กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและทารก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลบ้านควน

นางปทุมมาศ โลหะจินดา
นางสุภา นวลดุก
นางวัชรี บินสอาด
นางสุพิชชา หมาดสกุล
นางสาวโสภิตรานารีเปน

ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง

หญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมกิจกรรมการความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100

20.00 0.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาและเด็กอายุ0-5 ปี

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็ก0-5 ปี ร้อยละ 100

92.00 0.00
3 เพื่อพัฒนาคุณภาพคลินิกสุขภาพเด็กดี (WCC)

ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมในคลินิกสุขภาพเด็กดี ร้อยละ 80

60.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 92

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ การสาธิตการออกกำลังกายที่เหมาะสมในหญิงตั้งครรภ์สาธิตวิธีการกระตุ้นพัฒนาการลูกในครรภ์ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์
2. การออกกำลังกาย การนอนหลับและการผ่อนคลายความเครียด
3. การรับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กและการมาติดตามนัด
4. อาการผิดปกติที่ต้องไปโรงพยาบาล

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2021 ถึง 31 สิงหาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมกิจกรรมการความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็ก0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็ก0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยจัดการอบรม/ให้ความรู้เรื่องการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาและเด็กอายุ0-5 ปี โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องต่างๆ ดังนี้     1. การดูแลหญิงตั้งครรภ์ การติดตามเยี่ยมหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง     2. การดูแล/ติดตามเยี่ยมมารดาและทารกหลังคลอด กลุ่มทั่วไปและกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยง     3. การดูแลเด็กที่ได้รับวัคซีน และการติดตามความครอบคลุมวัคซีนในหมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2021 ถึง 31 สิงหาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็ก0-5 ปี ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

กิจกรรมที่ 3 พัฒนาคุณภาพคลินิกสุขภาพเด็กดี (WCC)

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาคุณภาพคลินิกสุขภาพเด็กดี (WCC)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เฝ้าระวังและติดตามส่วนสูงน้ำหนักเด็กที่มารับบริการทุกคนและทุกครั้งโดยใช้กราฟการเจริญเติบโต 3 เกณฑ์ในการแปลผลได้แก่ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์อายุเพื่อทราบ ภาวะการเจริญเติบโตของเด็กและแนวโน้มการเพิ่มส่วนสูง พร้อมทั้งแจ้งและอธิบายผลการประเมินภาวะการเจริญเติบโต และแนวโน้มการเพิ่มส่วนสูงน้ำหนักของเด็กทั้ง 3 กราฟ
  2. จัดมุม NDDC (อาหาร/พัฒนาการ/ฟัน) เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้เรียนรู้ด้วยตนเองระหว่างรอรับบริการ
  3. ให้บริการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ติดตามให้พาเด็กมารับวัคซีนตามกำหนด การดูแลเด็กหลังการได้รับวัคซีน ภาวะแทรกซ้อนและข้อควรระวังหลังการได้รับวัคซีน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2021 ถึง 31 สิงหาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเข้าร่วมกิจกรรมในคลินิกสุขภาพเด็กดี ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,100.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์ดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด และดูแลทารกแรกเกิดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
2. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถดูแล/ติดตามเนี่ยมหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอดและเด็ก0-5 ปี ได้อย่างถูกต้อง
3. ผู้ปกครองมีความรู้และมีความสนใจในการดูแลเด็กอายุ 0 -5 ปีผ่านสื่อต่างๆที่จัดให้บริการในคลินิกเด็กดี


>