กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสน

1. นายคณิต ตุกังหัน

2. ส.ต.ต.สนิท ขาวเชาะ

3. นางคอดีเยาะ ยาหมาย

4. นางสาวฐานิศา สาเบดผู้ ประสานงาน คนที่ 1

5. นางสาววิภาพร รัตนญาติผู้ประสานงาน คนที่ 2

ตำบลแหลมสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 80 ของประชากรในประเทศ จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน การแข่งขันให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อให้มีกำไรมากที่สุด ใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อยลง เกษตรกรจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ รวมทั้งการใช้สารเคมีเพื่อเร่งผลผลิต หรือสารกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลาย หากเกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชไม่มีความรู้ในการป้องกันตนเองหรือไม่ได้ใช้อย่างถูกวิธีจะทำให้สารเคมีเข้าไปสะสมในร่างกายมีผลทำให้ระดับเอนไซน์โคลีนเอสเตอเรสลดลงร่างกายอาจเกิดภาวะเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้สาเหตุเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มุ่งการเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นโดยคิดว่าการใช้สารเคมีเป็นเพียงทางเดียวที่จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและราคาดี

โดยไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสุขภาพที่นอกจากอันตรายต่อสุขภาพเกษตรกรผู้ใช้แล้วยังมีผลต่อครอบครัวผู้บริโภค และประชาชนในชุมชน โดยเฉพาะพัฒนาการของเด็กที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้และในปี 2562 คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีมติแบน 3 สารเคมีอันตราย ได้แก่ ไกลโฟเซต (Glyphosate), พาราควอต (Paraguard) และคลอร์ไพรีฟอส (Chlopyrifort) ซึ่งเป็นสารอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ

ผลการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยกระดาษโคลีนเอสเตอเรส (Cholinesterase reactive paper) ในกลุ่มเกษตรกรพบว่าเกษตรกรที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยต่อพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พ.ศ.2554-2558 คิดเป็นร้อยละ 32.47, 30.94, 30.57, 34.02 และ 32.45 ตามลำดับ (สำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม) จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะต้องช่วยกัน เพื่อลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร

จากการสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกผัก ผลไม้ ในตำบลแหลมสน โดย อสม. เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ พบว่ามีเกษตรกรทั้งหมด ๙๐ คน โดยจะปลูกพืชหมุนเวียนกันไป โดยฉพาะการปลูกแตงโมซึ่งเป็นผลไม้ที่ขึ้นชื่อของตำบลแหลมสน เนื่องจากมีรสหวาน กรอบ ซึ่งในจำนวนนี้บางส่วนก็ผ่านมาตรฐาน GMP ของสำนักงานเกษตร และพบว่าบางส่วนในการปลูกผลไม้เหล่านี้ยังมีการใช้สารเคมี ดังนั้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร รวมทั้งเพื่อให้ เกษตรกรทุกคนมีผลเลือดปกติ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมสนจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกรมีความรู้/ทักษะ เกี่ยวกับ 1. เทคนิคการเจาะเลือดเกษตร 2. การเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร 3. การตรวจหาสารเคมีตกค้างในผัก 4. การใช้เกษตรอินทรีย์

หลังได้รับการอบรมแกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร

  1. สามารถเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกายได้ ร้อยละ 80

  2. มีความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร และการใช้เกษตรอินทรีย์ ร้อยละ 80

  3. สามารถตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

  4. สามารถลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ เกษตรกรรมปลูกแตงโม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

0.00
2 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช/เฝ้าระวังอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสามารถดูแลสุขภาพได้
  1. เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้อย่างปลอดภัย หลังเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80

  2. สามารถลดปัจจัยเสี่ยงจากการประกอบอาชีพลง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

  3. หลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีการเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 50

0.00
3 ผลการเจาะเลือดเกษตรอยู่ในระดับปลอดภัยมากขึ้น

หลังการเข้าร่วมโครงการ ผลการเจาะเลือดเกษตรกรอยู่ในระดับปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 50

