กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดงประคำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คนดงประคำ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดงประคำ

ชมรม อสม.รพ.สต.ดงประคำ

1. นายเภาอ่อนตานา
2. นายดวงเดี่ยวสว่างวงษ์
3. นายศุภากรมะรังษี
4. นายพิรมทองอยู่
5. นางสาวน้ำค้างชินวงศ์พรม

หมู่ที่ 1,2,4,5,6,10 และหมู่ที่ 11 ตำบลดงประคำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

35.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

23.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

13.00
4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

16.00
5 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

32.00
6 ร้อยละของคนที่มีการสัญจรโดยการเดินหรือใช้จักรยานในชุมชน

 

11.00
7 ร้อยละของเวลาในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีการเรียนการสอนและการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning)

 

6.67
8 ร้อยละหน่วยงาน สถานประกอบการ ที่มีกิจกรรมส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเช่น การออกกำลังกาย การมีการเคลื่อนไหวระหว่างการทำงาน

 

33.33

จากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้มีการรณรงค์สร้างสุขภาพอยู่ทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนองค์กรหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภาคประชาชนตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อการมีสุขภาพที่ดี ตามแผนพัฒนายุทธศาสตร์แห่งชาติโดยมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ประชาชนไทยอยู่เย็นเป็นสุขทั้งกายใจสังคมปัญญาและจิตวิญญาณมีสัมมาอาชีพทำงานด้วยความสุขดำรงชีวิตอยู่บนพื้นฐานความพอดีพอประมาณมีเหตุผลมีภูมิคุ้มภัยในตัวที่ดีภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวส่งผลให้ครอบครัวอบอุ่นมั่นคง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีสุขภาพแข็งแรงอายุยืนยาวและหนึ่งในเป้าหมายที่สำคัญของมิติทางกายคือให้คนไทยออกกำลังกายสม่ำเสมอซึ่งจากนโยบาย นำซ่อมของกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งเน้นให้ประชาชนรวมกลุ่มกันดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัวและชุมชนเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 6 อ. ได้แก่ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์อโรคยาอนามัยสิ่งแวดล้อมและอบายมุขโดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี2546เป็นต้นมาโดยมีเป้าหมายให้ประชาชน ได้การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ปัจจุบันการออกกำลังกายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายดังจะเห็นได้จากการมีชมรม,กลุ่มออกกำลังกาย ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แอโรบิครำไม้พลอง โยคะ ฟุตบอลเซปัคตะกร้อเป็นต้นทั้งนี้เนื่องจากการออกกำลังกายเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพที่มีค่าใช้จ่ายในการนำไปสู่สุขภาพแข็งแรงสุขภาพจิตดีส่งผลให้คุณภาพชีวิตที่ดีปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือที่ทุกคนมักคุ้นกับการเรียกว่าเต้นแอโรบิคเป็นรูปแบบการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบันตั้งแต่ระดับชุมชนชนบทชุมชนเมืองซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแต่ให้ผลที่คุ้มค่าต่อสุขภาพอย่างยิ่ง
ชมรม อสม. รพ.สต.ดงประคำ จึงได้ จัดทำโครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยวิธีเต้นแอโรบิคประจำปีงบประมาณ2563 ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงประคำและส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา เกิดเป็นภาคีเครือข่ายสร้างสุขภาพ และส่งผลให้ประชาชนคุณภาพชีวิตที่ดีสืบไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

23.00 35.00
2 เพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

32.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 350
กลุ่มผู้สูงอายุ 150
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่องกิจกรรมยืดเหยียดร่างกายพร้อมออกกำลังกายโดยวิธี แอโรบิคทุกวัน อังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 14.00 – 07.30 น. ( เดือนกุมภาพันธ์ 2563 - เดือนสิงหาคม 2563 รวม ทั้งสิ้น 53 วัน )

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในเรื่องกิจกรรมยืดเหยียดร่างกายพร้อมออกกำลังกายโดยวิธี แอโรบิคทุกวัน อังคาร และวันพฤหัสบดี เวลา 14.00 – 07.30 น. ( เดือนกุมภาพันธ์ 2563 - เดือนสิงหาคม 2563 รวม ทั้งสิ้น 53 วัน )
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน/ครั้ง ๆ ละ 25 บาท/คน จำนวน 57 ครั้ง (ก.พ.63 - ส.ค.63)  เป็นเงิน 28,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
14 มกราคม 2563 ถึง 29 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่
  2. ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน
  3. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถสร้างเสริมสุขภาวะร่างกายของประชาชนในพื้นที่
2. ประชาชนได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน
3. ประชาชนมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอันไม่พึงปรารถนา


>