กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างสุขภาพจิตแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2

อาคารเอนกประสงค์หมู่ที่ 2 บ้านกล้วย ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้า

 

60.00

โลกปัจจุบันการปฏิสัมพันธ์ที่น้อยมาก เนื่องจากสังคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว สภาพเศรษฐกิจทำให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่ต้องเร่งรีบแก่งแย่งแข่งขันบวกกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันยุคที่เกิดการเปรียบเทียบตลอดเวลาความมั่นคงในชีวิตคู่ลดน้อยลง สิ่งเร้าใจเข้ามารอบด้าน ส่งผลให้จิตใจผู้คนมีความเปราะบางมากขึ้น ความเครียด เท่ากับ ความกดดัน เท่ากับ ความวิตกกังวล เท่ากับ ความเจ็บป่วย ความผิดหวังสูญเสีย หรือภาวการณ์ว่างงานเป็นต้น เมื่อความคิดทัศนคติการตัดสินใจ การมองโลกทุกสิ่งทุกอย่างจึงเปลี่ยนไปจนไม่สามารถบังคับความคิดตัวเองได้ไม่รู้ว่าจะดึงตัวเองออกจากภาวะนี้ได้อย่างไร เหตุผลเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อวุฒิภาวะทางอารมณ์ของโรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางสมองที่มีผลกระทบต่อความนึกคิดความรู้สึกพฤติกรรมและสุขภาพกายที่สามารถเกิดขึ้นได้ต่อทุกคนทุกกลุ่มวัยทุกสาขาอาชีพ หากไม่สามารถจัดการกับความเครียดและความวิตกกังวลก็จะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตที่รุนแรงได้
ภาวะโรคซึมเศร้าเป็นโรคจิตเวชประเภทหนึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งการร่างกาย จิตใจ อารมณ์ อันจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันต่อตนเอง ครอบครัว สังคม และคนรอบข้าง รวมทั้งเป็นภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาของภาครัฐ นอกจากนี้หากเป็นเรื้อรังจะทำให้ผู้ป่วยมีความคิดทำร้ายตนเองคนรอบข้าง และฆ่าตัวตายในที่สุด ดังนั้นปัญหาด้านสุขภาพจิตเป็นภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพของประชาชน อยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขเผยภาวะนี้เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา คนไทยมีแนวโน้มป่วยซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น
ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงโรคซึมเศร้าในชุมชน อาจก่อให้เกิดการสูญเสียของคนพื้นที่ ทีมงานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 2 บ้านกล้วย ตำบลนาประดู่ ได้เล็งเห็นและตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนเป็นปัญหาสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการ สร้างสุขภาพจิตแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ร่างกายตนเอง และผู้อื่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้าลดลง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้าลดลง

60.00 30.00
2 เพื่อให้ประชาชนผู้เข้าอบรมได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้ามากขึ้น

ร้อยละประชาชนทีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า

0.00 80.00
3 เพื่อให้ประชาชนผู้เข้าอบรมได้ทักษะ แนวคิด ตระหนักรู้ตนเอง ครอบครัว สามารถดำเนินชีวิตได้สอดคล้องและกลมกลืนกับตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสุขมากขึ้น

ร้อยละประชาชนผู้เข้าอบรมได้ทักษะ แนวคิด ตระหนักรู้ตนเอง ครอบครัว สามารถดำเนินชีวิตได้สอดคล้องและกลมกลืนกับตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นสุข

0.00 80.00
4 เพื่อทำการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประชาชนในพื้นที่

ร้อยละประชาชนได้รับการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

0.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2022

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เรื่องสร้างสุขภาพจิตใจแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เรื่องสร้างสุขภาพจิตใจแจ่มใส ห่างไกลโรคซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 60 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมน้ำดื่ม จำนวน 60 ชุด ชุดละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าจัดทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 60 ชุด ชุดละ 26 บาท เป็นเงิน 1,560 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม เป็นเงิน3,240 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 1 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า และสามารถจัดการความเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้าได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 2 สำรวจข้อมูลและคัดกรองความเสี่ยงโรคซึมเศร้า

ชื่อกิจกรรม
สำรวจข้อมูลและคัดกรองความเสี่ยงโรคซึมเศร้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนผู้สำรวจข้อมูลและคัดกรองภาวะเสี่ยงโรคซึมเศร้า 232 หลังคาเรือน อสม. จำนวน 15 คน คนละ300 บาท เป็นเงิน4,500บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีฐานข้อมูลผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคซึมเศร้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งต่อผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าสู่กระบวนการรักษา

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าสู่กระบวนการรักษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ผู้ที่ผ่านการสำรวจแล้วเข้าข่ายโรคซึมเศร้า จะถูกส่งต่อไปสู่กระบวนการรักษาต่อไป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่ผ่านการสำรวจแล้วเข้าข่ายโรคซึมเศร้าถูกส่งต่อไปสู่กระบวนการรักษาต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยได้ทุกรายการ ทุกกิจกรรม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเครียดและซึมเศร้า สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการป้องกันโรคเครียดและซึมเศร้า
2. สามารถส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการวินิจฉัยจากแพทย์ ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี


>