0.00
4 ไม่พบการปนเปื้อนสารเคมีในผักของเกษตรกร

ร้อยละ 90 ของผักที่เกษตรกรปลูกไม่พบการปนเปื้อนสารเคมี

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 90
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 30/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม/อบรม

ชื่อกิจกรรม
ประชุม/อบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดตั้งแกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร และจัดอบรมให้ความรู้พัฒนาศักยภาพแกนนำ (2 วัน)

เป้าหมาย:

แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร จำนวน 20 คน

รายละเอียดกิจกรรม

  • ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรมและทำแบบทดสอบก่อนการอบรม

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์และประวัติความเป็นมาของโครงการ


  • การอบรมให้ความรู้/ฝึกทักษะ เกี่ยวกับ

    1. เทคนิคการเจาะเลือดเกษตร(2.5 ชั่วโมง)

    2. การเฝ้าระวังสุขภาพเกษตรกร(3 ชั่วโมง)

    3. การตรวจหาสารเคมีตกค้างในผัก (3 ชั่วโมง)

    4. การใช้เกษตรอินทรีย์(3 ชั่วโมง)

  • อภิปราย ซักถาม และทำแบบทดสอบหลังการอบรม

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรมและผู้สังเกตการณ์จำนวน 25 คน x 70 บาท x 1 มื้อx 2 วัน เป็นเงิน 3,500 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม และผู้สังเกตการณ์จำนวน 25 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 2 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท

  1. ค่าตอบแทนวิทยากร
    3.1 วิทยากรในพื้นที่ จำนวน 2.5 ชั่วโมง x 300 บาท เป็นเงิน 750 บาท

3.2 วิทยากรนอกพื้นที่ จำนวน 9 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท

  1. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์

4.1 ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ สำหรับการอบรม จำนวน 20 คนx 50 บาทเป็นเงิน 1,000 บาท

4.2 ค่าชุดเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาปริมาณสารเคมีตกค้างในเกษตรกร

  1. ชุดอุปกรณ์การเจาะเลือด จำนวน 1 ชุด x 750 บาทเป็นเงิน 750 บาท

2.ค่าเข็มเจาะเลือดแบบกดจำนวน 1 กล่อง (200 อัน) x 850 บาท เป็นเงิน 850 บาท

  1. ค่ากระดาษทดสอบโคลีนเอส-เตอเรส จำนวน 1 ขวดเป็นเงิน 450 บาท

4.3ค่าชุดตรวจหาปริมาณสารตกค้างในผักจำนวน 2 ชุด (ชุดละ 10 ตัวอย่าง) ชุดละ 730บาทเป็นเงิน 1,460 บาท

  1. ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5x 3 เมตร x 150บาทเป็นเงิน 675บาท

  2. ค่าแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อนและหลังการอบรม จำนวน 20 คน x 2 ชุด x 2 บาท เป็นเงิน80 บาท

รวมเงิน 17,415.- บาท

(=หนึ่งหมื่นเจ็ดพันสี่ร้อยสิบห้าบาทถ้วน=)

  1. การอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ใช้สารเคมี(จำนวน 1 วัน)

เป้าหมาย: เกษตรกรในพื้นที่ตำบลแหลมสน จำนวน 90 คน

รายละเอียดกิจกรรม

  • ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรมและทำแบบทดสอบก่อนการอบรม

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์และประวัติความเป็นมาของโครงการ

  • การอบรมให้ความรู้เรื่อง

  1. การป้องกันไม่ให้สารเคมีเข้าสู่ร่างกาย/การแก้พิษเบื้องต้น (1 ชั่วโมง)

  2. เทคนิค/วิธีการ การลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช(3 ชั่วโมง)

  3. การเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์(3 ชั่วโมง)

  • อภิปราย ซักถาม และทำแบบทดสอบหลังการอบรม

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม และผู้สังเกตการณ์จำนวน 95 คน x 70 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 6,650 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม และผู้สังเกตการณ์ จำนวน 95 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 2 วันเป็นเงิน 4,750บาท

3.ค่าตอบแทนวิทยากร

3.1 วิทยากรนอกพื้นที่ จำนวน 5 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

