กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมด้านภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสนกลาง

1.นายอำหรนถิ่นกาแบง รองประธานศูนย์

๒. นางสาววิภาณีจิมารกรรมการ ตัวแทนผู้ปกครอง

๓. นางสาวปรีหน๊ะสูนสละ กรรมการ หัวหน้าสถานศึกษา

๔. นางอำร๊าเกษม กรรมการผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

๕. นางไรย์น๊ะห์ขาวเชาะ กรรมการเลขานุการ ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็ก

ตำบลแหลมสน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสนกลาง มีเด็กในภาคเรียนที่2/2563เด็กทั้งหมด 29 คน จากการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง พบเด็กมีปัญหาด้านภาวะทุพโภชนาการจำนวน 12 คน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการรับประทาน อาหารที่ไม่เหมาะสมไม่ได้รับอาหารเช้า เนื่องจากเด็กบางคนไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่พ่อแม่ไปทำงานต่างจังหวัดรวมทั้งปัญหาครอบครัวพ่อแม่แยกกันอยู่ ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสนกลาง จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพด้านภาวะทุพโภชนาการขึ้น เพื่อส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการให้เด็กวัยเรียนมีน้ำหนัก –ส่วนสูงให้อยู่ในระดับดีและรูปร่างสมส่วนเติบโตเต็มศักยภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ และเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรงต่อไปในอนาคต อันจะเป็นกำลังสำคัญในการ พัฒนาประเทศชาติต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการให้เด็กที่มีปัญหาที่ไม่บรรลุ เป้าหมายที่ตั้งไว้ได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองมีความรู้และเข้าใจถึงภาวะโภชนาการ และเฝ้าระวังเด็กที่อยู่ในศูนย์ทุกคน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อต้องการให้เด็กที่มีปัญหาที่ไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
  1. แก้ปัญหาเด็กที่ไม่บรรลุตามเป้าหมายได้รับการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง
  2. เฝ้าระวังและติดตามเด็กที่มีความเสี่ยงเพื่อลดการเกิดปัญหาภาวะโภชนาการ
0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้และเข้าใจถึงภาวะโภชนาการ
  1. ครูผู้ปกครองไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจด้านภาวะโภชนาการที่เหมาะสมและมีการบริโภคที่ถูกต้อง
0.00
3 เฝ้าระวังเด็กที่อยู่ในศูนย์ทุกคน
  1. เด็กทุกคนมีภาวะโภชนาการที่ดี
0.00
4 รายงานโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  1. มีรูปเล่มรายงานจำนวน 2 เล่ม
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาอาหารให้กับเด็กที่มีปัญหาและเด็กกลุ่มเสี่ยงภายในศูนย์

ชื่อกิจกรรม
จัดหาอาหารให้กับเด็กที่มีปัญหาและเด็กกลุ่มเสี่ยงภายในศูนย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดหาอาหารเช้าให้กับเด็กที่มีปัญหาภาวะทุกโภชนาการ  จำนวน 25×12 คนจำนวน 30วัน เป็นเงิน9,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดอาหารให้กับเด็กที่มีปัญหาด้านทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมการเฝ้าระวังในเด็กภายในศูนย์

รายละเอียดกิจกรรม ผู้ปกครองเด็กจำนวน 29 คน ครู 3 คน

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 32คน× 1 มื้อ × 25บาท เป็นเงิน800 บาท

2.ค่าวิทยากรในพื้นที่จำนวน 3ชั่วโมง× 300บาท เป็นเงิน 900 บาท

3.ค่าจัดทำเอกสารแผ่นพับจำนวน 30แผ่น× 5 บาท เป็นเงิน 150 บาท

4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ1.5×3 เมตร× 120 บาท เป็นเงิน 540 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังในเด็กภายในศูนย์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2390.00

กิจกรรมที่ 3 เฝ้าระวังเด็กที่อยู่ในศูนย์ทุกคน

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังเด็กที่อยู่ในศูนย์ทุกคน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมออกกำลังกาย ชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง  แปรผลรายงานผู้ปกครอง

งบประมาณ

1.เครื่องชั่งน้ำหนัก  1,000  บาท

2.เครื่องวัดส่วนสูง  2,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3000.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลและรายงานการจัดทำโครงการ รายละเอียด

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลและรายงานการจัดทำโครงการ รายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลและรายงานการจัดทำโครงการ

งบประมาณ

จัดทำรูปเล่มรายงาน  จำนวน 2 เล่มๆ250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รูปเล่มรายงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,890.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง

2. ลดการเกิดปัญหาภาวะทุพโภชนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง

3.ผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเด็ก ได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็ก และการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัย

4. เด็กทุกคนมีภาวะโภชนาการที่สมส่วน


>