กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนบ้านค่ายปลอดขยะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงเรียนบ้านค่าย

1.นายรุสลัน สาแล
2.นายมะแอ เจ๊ะเต๊ะ
3.นางแวมีเนาะ แวดอเลาะ
4.นางสาวซารอ อาแว
5.นางสาวซาลูมาร์ สะมะแอ

โรงเรียนบ้านค่าย หมู่ที่ 5 ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะที่มีในแต่ละวัน

 

30.00

ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข โดยเฉพาะขยะที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โรงเรียนก็เจอกับปัญหาขยะ ทำให้สภาพสิ่งแวดล้อมไม่ดี ไม่สะอาด และอาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง และเชื้อโรคต่างๆ เช่นโรคไข้เลือดออกโรคทางผิวหนัง โรคทางเดินอาหาร ทางการหายใจ จากการสูดดมกลิ่นขยะ ฝุ่นละออง สาเหตุและที่มาของขยะ เกิดจากความมักง่ายและขาดจิตสำนึก ถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้น เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งจะเห็นได้จากการทิ้งขยะลงตามพื้นหรือแหล่งน้ำโดยไม่ทิ้งลงในถังรองรับที่จัดไว้ให้ หรือแม้กระทั่งการซื้อของการใช้สิ่งของของนักเรียนเช่น ขนม กระดาษ แก้วน้ำ ขวดน้ำ โดยใส่ถุงพลาสติกหลายๆถุง ทำให้มีขยะเพิ่มในปริมาณมากสถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในการปูพื้นฐาน และปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกมีจิตสาธารณะรักและหวงแหนธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของตนเองรู้จักการคัดแยกขยะสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ต่อชุมชนเพื่อประสานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ตามที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ร่วมมือกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินงานโครงการปลอดขยะ (Zero Waste School) เพื่อเผยแพร่แก่โรงเรียนและชุมชนให้เกิดโรงเรียนและชุมชนปลอดขยะ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสถานศึกษา ที่ดำเนินกิจกรรม ลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ การรวบรวมขยะเพื่อส่งไปกำจัดอย่างถูกต้อง ปลูกจิตสำนึกการลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ในสถานศึกษา สร้างระบบการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในการจัดการขยะภายในสถานศึกษา ปลูกฝังลักษณะนิสัยรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่ผู้เรียน เพื่อมุ่งสู่สถานศึกษาปลอดขยะอย่างแท้จริง และขยายผลต่อจนกลายเป็นสังคมรีไซเคิลต่อไป
โรงเรียนบ้านค่าย เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาความสะอาด จึงดำเนินโครงการโรงเรียนบ้านค่ายปลอดขยะ Zero Waste BANKHAI School ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อคัดแยกขยะออกจากขยะชนิดอื่นๆมาใช้ให้เกิดประโยชน์ 2. เพื่อนำใบไม้และขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยหมัก 3. เพื่อให้นักเรียนมีทักษะความรู้ความสามารถด้านการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง

ผลผลิต 1. นักเรียนมีทักษะความรู้ ความสามารถด้านการทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง 2. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ คิดเป็นร้อยละ 90 ผลลัพธ์ 1. นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน ตระหนักถึงความสำคัญของ การลดขยะ การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งให้ ความร่วมมือในกิจกรรมจากโครงการโรงเรียนปลอดขยะที่โรงเรียนจัดทำขึ้น

30.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 125
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมขยะแปลงโฉม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมขยะแปลงโฉม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมวางแผน/แต่งตั้งผู้รับผิดชอบ 2.ทำโครงการขอเสนออนุมัติ 3.จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกลับกอง 4.ดำเนินการฝึกอบรม 5.ประเมินผลการดำเนินโครงการ รายละเอียดวัสดุอุปกรณ์ 1.บ่อซีเมนต์ ขนาด 80 ซ.ม. จำนวน 9 บ่อ ราคา 180 บาท รวมเป็นเงิน 1,620 บาท 2.บ่อซีเมนต์ ขนาด 100 ซ.ม. จำนวน 6 บ่อ ราคา 300 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท 3.ปูนซีเมนต์ (ตราเสือ) จำนวน 3 ถุง ราคา 160บาท รวมเป็นเงิน 480 บาท 4.ตะแกรงเหล็กสานตากว้าง 1 นิ้ว ราคา 1,100 บาท รวมเป็นเงิน 1,100 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น สวยงาม ปลอดขยะ และมีบรรยากาศวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลดขยะ การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
2. นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาเห็นความสำคัญ และสามารถปฏิบัติได้ในเรื่องการลดขยะ การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่
3. โรงเรียนสะอาด บรรยากาศร่มรื่น


>