  1. ค่าวัสดุ/อุปกรณ์สำหรับการอบรมจำนวน 90 คน เป็นเงิน 5,100 บาท

  2. ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 x 3 เมตร x 150บาทเป็นเงิน 675บาท

  3. ค่าแบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ ก่อนและหลังการอบรมจำนวน 90 คน x 2 ชุด x 2 บาท เป็นเงิน 360บาท

7.ค่าแบบประเมินความพึงพอใจต่อโครงการจำนวน 90 คน x 2 บาท เป็นเงิน 180บาท

  1. ค่าแบบประเมินความเสี่ยงของเกษตรกร (นบก.-๑)จำนวน 90 คน x 3 บาทเป็นเงิน 270บาท

  2. ค่าเช่าห้องประชุม จำนวน 1 วันx 1,500 บาทเป็นเงิน1,500 บาท

รวมเงิน 22,485.- บาท

(=สองหมื่นสองพันสี่ร้อยแปดสิบห้าบาทถ้วน=)


3ประชุมกลุ่มย่อยแต่ละหมู่บ้านและติดตามประเมินผล (4 หมู่บ้านๆ ละ 1 ครั้ง)

เป้าหมาย:

  • ตัวแทนเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 90 คน

-แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร(4 หมู่บ้าน) จำนวน 20 คน

  • คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน(คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการทั้ง 3 คน จะเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 4 หมู่บ้าน)

รายละเอียดกิจกรรม

  • ประชุมกลุ่มย่อยและติดตามผลแต่ละหมู่บ้าน

  • ซักถามปัญหา

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมกลุ่มย่อยและติดตามการดำเนินงานจำนวน 122 คน x 25 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน3,050 บาท

รวมเงิน 3,050.- บาท

(=สามพันห้าสิบบาทถ้วน=)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ได้อย่างปลอดภัย หลังเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42950.00

กิจกรรมที่ 2 การเจาะเลือดเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
การเจาะเลือดเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจาะเลือดเกษตรกรในพื้นที่เพื่อหาสารเคมีตกค้างในร่างกายของเกษตรกร(แต่ละครั้งห่างกัน 4-6 เดือน)

เป้าหมาย

  • เกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 90 คน

  • แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร (4 หมู่บ้าน) จำนวน 20 คน

  • คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน (คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการทั้ง 3 คน จะเข้าร่วมเจาะเลือดเกษตรกรทั้ง 4 หมู่บ้าน)

รายละเอียดกิจกรรม

  • เจาะเลือดเกษตรกรในพื้นที่ จำนวน 2 ครั้ง

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการเจาะเลือดเกษตรกร สำหรับเกษตรกร แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกรและ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 122 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 2ครั้งเป็นเงิน 6,100 บาท

  2. ค่าชุดเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาปริมาณสารเคมีตกค้างในร่างกายเกษตรกร

  • ชุดอุปกรณ์การเจาะเลือด จำนวน 1 ชุดx 750 บาท x 2ครั้งเป็นเงิน 1,500 บาท

  • ค่าเข็มเจาะเลือดแบบกด จำนวน 1 กล่อง (200 อัน) x 850 บาท เป็นเงิน 850 บาท

  • ค่ากระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 2 ขวดx 450บาท เป็นเงิน 900 บาท

รวมเงิน 9,350.- บาท
(=เก้าพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน=)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการเจาะเลือดเกษตรกร สำหรับเกษตรกร แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 122 คน x 25 บาท x 1 มื้อ x 2ครั้งเป็นเงิน 6,100 บาท
  2. ค่าชุดเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อหาปริมาณสารเคมีตกค้างในร่างกายเกษตรกร

- ชุดอุปกรณ์การเจาะเลือดจำนวน 1 ชุดx 750 บาท x 2ครั้งเป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าเข็มเจาะเลือดแบบกด จำนวน 1 กล่อง (200 อัน) x 850 บาท เป็นเงิน 850 บาท - ค่ากระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส จำนวน 2 ขวดx 450บาท
เป็นเงิน 900 บาท รวมเงิน 9,350.- บาท
(=เก้าพันสามร้อยห้าสิบบาทถ้วน=)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9350.00

