กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพชาวชุมชนสวนมะพร้าว ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ชุุมชนสวนมะพร้าว

1. นายสุมาตร บุญรักษ์ โทร. 089-1305276
2. นางเฮียะ มณีรัตน์ โทร. 099-4796424
3. นางจิรวัล ใจตรง โทร. 081-7480175
4. นายธวัชชัยพรหมจันทร์โทร. 089-6536560
5. นางปุ๋ย มะโนภักดิ์

แปลงปลูกผัก ชุมชนสวนมะพร้าว เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่บริโภคผักที่มีสารพิษตกค้าง

 

80.00
2 ร้อยละของประชาชนที่มีการใช้สารเคมีในการปลูกผัก

 

50.00
3 ร้อยละของปริมาณผักมีไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในชุมชน

 

70.00

จากการที่พืชผักที่มีขายในตลาด มักมีสารพิษตกค้าง ทำให้ประชาชนมีการบริโภคผักน้อยลง ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ และจากข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ 14 แห่งทั่วประเทศ เฝ้าระวังความปลอดภัยของผักสด ผลไม้สด ในระหว่างปี พ.ศ. 2556-2559 มีการสุ่มตรวจผักและผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศประมาณ 800 ตัวอย่างต่อปี พบการตกค้างประมาณร้อยละ 10 และในปี พ.ศ.2558 ได้ศึกษาสถานการณ์การตกค้างในผักสดผลิตในประเทศที่มีข้อมูลการตกค้างสูง และคนไทยนิยมบริโภค4 ชนิด ได้แก่ คะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง และตำลึง จำนวน 934 ตัวอย่าง เก็บจากทุกจังหวัดทั่วประเทศมีการตกค้างร้อยละ 22.3 แต่มีเพียงร้อยละ 1 ที่ตกค้างเกินค่ามาตรฐาน นอกจากนั้นได้ศึกษาสถานการณ์การตกค้างในน้ำผักและน้ำผลไม้ ได้แก่ น้ำส้ม น้ำฝรั่ง น้ำแครอท น้ำทับทิม น้ำใบบัวบก และน้ำผักผลไม้ผสม จำนวน 100 ตัวอย่าง โดยน้ำผักและน้ำผลไม้ที่คั้นมีการตกค้างในสัดส่วน ร้อยละ 18 ส่วนน้ำผักและผลไม้ที่อยู่ในภาชนะปิดสนิท พบร้อยละ 6 แต่ปริมาณการตกค้างดังกล่าวอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อการบริโภค และปี พ.ศ.2559 ได้มีการสุ่มเก็บผักและผลไม้สดที่คนไทยนิยมบริโภคสูงจากตลาดค้าส่ง จาก 5 ภาคๆละ 2 จังหวัด ผลไม้สด ได้แก่ ส้ม มะม่วง ฝรั่ง เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย แก้วมังกร ชมพู่ รวม 99 ตัวอย่าง ตรวจพบสารตกค้างร้อยละ 51 จากการตรวจทั้งผลรวมเปลือก ซึ่งมีผลไม้ ที่สารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ร้อยละ 7 ชนิดสารเคมีที่มีอัตราตรวจพบสูง คือ คาร์เบนดาซิม และไซเปอร์มีทริน ส่วนผักสด ได้แก่ คะน้า ถั่วฝักยาว ผักบุ้ง แตงกวา พริกขี้หนู ผักชี โหระพา และมะเขือเปราะ จำนวน 112 ตัวอย่าง มีสัดส่วนการตกค้างร้อยละ 50 และร้อยละ 5 ของผักสดดังกล่าวมีสารตกค้างเกินค่ามาตรฐาน รวมทั้งตรวจพบการตกค้างวัตถุอันตรายทางการเกษตรห้ามใช้ 2 ชนิด ได้แก่ เอนโดซัลแฟน และเมธามิโดฟอสในคะน้า และถั่วฝักยาว 3 ตัวอย่าง
กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ ชุุมชนสวนมะพร้าว จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพชาวชุมชนสวนมะพร้าว ปี 2564 ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมในสมาชิกในชุมชนปลูกผักที่ปลอดจากสารเคมี และนำผักที่ได้มาบริโภคภายในครัวเรือน เพื่อสุขภาพที่ดี เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกกันเองและปลอดจากสารเคมี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีผักปลอดสารพิษบริโภคภายในครัวเรือน ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี

