กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางจัก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังโรค COVID-19 ในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางจัก

ชมรม อสม. รพ.สต.บางจัก

นางสาวหทัยรัตน์ ศรีสุบรรณ์

หมู่ที่ 1,2,3,4,6,7 และ หมู่ 8 ต.บางจัก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

80.00
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

 

70.00
3 ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

 

85.00

ตามที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 และยังคงมาตรการในการเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันมีการดำเนินมาตรการต่างๆ ตามแบบการดำเนินชีวิตตามแนววิถีใหม่ New Normal ซึ่งยังมีประชุมชนบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ ที่มีความเสี่ยงที่อาจจะสามารถติดเชื้อได้ ซึ่งกลุ่ม อสม. ในพื้นที่จะมีส่วนที่จะสามารถเข้าถึงและปฏิบัติการในการเฝ้าระวังโรคในชุมชน โดยเฉพาะการให้คำแนะนำ การคัดกรองเบื้องต้น และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างตามแนววิถีใหม่ ดังนั้น กิจกรรมที่เกิดขึ้นจะสามารถเฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดซ้ำที่อาจเกิดขึ้นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มให้คนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

ร้อยละของที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ถูกต้อง

80.00 95.00
2 เพื่อให้คนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19 เพิ่มขึ้น

ร้อยละของคนในชุมชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอในช่วงโควิด-19

70.00 90.00
3 เพิ่มการดูแล ป้องกัน คนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

ร้อยละของคนที่มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19  ที่ได้รับการดูแล ป้องกัน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหอบหืดและระบบทางเดินหายใจ)

85.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ 120
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เตรียมความพร้อม อสม. และสำรวจความพร้อม อสม.

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อม อสม. และสำรวจความพร้อม อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมเตรียมความพร้อม ติดตามข่าวสารสถานการณ์ ประสานหน่วยงาน แกนนำ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 ตุลาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความพร้อมในการดำเนินงาน ทั้งทางด้านความรู้ การป้องกันตนเอง และสามารถจัดหาทรัพยากรในการปฏิบัติงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจ และประเมินความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
สำรวจ และประเมินความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจมาตรการที่มีอยู่ ความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค ประเมินความเสี่ยงของกลุ่มเป้าหมาย

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤศจิกายน 2563 ถึง 13 พฤศจิกายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบปัญหาและความเพียงพอของวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติงานเชิงรุกในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติงานเชิงรุกในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย
จัดหาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการป้องกันและเฝ้าระวัง
คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ค่าใช้จ่าย 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน จำนวน 2 มื้อๆละ 30 บาทเป็นเงิน 2400 บาท 2.ค่าจัดทำแบบประเมิน สติกเกอร์เตือนการป้องกันตนเอง เป็นเงิน 3000 บาท 3.ค่าหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ถุงมือ เป็นเงิน 3600 บาท 4.ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟลาเรด 3 เครื่อง เป็นเงิน 3600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 พฤศจิกายน 2563 ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงในชุมชนได้รับการตรวจคัดกรองครอบคลุมตามระยะเวลาและความเสี่ยงโอกาสในการสัมผัสโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ไม่พบการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่


>