กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ประจำปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัย ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง ประจำปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

กองการศึกษาฯ อบต.ตะบิ้ง

องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จึงเป็นวัยที่มีความสำคัญ เหมาะสมที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในระยะ ๒ ปีแรกของชีวิตเป็นระยะที่ร่างกายและสมองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องการได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กก่อนวัยเรียน กองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3 ศูนย์ ซึ่งมีปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกี่ยวกับเด็ก คือ เด็กไม่ชอบทานผักเด็กไม่ชอบดื่มนมรสจืด เด็กไม่ชอบกินผลไม้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบที่ผ่านมากับเด็กเองในอนาคตข้างหน้า ครู ผู้ปกครอง อสม. และชุมชนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาโภชนาการสุขภาพ เด็กควรได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเองและดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ดังนั้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพเด็ก จากปัญหาดังกล่าว กองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง จึงเห็นความสำคัญและจัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยเด็กองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง 2563 เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง อสม. และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องได้ทราบถึงความสำคัญเรื่องโภชนาการและสุขอนามัย แต่ทั้งนี้จะต้อง ร่วมมือกันหลายอย่างหลายฝ่าย เช่น ครูผู้ปกครองแด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กมีสุขลักษณะอนามัยที่ดี

 

0.00
2 2.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสริมสร้างสุขนิสัยอันดีเกียวกับการบริโภคนม ผัก และผลไม้ ของเด็กปฐมวัย

 

0.00
3 3..เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครอง อสม. และผู้ประกอบอาหารให้มีความรู้ตามมาตรฐานการป้องกันด้านสุขอนามัยต่าง ๆ การจัดโภชนาการให้กับเด็กและการดูแลป้องกันควบคุมโรคต่าง ๆ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก อสม. และ 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/09/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และปรับพฤติกรรมการบริโภคนมและการรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัย และการป้องกันโรคพร้อมทั้งจัดเมนูอาหารและคุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิด

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และปรับพฤติกรรมการบริโภคนมและการรับประทานอาหาร ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัย และการป้องกันโรคพร้อมทั้งจัดเมนูอาหารและคุณประโยชน์ของอาหารแต่ละชนิด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเพื่อจัดทำโครงการ 2.แต่งตั่งคณะกรรมการดำเนินงาน
3.เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ 4.ดำเนินการโครงการ
5.ประเมินผลและสรุปโครงการ งบประมาณ 1.ค่าอาหารกลางวัน 80 บาท x 2 มื้อ x 101 คน เป็นเงิน 16,160 บาท 2.ค่าอาหารว่าง 25 บาท x 2 มื้อ x 101 คน เป็นเงิน 5,050 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร 10 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท 4.ค่าเช่าเต๊นท์ 3 หลัง เก้าอี้ 100 ตัว เครื่องเสียง 1 ชุด วันละ 4,500 x 2 วันเป็นเงิน 9,000 บาท 5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ คนละ 50 บาท x 101 ชุด เป็นเงิน 5,050 บาท 6.ค่าป้ายไวนิล 1 เมตร x 3 เมตร เป็นงาน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42760.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 42,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครู ผู้ปกครอง และผู้ประกอบอาหาร มีความรู้ และสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันด้านสุขอนามัยต่างๆ การจัดโภชนาการให้กับเด็กและการดูแลป้องกันควบคุมโรคต่างๆ
2.เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยสามารถดื่มนมและกินผักได้เพิ่มขึ้น
3.เด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อบต.ตะบิ้ง มีสุขภาพอนามัยที่ดี เหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน


>