กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระยะที่ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขวาง

ตำบลวัดขวาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

2,011.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

1,731.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

0.00
4 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
5 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

294.00

ตามที่นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ได้ไห้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการเสริมสร้างสุขภาวะให้คนไทยมีสุขภาพแข็งแรง
ทั้งกายและใจสามารถดูแลตนเองได้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทุนสังคมและภูมิปัญญาชุมชนตลอดจน การมีส่วนร่วมของชุมชน จากสถานการณ์โรคไตของประเทศไทย พบว่าปี 2561 พบว่า ขณะนี้คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้าย 2 แสนคน และผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-20 ต่อปี มีผู้เสียชีวิตจากไตวายปีละ 13,000 กว่าคน ซึ่ง 1 ใน 3 อายุน้อยกว่า 60 ปี ผู้ป่วยไต 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาท/คน/เดือน เพราะต้องได้รับการฟอกไตด้วยวิธีฟอกเลือด หรือล้างไตผ่านหน้าท้อง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้แต่ละปีต้องใช้งบประมาณถึง 20,000 ล้านบาทนอกจากนี้เมื่อป่วยยังทำให้คุณภาพชีวิตต่ำลง เสี่ยงการติดเชื้อแทรกซ้อนและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดทำแนวทางการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสาขาโรคไต เพื่อลดกลุ่มเสี่ยง ชะลอ การเสื่อมของไตในผู้ป่วยไตเรื้อรังทุกระยะ เพิ่มการเข้าถึงบริการโรคไตที่มีคุณภาพเสมอภาคทุกเครือข่าย
จากผลการดำเนินงานคัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในปี พ.ศ. 2562ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขวาง จำนวน 645 คน พบว่าอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตของผู้ป่วยพบมีภาวะไตเสื่อม CKD มากกว่าหรือเท่ากับ Stage2 จำนวน319คน คิดเป็นร้อยละ 49.46 และ พบมีภาวะไตเสื่อม CKD มากกว่าหรือเท่ากับ Stage 3 4 และ 5 จำนวน 115 คน คิดเป็นร้อยละ 17.83 และผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเสียชีวิตจำนวน 2ราย ดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะต้องฟอกไตในอนาคตถ้ายังไม่ได้รับการรักษา ส่งเสริม และฟื้นฟูอย่างถูกต้องในการแก้ไขป้องกันปัญหาโรคไตวาย
จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขวางได้เห็นความสำคัญของการป้องกันและควบคุมการเกิดโรคไตเรื้อรังและชะลอไตเสื่อม ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมกับโรคที่เป็นส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการจัดการตนเองอย่างเหมาะสมตามวิถีชีวิต ด้านอาหาร ยา การออกกำลังกาย ในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระดับที่ 2 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขวางจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระดับที่ 2เพื่อชะลอการเสื่อมของไตจากระยะที่ 2 ไปเป็นไตเสื่อมระยะที่ 3,4 และ 5

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

2011.00 197.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

1731.00 213.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

0.00 0.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

0.00 0.00
5 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

294.00 29.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระดับที่ 2

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระดับที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. ประชุมชี้แจงวาง แผนการดำเนินงาน โครงการ
2. อบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระดับที่ 2 เรื่องความปลอดภัยในการใช้ยาและเรื่องอาหารที่มีผลต่อการเกิดภาวะโรคไตเรื้อรัง ครั้งที่ 1 3. ติดเยี่ยมและให้คำแนะนำกลุ่มเป้าหมาย 4. เจาะเลือดประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ 5. อบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระดับที่ 2 เพื่อติดตามประเมินผลพฤติกรรม กลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 2 6. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

งบประมาณ จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขวาง จำนวน10,860 บาทรายละเอียดดังนี้ กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระดับที่ 2 เรื่องความปลอดภัยในการใช้ยาและเรื่องอาหารที่มีผลต่อการเกิดภาวะโรคไตเรื้อรัง ครั้งที่ 1 เป้าหมาย คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระดับที่ 2จำนวน 30 คน สมัครใจร่วมโครงการ - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน30ตน คนละ 50 บาทจำนวน 1 วันเป็นเงิน 1,500บาท - อาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 30 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าวัสดุ
*.ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360บาท กิจกรรมที่ 2ติดเยี่ยมและให้คำแนะนำกลุ่มเป้าหมาย - ไม่มีค่าใช้จ่าย กิจกรรมที่ 3เจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
- ค่าเจาะเลือดค่าไต (Creatinine) คนละ 30 บาท จำนวน 30 คน เป็นเงิน 900บาท กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการปฏิบัติการในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะโรคไตเรื้อรัง (CKD) ระดับที่ 2ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามประเมินผลพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมาย - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน30ตน คนละ 50 บาทจำนวน 1 วันเป็นเงิน 1,500บาท - อาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 30 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ร้อยละ 80
  2. เพื่อชะลอการเสื่อมของไตจากระยะที่ 2 ไปเป็นไตเสื่อมระยะที่ 3,4 และ 5 อย่างน้อยร้อยละ 10
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10860.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,860.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ร้อยละ 80
2. เพื่อชะลอการเสื่อมของไตจากระยะที่ 2 ไปเป็นไตเสื่อมระยะที่ 3,4 และ 5 อย่างน้อยร้อยละ 10


>