กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน รหัส กปท. L5314

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านกาแบง
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงเรียนบ้านกาแบง
กลุ่มคน
1. นายกชพงศ์เพชรอินทร์ ผู้ประสานงาน คนที่ 1

2. นางสาวนพวรรณ นิลสกุลผู้ ประสานงาน คนที่ 2

3. นางสุวรรณี บุพศิริ

4. นายนิคมจิตปาโล

5. นางสาวอุใลบ๊ะห์ ขาวเชาะ
3.
หลักการและเหตุผล

ทุกคนอยากมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ซึ่งการกินอาหารถูกต้องเหมาะสมและพอเพียงจะทำให้มีโภชนาการดี และนำไป สู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหาร หรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วน หรือโภชนาการเกิน“โภชนาการ” จึงเป็นเรื่องของการกิน “อาหาร” ที่ร่างกายเรานำ “สารอาหาร” จากอาหารไปใช้ประโยชน์และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่างๆ ในวงจรชีวิตมนุษย์ทุกเพศทุกวัยทั้ง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกายจิตใจอารมณ์สังคมและสติปัญญาจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญเหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐาน เพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในปี 2562เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านกาแบง จำนวน 91คน พบเด็กที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการจำนวน4คน คิดเป็นร้อยละ 4.39เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์ (ท้วมเริ่มอ้วนและอ้วน)จำนวน11 คน คิดเป็นร้อยละ 12.09 นอกจากนี้ยังมีเด็กที่ไม่กินผัก จำนวน 10 คนคิดเป็นร้อยละ 10.99และเด็กที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปาก จำนวน 30คน คิดเป็นร้อยละ32.98ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการส่งเสริมโภชนากการและพัฒนาการเด็กในสถานศึกษา และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กด้วยและจากเหตุการณ์ในปัจจุบันพบการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชน นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในโรงเรียน จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงเรียนบ้านกาแบงจึงได้จัดทำโครงการ“โครงการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านกาแบง” เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะทุพโภชนาการเด็กและติดตามเด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์, เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยงส่งเสริมเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับหนูน้อย เป็นการเพิ่มทักษะให้เด็กในการประกอบอาหาร ส่งเสริมการออกกำลังกายและพัฒนาการ ทางด้านสติปัญญาด้วย ลานกิจกรรม โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่องและรวมทั้งการจัดกิจกรรมให้ความสำคัญกับมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อเฝ้าระวังและติดตามโภชนาการเด็กที่เสี่ยงต่อการมีภาวะปัญหาภาวะโภชนาการ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 มีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อให้ครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก และส่งเสริมให้เด็กรับประทานผักและผลไม้
    ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 80 ของครู ผู้ปกครองเด็ก และแม่ครัว มีความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก - เด็กที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ และไม่กินผัก มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างน้อยร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. เพื่อให้เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด
    ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 100เด็กที่น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์,เกินเกณฑ์และกลุ่มเสี่ยง ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิด - เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอยู่ในภาวะปกติ - เด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ร้อยละ 80 มีน้ำหนักลดลงอยู่ในภาวะปกติ - เด็กที่มีความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ได้รับการแก้ไขร้อยละ 100
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาของเด็กและส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้การสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
    ตัวชี้วัด : - เด็กร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาและรักการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น - โรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมแผนการเรียนการสอนในลักษณะ Active Learning และ Active play
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 5. เพื่อป้องกันและลดอัตราปัญหาสุขภาพอนามัย และสุขภาพช่องปากของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : - เด็กนักเรียนร้อยละ 80 รู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกวิธีและโรคฟันผุลดลง - เด็กที่มีปัญหาสุขภาพและสุขภาพในช่องปากได้รับการแก้ไข โดยทันตแพทย์หรือทันตสาธารณสุข ร้อยละ 100
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 6. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด(COVID-19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)
    ตัวชี้วัด : เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด(COVID-19) และการเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID-19)
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. เฝ้าระวัง/ติดตาม
    รายละเอียด

