กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกร อยู่ดี มีสุข ปลอดภัยสารเคมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัดขวาง

กลุ่มประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง
1. นายกาเรียน พรมอยู่
2. นายนิสัน ทับทอง
3. นายจตุพร จันทร์พรม
4. นางสาวจารุวรรณ สุภาวาส
5. นางสาววรรณชิตา ณ จอม

ตำบลวัดขวาง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบู๊ทป้องกันขณะทำงานกับสารเคมี การสูดหายใจที่ฟุ้งกระจายในอากาศ เละการรับประทานอาหารและ น้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน พฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัยทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ฉีดพ่นสวนทิศทางลม ทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ชุ่มเปื้อนทันที เป็นต้น
ตำบลวัดขวาง เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมด จากการตรวจเลือดเพื่อคัดกรองสารพิษตกค้างในเลือดของประชาชนเขตตำบลวัดขวาง ในปี 2562 พบว่าประชาชนกลุ่มเกษตรกรมีสารพิษตกค้างในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยร้อยละ 82.27 อันจะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ร่างกายจะอ่อนแอ เสื่อมลง กล้ามเนื้ออ่อนล้าไม่มีแรง ขาดความต้านทานโรค มีอาการคลื่นไส้อาเจียน หายใจขัด ความคิดและการตัดสินใจบกพร่อง การหายใจขัดหรือหัวใจอาจหยุดเต้นได้ ท้ายที่สุดมีผลต่อคุณภาพชีวิตรวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่เป็นผลกระทบจากรายได้ที่ต่ำลง
ดังนั้น กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จึงเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกร อยู่ดี มีสุข ปลอดภัยจากสารเคมี เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด มีความรู้ในการป้องกันสาเคมีที่ใช้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายรวมถึงการใช้สารชีวภาพในการจำจัดศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต
2. เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมในการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
3. เพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย อย่างน้อยร้อยละ 30

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 456
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เจาะเลือดคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรในตำบลวัดขวางไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของหลังคาเรือนโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อบรมแก่ผู้ที่มีระดับสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในเขตตำบลวัดขวางกลุ่มเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
เจาะเลือดคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรในตำบลวัดขวางไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของหลังคาเรือนโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อบรมแก่ผู้ที่มีระดับสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในเขตตำบลวัดขวางกลุ่มเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ 1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 2. ติดต่อประสานงานวิทยากรและจัดเตรียมอุปกรณ์ในการอบรม
3. เจาะเลือดคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรในตำบลวัดขวางไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของหลังคาเรือนโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 4. แจ้งผลการเจาะเลือดคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดแก่กลุ่มเป้าหมาย 5. จัดอบรมแก่ผู้ที่มีระดับสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในเขตตำบลวัดขวางกลุ่มเกษตรกร 6. เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดประเมินผลกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและไม่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ 7. ติดตามและสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

งบประมาณ     จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวัดขวาง จำนวน  13,010 บาท  รายละเอียด  ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 เจาะเลือดคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดกลุ่มเกษตรกรในตำบลวัดขวางไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของหลังคาเรือนโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.  จำนวน  456 คน          - ค่าวัสดุ
           * ป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 360  บาท                * ชุดทดสอบโคลีนเอสเตอร์เรสในเลือด 1 กล่องตรวจ 100 คน ราคากล่องละ 675 บาท จำนวน 6  กล่อง เป็นเงิน 4,050  บาท กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมแก่ผู้ที่มีระดับสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยในเขตตำบลวัดขวาง กลุ่มเกษตรกร  จำนวน  50 คน         - ค่าอาหารกลางวัน มื้อ จำนวน  50  คน คนละ 50 บาท จำนวน 1 วัน   เป็นเงิน 2,500  บาท         - อาหารว่างและเครื่องดื่ม  2 มื้อ จำนวน 50 คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วัน  เป็นเงิน 2,500 บาท         - ค่าสมนาคุณวิทยากร  ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
กิจกรรมที่ 3 เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดประเมินผลกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่สมัครใจ เข้าร่วมโครงการและไม่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ  จำนวน 50 คน     - เจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดประเมินผลกลุ่มเกษตรกรที่มีระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและไม่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ  จำนวน 50 คน         - ใช้ชุดทดสอบโคลีนเอสเตอร์เรสในกิจกรรมที่ 1

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. จำนวนเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต
  2. เกษตรกรมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมในการใช้สารเคมีถูกต้อง
  3. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่สมัครเข้าร่วมโครงการมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย อย่างน้อยร้อยละ 30
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13010.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,010.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจหาปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต
2. เกษตรกรมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและมีพฤติกรรมในการใช้สารเคมีถูกต้อง
3. เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงและไม่ปลอดภัยที่สมัครเข้าร่วมโครงการมีระดับสารเคมีตกค้างในเกณฑ์ปกติและปลอดภัย อย่างน้อยร้อยละ 30


>