กิจกรรมที่ 3 การสุ่มตรวจผักของเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
การสุ่มตรวจผักของเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สุ่มตรวจผักของเกษตรกร เพื่อหาปริมาณสารเคมีตกค้างในผัก(สุ่มตรวจผัก จำนวน 3 ครั้งๆ ละ 20 ตัวอย่าง รวม 60 ตัวอย่าง : แต่ละครั้งห่างกัน 2-3 เดือน)

เป้าหมาย

  • ตัวอย่างผักของเกษตรกรที่ปลูก จำนวน 60 ตัวอย่าง

  • แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร (4 หมู่บ้านๆ ละ 3 คน)จำนวน 12คน

  • คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน(คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการทั้ง 3 คน จะเข้าร่วม เจาะเลือดเกษตรกรทั้ง 4 หมู่บ้าน)

รายละเอียดกิจกรรม

  • ตรวจผักของเกษตรกร เพื่อหาปริมาณสารเคมีตกค้างในผัก(สุ่มตรวจผัก จำนวน 3 ครั้งๆ ละ 20 ตัวอย่าง รวม 60ตัวอย่าง)

งบประมาณ

  1. ค่าอาหารกลางวันสำหรับแกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 15 คน x 70 บาท x 1 มื้อ x 3ครั้งเป็นเงิน 3,150 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับแกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 15 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 3ครั้งเป็นเงิน 2,250 บาท

3.ค่าชุดตรวจหาปริมาณสารตกค้างในผักจำนวน 6 ชุด (ชุดละ 10 ตัวอย่าง) ชุดละ 730 บาท เป็นเงิน 4,380 บาท

รวมเงิน 9,780.- บาท

(=เก้าพันแปดร้อยยี่สิบห้าบาทถ้วน=)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผักที่เกษตรกรปลูกไม่พบการปนเปื้อนสารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9780.00

กิจกรรมที่ 4 จัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
จัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร

เป้าหมาย

คู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกรจำนวน 90 เล่ม

รายละเอียดกิจกรรม

จัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร

งบประมาณ

ค่าจัดทำคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกรจำนวน 90 เล่ม x 35 บาท เป็นเงิน 3,150 บาท

รวมเงิน 3,150.- บาท

(=สามพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน=)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคู่มือบันทึกสุขภาพเกษตรกร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3150.00

กิจกรรมที่ 5 ออกเยี่ยมแปลงผักของเกษตรกร(4 หมู่บ้านๆ ละ 1 ครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
ออกเยี่ยมแปลงผักของเกษตรกร(4 หมู่บ้านๆ ละ 1 ครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกเยี่ยมแปลงผักของเกษตรกร

เป้าหมาย:
- ตัวแทนแปลงผักของเกษตรกรในพื้นที่ หมู่ละ5 แปลงรวม 20 แปลง

  • แกนนำคุ้มครองสุขภาพเกษตรกร (4 หมู่บ้าน) จำนวน 20 คน

  • คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 3 คน(คณะเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการทั้ง 3 คน จะเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยทั้ง 4 หมู่บ้าน)

รายละเอียดกิจกรรม

  • ออกเยี่ยมแปลงผักของเกษตรกร

  • ซักถามปัญหา

ไม่ชอใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ดูแลแปลงผัดของเกษตรกรที่ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เป้าหมาย

จัดทำรูปเล่มรายงานจำนวน 4 เล่ม

รายละเอียดกิจกรรม

  • รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 1 ครั้ง

  • จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย2 เล่ม

งบประมาณ

ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานจำนวน 2 เล่มๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

รวมเงิน 600.- บาท

(=หกร้อยบาทถ้วน=)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปลเ่มรายผลผลการทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 65,830.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทราบผลกระทบทางสุขภาพที่ได้รับจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

2. เกษตรกรสามารถใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกวิธี และสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้

3. เกษตรกร ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และหันมาเพาะปลูกแบบเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น


>