    กิจกรรมย่อยเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็ก

    เป้าหมาย- เด็กนักเรียนจำนวน 91 คน

    รายละเอียดกิจกรรม

    • ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กอายุ 5-13 ปี

    • บันทึกผลในสมุดทะเบียนเด็กและสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

    • จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นรายเฉพาะ

    • จัดทำคู่มือเมนูอาหารแต่ละชนิด คุณประโยชน์ของแต่ละเมนูและโภชนาการสำหรับเด็ก

    งบประมาณ

    • ค่าถ่ายเอกสารสมุดบันทึกการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง  จำนวน 91ชุด ชุดละ  25 บาท  เป็นเงิน  2,275บาท

    รวมเป็นเงิน 2,275บาท

    งบประมาณ 2,275.00 บาท
  • 2. อบรม/ให้ความรู้
    รายละเอียด

    กิจกรรมย่อย ให้ความรู้เรื่องภาวะโภชนาการในเด็ก 5-13 ปี แก่ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัว

    เป้าหมาย

    • ครู จำนวน11คน

    • ผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะโภชนาการจำนวน15คน

    • เด็กนักเรียนจำนวน 91 คน

    • แม่ครัว จำนวน1คน

    รายละเอียดกิจกรรม

    อบรมให้ความรู้ เรื่อง

    • การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กวัยเรียน

    • ความสำคัญของอาหาร

    • วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก

    • โรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ

      กิจกรรมย่อย เสริมประสบการณ์ การประกอบอาหาร

    เป้าหมาย

    • เด็กที่มีภาวะโภชนาการ จำนวน15 คน

    รายละเอียดกิจกรรม

    จัดทำเมนูผักเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กที่ไม่ชอบรับประทานผัก

    • ผักชุบแป้งทอด

    • สลัดโรล

    • สลัดผลไม้

    • น้ำผลไม้ปั่น

    • ตำผลไม้

    โดยการทำเมนูไว้ สำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาโภชนาการ

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 118 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,950บาท

    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3.0 เมตร เป็นเงิน700 บาท

    • ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 118 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 3,540บาท

    รวมเป็นเงิน 7,790บาท

    วัสดุในการทำเมนูอาหารสำหรับกลุ่มเด็กที่มีปัญหาโภชนาการ

    • ผักชุบแป้งทอด

    • สลัดโรล

    • สลัดผลไม้

    • น้ำผลไม้ปั่น

    • ตำผลไม้

      • และเมนูอาหารอื่นๆ

    รวมเป็นเงิน4,750บาท

    งบประมาณ 12,540.00 บาท
  • 3. ติดตาม
    รายละเอียด

    กิจกรรมย่อย ติดตามเด็กที่มีภาวะโภชนาการ

    เป้าหมาย

    • เด็กที่มีภาวะโภชนาการ  จำนวน  15 คน

    รายละเอียดกิจกรรม

    • เยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง จำนวน 2-3 ครั้ง

    • ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนักโภชนาการและครู

    ไม่ชอใช่งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 4. ส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกาย
    รายละเอียด

    กิจกรรมย่อยส่งเสริมพัฒนาการ/การออกกำลังกาย และเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน

    เป้าหมาย

    • นักเรียนจำนวน91คน

    รายละเอียดกิจกรรม

    • สร้างลานกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ ได้แก่ พื้นนับเลข, พื้นตัวอักษรและตารางกระโดด 9 ช่อง

    • ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้แก่นักเรียน ได้แก่ ปรับภาพแวดล้อมในโรงเรียน เก็บขยะ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น อย่างน้อย 2-3 ครั้ง/สัปดาห์

