กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทราย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อสม.ตำบลนาทรายเคาะประตูบ้านป้องกันภัยหมอกควัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทราย

ชมรมอสม.นาทราย

นางเพ็ญศรีสิงห์ตัน และคณะ

อบต.นาทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะหมอกควันไฟใหม้ป่า(คน)

 

10,000.00

กว่า 20 ปี มาแล้ว ที่เราวนเวียนกับปัญหาหมอกควันที่เหมือนกับว่าเราจะไม่เคยประสบผลสำเร็จในการแก้ปัญหาหมอกควัน สิ่งที่เราต้องเผชิญคือสถานการณ์เป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยมักจะเกิดในช่วงปลายฤดูหนาวสู่ฤดูแล้งประมาณช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายนของทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และลำปาง ต้องประสบกับปัญหาหมอกควันและมลพิษในอากาศที่สูงมากกว่าปกติ เนื่องจากพื้นที่ชุมชนทางภาคเหนือส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งมีภูเขาล้อมรอบเป็นลักษณะแอ่งกระทะทำให้หมอกควันไม่สามารถกระจายตัวออกไปได้ และสภาพภูมิอากาศในช่วงฤดูหนาวที่มีความกดอากาศสูงสภาพอากาศนิ่งและแห้งเป็นเวลานานทำให้มีการสะสมของสารมลพิษเหล่านี้ในบรรยากาศสูงเกินมาตรฐาน โดยปกติหมอกควันและมลพิษทางอากาศจะลอยขึ้นไปในอากาศได้สูงประมาณ 3-5 กิโลเมตร แต่เมื่อมีภูเขาสูงกั้นและพื้นที่ชุมชนหรือเมืองมีลักษณะที่เป็นแอ่งกระทะจึงทำให้หมอกควันและมลพิษสะสมในบรรยากาศเป็นปริมาณมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มีสาเหตุเกิดจากการเผาไหม้ที่สำคัญคือ การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูก การเผาขยะชุมชนและการก่อไฟให้ความอบอุ่น การเผาไหม้ก่อให้เกิดหมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ซึ่งหากได้รับเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดโรค ต่าง ๆ เช่น โรคหืด โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดอักเสบ เป็นต้น
จากข้อมูลเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ตรวจวัดที่บริเวณโรงพยาบาลลี้ ในเดือน ธันวาคมปี พ.ศ. 2562 ได้ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) มีค่าเกิน 100 มคก./ลบ.ม. ซึ่งอยู่ในระดับที่มีผลต่อสุขภาพประชาชน
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาทราย จึงได้จัดทำโครงการอสม.ตำบลนาทรายเคาะประตูบ้านป้องกันภัยหมอกควัน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และการป้องกันตนเองเรื่องหมอกควันและฝุ่นขนาดเล็ก(PM2.5)ที่มีผลต่อสุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และการป้องกันตนเองเรื่องหมอกควันและฝุ่นขนาดเล็ก(PM2.5)ที่มีผลต่อสุขภาพ

ประชาชนตำบลนาทรายจำนวน 7,830 ครัวเรือน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 10,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมกลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาทราย ชี้แจงวัตถุประสงค

ชื่อกิจกรรม
ประชุมกลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาทราย ชี้แจงวัตถุประสงค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมกลุ่ม อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาทราย ชี้แจงวัตถุประสงค์

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มีนาคม 2563 ถึง 18 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม ทั้งตำบล ทราบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์วางไว้ตามจุดต่าง ๆ จำนวน 23 หมู่บ้าน   จัดทำแผ่นพับให้ความรู้และจัดทำสื่อมีเดียให้ความรู้ ค่าป้ายไวนิลโครงการ 1 ป้ายไวนิลให้ความรู้เรื่องการป้องกันตนเองจากหมอกควันและฝุ่นขนาดเล็ก(PM2.5)ขนาด13 เมตร เมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท จำนวน 23 ป้าย                          เป็นเงิน 10,350 บาท 2.ป้ายไวนิลให้ความรู้เรื่องวิธีการทำหน้ากากอนามัยป้องกันหมอกควันและฝุ่นขนาดเล็ก(PM2.5)ได้ด้วยตนเองขนาด13 เมตร
เมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 450 บาท จำนวน 23 ป้าย          เป็นเงิน 10,350 บาท 3.แผ่นพับให้ความรู้เรื่องอันตรายจากหมอกควันและการป้องกัน จำนวน 7,900แผ่น แผ่นละ 1 บาท                      เป็นเงิน 7,900   บาท 4. แผ่นเสียงประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องอันตรายจากหมอกควันและการป้องกันสองภาษา จำนวน 35 แผ่น แผ่นละ 100 บาท        รวมเป็น 3,500   บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มิถุนายน 2563 ถึง 9 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการปชส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
32100.00

กิจกรรมที่ 3 วัดปริมาณฝุ่นในรพสต.และชุมชน

ชื่อกิจกรรม
วัดปริมาณฝุ่นในรพสต.และชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วัดปริมาณฝุ่นในรพสต.และชุมชนใช้เครื่องวัดบริมาณฝุ่น 1 เครื่อง และ วัดค่าฝุ่นในเขตตำบลนาทราย 1 เครื่อง
เครื่องใช้เครื่องวัดบริมาณฝุ่น 1 เครื่อง และ วัดค่าฝุ่นในเขตตำบลนาทราย 1 เครื่องเครื่องวัดค่าฝุ่น PM2.5รุ่น Air Detector MiniTiktok Xiaomi
Smrtmini จำนวน 4 เครื่องเครื่องละ1,690 บาท                  เป็นเงิน 6,760    บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

วัดปริมาณ 4 แห่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6760.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
สรุปกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามประเมินผลและสรุปกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 สิงหาคม 2563 ถึง 26 กรกฎาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สรุปการดำเนินงาน ค่าสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 3 เล่ม เล่มละ 150 บาท          เป็นเงิน  450      บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 39,310.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความรู้และการป้องกันตนเองเรื่องหมอกควันและฝุ่นขนาดเล็ก (PM2.5) ที่มีผลต่อสุขภาพ


>