กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและดูแลสตรีไทยจากมะเร็งปากมดลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขวาง

ตำบลวัดขวาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

2,011.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

1,731.00
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

0.00
4 ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

 

0.00
5 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

294.00

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับ ในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 ราย พบมากที่สุดอายุระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนานมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามดูแลให้การรักษาไม่น้อยกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, 2560)
ตำบลวัดขวางพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก 6 ราย สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปีได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสะสมตั้งแต่ปี 2558 - 2562 ด้วยวิธี Pap smear คิดเป็นร้อยละ 44.18 (ค่าเป้าหมายร้อยละ 80) ผลการตรวจคัดกรองพบเซลล์ผิดปกติคิดเป็นร้อยละ 5.74ในจำนวนที่พบเซลล์ผิดปกตินี้ได้รับการส่งต่อรักษาทั้งหมด พบว่าเป็นการติดเชื้อราในช่องคลอด ไม่พบมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ แต่ในปีงบประมาณ 2562 มีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายเก่าเสียชีวิต 1 รายจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายยังให้ความสำคัญในการตรวจมะเร็งปากมดลูกน้อย และในปีงบประมาณ 2563 ยังมีสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปี จำนวนทั้งหมด 929 คน ในการเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดขวาง จึงจัดทำโครงการเฝ้าระวังและดูแลสตรีไทยจากมะเร็งปากมดลูกขึ้นเพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปี มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก วิธีการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง

2011.00 197.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง

1731.00 213.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

0.00 0.00
4 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก

ร้อยละของประชาชนที่มีป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ลดลง

0.00 0.00
5 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

294.00 29.00

1. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ30 ถึง 60 ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก
2. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear อย่างน้อยร้อยละ 20
3. เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 188
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30– 60 ปี เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและอธิบายวิธีการตรวจพร้อมตรวจ Pap smear

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30– 60 ปี เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและอธิบายวิธีการตรวจพร้อมตรวจ Pap smear
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. กำหนดเป้าหมายคัดกรอง สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30– 60 ปี ในหมู่บ้านทั้ง 8 หมู่บ้าน 2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30– 60 ปี เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี  Pap smear
3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30– 60 ปี เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและอธิบายวิธีการตรวจพร้อมตรวจ Pap smear ในกลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 20 จำนวน 188 คน โดยแบ่งออกเป็น 4 รุ่น  รุ่นละ 47 คน 4. เมื่อทราบผล แจ้งผลให้ผู้เข้ารับการตรวจทราบและในกรณีพบความผิดปกติในการตรวจเจ้าหน้าที่จะดำเนินการส่งต่อผู้ป่วยรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาล

งบประมาณ     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขวาง จำนวน  19,260 บาท  รายละเอียด  ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30– 60 ปี เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกและอธิบายวิธีการตรวจพร้อมตรวจ Pap smear
ในกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งออกเป็น 4 รุ่น รุ่นละ 47 คน
        เป้าหมาย คือ สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปี  จำนวน 188 คน         - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน  47  ตน คนละ 50 บาท  จำนวน 4 วัน  เป็นเงิน 9,400  บาท         - อาหารว่างและเครื่องดื่ม 1 มื้อ จำนวน 47 คน คนละ 25 บาท จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 4,700 บาท         - ค่าวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 2 ชั่วโมง จำนวน 4 วัน เป็นเงิน 4,800 บาท
    - ค่าวัสดุ
         *.ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30– 60 ปี มีความรู้ในการเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง ร้อยละ 80
  2. ร้อยละ 20 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
  3. ร้อยละ 100 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19260.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,260.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30– 60 ปี มีความรู้ในการเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง ร้อยละ 80
2. ร้อยละ 20 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
3. ร้อยละ 100 ของสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30 ถึง 60 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง


>