    งบประมาณ

    ค่าวัสดุ– อุปกรณ์การทำลานกิจกรรม

    • ค่าสีนำพลาสติก สีขาว 4กระป๋องx 160บาทเป็นเงิน 640บาท

    • สีน้ำพลาสติกสีน้ำเงิน กระป๋อง x 180 บาทเป็นเงิน 720บาท

    • สีน้ำพลาสติกสีแดง 4กระป๋อง x 180บาทเป็นเงิน 720บาท

    • สีน้ำพลาสติกสีเหลือง 4กระป๋อง x 180บาทเป็นเงิน 720บาท

    • สีน้ำพลาสติกสีเขียว 4กระป๋อง x 180บาทเป็นเงิน 720บาท

    • แลกเกอร์เคลือบเงา 2 แกลลอน 350 บาทเป็นเงิน 700บาท

    • แปรงทาสี 15อันx40บาทเป็นเงิน 600บาท

    รวมเป็นเงิน4,820บาท

    งบประมาณ 4,820.00 บาท
  • 5. ส่งเสริมสุขภาพ และทันตกรรม
    รายละเอียด

    กิจกรรมย่อย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และทันตกรรม

    เป้าหมาย

    • นักเรียนจำนวน91คน

    รายละเอียด

    • อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพและคัดเลือกแกนนำนักเรียนหรือสารวัตรนักเรียน เพื่อทำหน้าที่ตรวจสุขภาพของนักเรียนเบื้องต้น รายงานครูผู้รับผิดชอบ

    • อบรมให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพ สำหรับเด็กวัยเรียน หลักสูตร 1 วันพร้อมทั้งสาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่นักเรียน

    • รณรงค์ให้นักเรียนทุกคน แปรงฟันหลังอาหารทุกวัน โดยแกนนำนักเรียนสอน/สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีแก่นักเรียนในโรงเรียน

    • บันทึกการแปรงฟันและตรวจสอบโดยแกนนำนักเรียน

    • กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครองมาให้คำปรึกษา แนะนำ

    • กรณีเจอนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากรุนแรง ครูผู้ดูแลเชิญผู้ปกครอง เพื่อส่งต่อไปรับการรักษา

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 2ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600บาท

    • จัดหาวัสดุและอุปกรณ์สาธิตในแปรงฟัน ได้แก่

    • แปรงสีฟัน จำนวน91ด้าม

      -ยาสีฟันจำนวน16หลอด

    เป็นเงิน 2,275บาท

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 91 คนๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,275 บาท

    รวมเป็นเงิน 5,150บาท

    งบประมาณ 5,150.00 บาท
  • 6. กิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19(COVID-19)
    รายละเอียด

    กิจกรรมย่อย มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด- 19

    เป้าหมาย

    • เด็กนักเรียนจำนวน 91 คน

    • ครู  จำนวน  11  คน

    • ผู้ที่มาติดต่อราชการ

    งบประมาณ

    • ค่าแอลกอฮอล์ ขนาด 500 ml  จำนวน 3 ขวด ขวดละ 280 บาท เป็นเงิน 840 บาท

    • ค่าเครื่องวัดไข้  จำนวน 1 เครื่อง เครื่องละ 2,400 บาทเป็นเงิน  2,400 บาท

    • หน้ากากผ้า50 ชิ้นเป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน  4,240 บาท

    งบประมาณ 4,240.00 บาท
  • 7. รายงานผลโครงการ
    รายละเอียด

    กิจกรรมย่อย รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

    รายละเอียดกิจกรรม

    • จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

    • จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

    งบประมาณ

    ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 2เล่มๆละ 250บาท เป็นเงิน 500 บาท

    รวมเป็นเงิน 500 บาท

    งบประมาณ 500.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนบ้านกาแบง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 29,525.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • เด็กนักเรียนได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการอย่างครอบคลุม

  • ครู ผู้ปกครอง และแม่ครัวมีความรู้และเข้าใจเรื่องภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียน

  • เด็กที่มีปัญหาโภชนาการมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

  • เด็กที่มีปัญหาสุขภาพอนามัยมีจำนวนลดลงและได้รับการรักษาที่ถูกวิธี

  • มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID -19)

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน รหัส กปท. L5314

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน รหัส กปท. L5314

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 29,525.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................