 

0.00
2 เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปลูกพืชผักและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดภัย ภายใต้ระบบ GAP (Good Agricultural Practice)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดภัย ภายใต้ระบบ GAP (Good Agricultural Practice)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มปลูกผัก GAP 10 คน , ประชาชนที่สนใจในชุมชน 15 คน รวม 25 คน
รายละเอียดกิจกรรม - อบรมให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 วัน โดยเชิญวิทยากรจากเกษตรอำเภอสุไหงโก-ลก
กำหนดการ ดังนี้
วันที่ 5 พฤษภาคม 2564
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. อบรมการปลูกผักปลอดสารพิษ และสาธิตการผสมดิน การเพาะเมล็ดพันธ์ุผัก
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. อบรมให้ความรู้และสาธิตการทำปุ๋ยหมัก
วันที่ 6 พฤษภาคม 2564
08.30 -09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 12.00 น. อบรมและสาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพ
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 - 16.00 น. อบรมและสาธิตการทำน้ำหมักไล่แมลงศัตรูพืช
16.00 - 16.300 น. ซักถามและปิดโครงการ
งบประมาณ ดังนี้
- ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. x 2 วัน เป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 25 คน x 2 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 25 คน x 2 มื้อ x 2 วัน เป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าป้ายโครงการ 1,200 บาท
การเพาะเมล็ดพันธ์ุผัก
- ค่าเมล็ดพันธ์ผัก 1,500 บาท
- ค่าถาดเพาะปลูก 30 ใบ x 30 บาท เป็นเงิน 900 บาท
- ดินเพาะเมล็ด 35 บาท x 10 ถุง เป้นเงิน 350 บาท
การทำปุ๋ยหมัก(ปุ๋ยคอก)
- มูลสัตว์ 80 บาท x 30 ถุง เป็นเงิน 2,400 บาท
- แกลบ 30 บาท x 40 ถุง เป็นเงิน 1,200 บาท
- รำ 30 บาท x 40 ถุง เป็นเงิน 1,200 บาท
- กากน้ำตาล 20 บาท x 15 ลิตร เป็นเงิน 300 บาท
- ไม้แผ่นทำคอกปุ๋ยหมัก 1,600 บาท
การทำน้ำหมักชีวภาพ(ปุ๋ยน้ำ)
- ถังหมัก (200 ลิตร) 500 บาท x 3 ถัง เป็นเงิน 1,500 บาท
- เศษปลา 20 บาท x 60 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,200 บาท
- กากน้ำตาล 20 บาท 60 ลิตร เป็นเงิน 1,200 บาท
การทำน้ำหมักยาไล่แมลงศัตรูพืช
- ถังหมัก(200 ลิตร) 500 บาท x 3 ถัง เป็นเงิน 1,500 บาท
- ยาเส้น 100 บาท x 15 กิโลกรัม เป็นเงิน 1,500 บาท
- เหล้าขาว 100 บาท x 8 ขวด เป็นเงิน 800 บาท
- กากน้ำตาล 20 บาท x 40 ลิตร เป็นเงิน 800 บาท
- น้ำยา EM 100 บาท x 1 ลิตร เป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 พฤษภาคม 2564 ถึง 6 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษและการทำน้ำหมักชีวภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31450.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,450.00 บาท

หมายเหตุ :
สามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สมาชิกในชุมชนมีผักปลอดสารพิษบริโภคภายในครัวเรือน ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดี
2. สมาชิกในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปลูกพืชผักและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน


>