กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการส่งเสริมสุขภาพและวามปลอดภัยในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

กลุ่มประกอบอาชีพปลูกผักและผลไม้ อบต.ตลิ่งชัน

ตำบลตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ (คน)

 

0.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่ตรวจพบสารเคมีอันตรายในเลือก

 

15.00
3 มีฐานข้อมูลปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพปลูกผักและผลไม้ ตัวชี้วัดความสำเร็จ : มีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง

 

10.00

ปัจจุบันแรงงานนอกระบบมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานนอกระบบคือผู้ที่ใช้แรงงานโดยไม่มีสัญญาการจ้างงานจากนายจ้าง ไม่ได้ทำงานอยู่ในสถานที่ประกอบการของนายจ้างไม่มีค่าจ้างหรือค่าตอบแทนที่แน่นอน เช่นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำสวน ทำไร่ ทำประมงพื้นบ้านเป็นต้น เกษตรกรก็นับว่าเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับคนในท้องถิ่น เกษตรกรถือว่าเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบที่ไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางด้านสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ และในขณะเดียวกันพบว่าเกษตรกรต้องเผชิญอันตรายจากการประกอบอาชีพทั้งจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน และการทำงานที่ไม่ปลอดภัยในขั้นตอนต่างๆ นอกจากนี้เกษตรกรยังมีความเสี่ยงหรืออันตรายจากการประกอบอาชีพอื่นๆอีก เช่นความเสี่ยงต่อการปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ ความเสี่ยงอันตรายจากสัตว์มีพิษต่างๆ รวมทั้งความเสี่ยงอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มเกษตรกรปลูกผัก ผลไม้ตำบลตลิ่งชัน ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากในพื้นที่ตำบลบ้านนามีประชาชนประกอบอาชีพปลูกผัก ผลไม้เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีโอกาสที่จะประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้นจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบได้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการทำงานมีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตามหลักการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งให้กลุ่มเกษตรกรได้รับการตรวจสุขภาพโดยการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ตกค้างในเลือด เพื่อทำการเฝ้าระวังและได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและให้ความรู้ด้านการยศาสตร์ในการประกอบอาชีพเพื่อเป็นการลดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

0.00 30.00
2 เพื่อลดแรงงานนอกระบบที่มีการตกค้างของสารเคมีในเลือด

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่ตรวจพบสารเคมีในเลือดลดลง

15.00 5.00
3 เพิ่มฐานข้อมูลปัญหาสุขภาพจากการประกอบอาชีพปลูกผักและผลไม้ ตัวชี้วัดความสำเร็จ : มีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง

จำนวนฐานข้อมูลที่ถูกต้องเพิ่มขึ้น

10.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครแรงงานนอกระบบ(อาชีวะอนามัยและสิ่งแวดล้อม) 30
เกษตรกรอาชีพปลูกผัก ผลไม้ 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/09/2020

กำหนดเสร็จ 11/11/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 ชุด ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กันยายน 2563 ถึง 16 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการประชุมและแผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมอาสาสมัครแรงงานนอกระบบในการสำรวจข้อมูลเกษตรกร และการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
อบรมอาสาสมัครแรงงานนอกระบบในการสำรวจข้อมูลเกษตรกร และการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆละ 2 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม จำนวน 30 คน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่ากระเป๋าเอกสาร จำนวน 30 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าสมุดและปากกา จำนวน 30 ชุด ๆละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  • แบบสำรวจข้อมูล จำนวน 50 ชุด ๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าสำรวจข้อมูลเกษตรกรคนละ 25 บาท จำนวน 50 คนเป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าบันทึกข้อมูลเกษตรกร ลงเวปไซด์ คนละ 15 บาท จำนวน 50 คนเป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าวัสดุการอบรม 1,250 บาท
  • ค่าป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กันยายน 2563 ถึง 22 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครแรงงานนอกระบบเก็บข้อมูลและบันทึกข้อมูลได้ถูกต้อง อาสาสมัครแรงงานนอกระบบเก็บตรวจหาสารเคมีในเลือดเกษตรได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13200.00

กิจกรรมที่ 3 เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างและให้ความรู้เกษตรกรในการประกอบอาชีพเกษตรกรปลูกผักหรือผลไม้

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดหาสารเคมีตกค้างและให้ความรู้เกษตรกรในการประกอบอาชีพเกษตรกรปลูกผักหรือผลไม้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่มจำนวน60 ชุดๆละ50บาท เป็นเงิน2,500บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน50ชุดๆละ25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน2,500บาท
  • ค่าวิทยากรจำนวน6ชั่วโมงๆละ600บาท เป็นเงิน3,600บาท
  • สมุดบันทึกจำนวน50 เล่มๆละ15บาท เป็นเงิน 750บาท
  • ปากกาจำนวน50 เล่มๆ ละ 5บาท เป็นเงิน 750บาท
  • วัสดุการอบรม เป็นเงิน1,400 บาท
  • ค่าน้ำยาและอุปกรณ์ในการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ ในการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด เป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการจำนวน1ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กันยายน 2563 ถึง 23 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการตรวจเลือดของเกษตรกร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16800.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พฤติกรรมในการประกอบอาชีพของเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการติดตามผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พฤติกรรมในการประกอบอาชีพของเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน คนละ 50 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • วัสดุการอบรม 1,500 บาท ทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยกันได้
ระยะเวลาดำเนินงาน
21 ตุลาคม 2563 ถึง 21 ตุลาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีเลิกการใช้สารเคมีหรือปรับเปลี่ยนการใช้ที่ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมผู้เกี่ยวข้องสรุปผลการดำเนินงาน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 750

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 ตุลาคม 2563 ถึง 28 ตุลาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

เกษตรกรมีความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีในการทำการเกษตร


>