวัคซีน MMR1ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 90.55 วัคซีน IPV ในเด็กอายุครบ 1ปี ร้อยละ 70.00 วัคซีน DTP-HB4/OPV4 ร้อยละ 65.29 วัคซีน JE2 ร้อยละ 75.97 วัคซีน JE3 ร้อยละ 75.73 วัคซีน MMR2 ในเด็กอายุครบ 3ปี ร้อยละ 79.61 วัคซีน DTP5/OPV5 ร้อยละ 65.64 จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วนในแต่ละช่วงอายุด้านโภชนาการมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 72.68มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 96.92 และเด็กอายุ 3-5 ปี ยังมีฟันผุ ร้อยละ 65.54
จากข้อมูลดังกล่าวทำให้ทราบว่า ผลการปฏิบัติงานทั้ง 4 กิจกรรมในเขตพื้นที่บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิปะสะโง ยังเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ที่ต้องมีการดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจัง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 45
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงแกนนำอสม. อสม.Smart kids หมู่ละ 2 คน ในบทบาทการทำงานด้าน Smart kids

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงแกนนำอสม. อสม.Smart kids หมู่ละ 2 คน ในบทบาทการทำงานด้าน Smart kids
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงแกนนำอสม.  อสม.Smart kids หมู่ละ 2 คน ในบทบาทการทำงานด้าน Smart kids

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก Smart kids 0-5 ปี ต.ลิปะสะโง ผ่าน ครบทั้ง 4 ด้าน (วัคซีนครบ พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  2. ผู้ปกครองเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติในการดูแลเด็กในปกครองได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ดำเนินโครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่2 ปี 2563

ชื่อกิจกรรม
ดำเนินโครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่2 ปี 2563
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.  สำรวจกลุ่มเป้าหมายเด็ก 0-5 ปี ที่เข้าเกณฑ์ 2.  รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่2 ปี 2563 3.  เปิดรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมโครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่2 ปี 2563 4.  จัดดำเนินการกิจกรรมประกวดโครงการหนูน้อย SMART KIDS ตำบลลิปะสะโง ปีที่2 ปี 2563 5.  สรุปประเมินโครงการเพื่อการปรับปรุงพัฒนาต่อไป รายละเอียดงบประมาณ - ค่าป้ายจัดประกวดหนูน้อย SMART KIDS ขนาด 1.2 x 3  เมตร    จำนวน  1 ป้าย  เป็นเงิน   720   บาท -  ค่าตอบแทนกรรมการตัดสินการประกวดหนูน้อย Smart   kids  จำนวน  3  คน x 600 บาท   เป็นเงิน  1,800   บาท - ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มือ  x มื้อละ  50 บาท  x จำนวน  90  คน  เป็นเงิน  4,500  บาท - ค่าอาหารว่าง   จำนวน 2 มื้อ x   มื้อละ 25  บาท x จำนวน  90  คน  เป็นเงิน  4,500  บาท - ค่าวัสดุชุดส่งเสริมพัฒนาการเด็กในการจัดกิจกรมมประกวด  เป็นเงิน  6,480  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก Smart kids 0-5 ปี ต.ลิปะสะโง ผ่าน ครบทั้ง 4 ด้าน (วัคซีนครบ พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  2. ผู้ปกครองเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติในการดูแลเด็กในปกครองได้อย่างถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก Smart kids 0-5 ปี ต.ลิปะสะโง ผ่าน ครบทั้ง 4 ด้าน (วัคซีนครบ พัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ฟันไม่ผุ) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
2. ผู้ปกครองเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติในการดูแลเด็กในปกครองได้อย่างถูกต้อง


>