กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

1. นายมะกอเซ็งเจะแต
2. นายสมภพสุวรรณชมภู
3. นางสาวแวนูรไอนีย์แวบือราเฮ็ง
4. นางสาวนูรฮายาตีมัณฑนาพร
5. นางสาวปาตีเมาะดือราแมหะยี

ร.ร.บ้านน้ำดำร.ร.บ้านค่ายร.ร.บ้านกาหยีร.ร.พัฒนศึกษา และร.ร.พระราชดำริศูนย์ครูใต้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในเด็กนักเรียนและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษา

 

90.00

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษาเมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในเด็กนักเรียนและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึก ทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหารรสหวานตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่ายหากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอโรคในช่องปากที่พบบ่อยในเด็กนักเรียน ได้แก่ โรคฟันผุ และโรคเหงือกอักเสบโรคฟันผุเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยใช้มาตรการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ฟลูออไรด์ การใช้สารเคลือบหลุมร่องฟันการแปรงฟันที่มีคุณภาพเป็นต้น หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็กโดยการฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี การส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคฟันผุของเด็กได้แต่สภาพสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปส่งผลให้แบบแผนการดำรงชีวิตของประชาชนเปลี่ยนไปด้วยทำให้พ่อแม่จำนวนมากต้องทำงานเลี้ยงชีพเป็นหลักหรือมีเวลาเลี้ยงดูลูกน้อยลงนอกจากนี้การพัฒนาการของโฆษณาขนมที่มีรสหวานซึ่งมีการผลิตในรูปแบบที่หลากหลาย ความเจริญทางการโฆษณามากขึ้นส่งผลให้มีการบริโภคขนมหวานซึ่งมีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลสูง ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคฟันผุง่ายขึ้น
จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศครั้งที่ 8 (สำนักทันตสาธารณสุข,กรมอนามัย,2560) โดยในภาพรวมประเทศ พบว่าเด็กอายุ 12 ปี มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 31.5ภาคใต้เด็กอายุ 12 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 29.5จากข้อมูลในระบบสารสนเทศ HDC จังหวัดปัตตานีปี 2563 เด็กอายุ 12 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 39.71และตำบลปุโละปุโยเด็กอายุ 12 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ 29.91
จากการสำรวจสภาวะการเกิดโรคฟันผุในตำบลปุโละปุโย ปีงบประมาณ 2561-2563 พบว่า มีอัตราการเกิดโรคฟันผุร้อยละ57.1429.58และ 29.91 ตามลำดับแม้ว่าอัตราการเกิดโรคฟันผุในพื้นที่ตำบลปุโละปุโยจะลดลงตามลำดับก็ตาม แต่เมื่อเทียบกับอัตราการเกิดโรคฟันผุในระดับภาคใต้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่อัตราฟันผุไม่ได้แตกต่างมากนักอันเนื่องมาจากการแปรงฟันที่ไม่มีประสิทธิภาพความไม่ครอบคลุมในการดำเนินกิจกรรมการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและตอนเช้า (ดำเนินการบางชั้น/บางคน จากการสุ่มสำรวจโรงเรียน 4 แห่ง ใน 7 แห่งของโรงเรียนทั้งหมดในตำบล) จำนวน 1 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 25ขาดการดูแลเอาใจใส่ของผู้ปกครองในเรื่องทันตสุขภาพ และการบริโภคอาหารหวานของเด็กนักเรียนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโยและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ “ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กนักเรียนตำบลปุโละปุโย ปีงบประมาณ 2564” เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนมีความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีซึ่งจะเป็นปัจจัยที่จะสนับสนุนให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี มีสุขภาพช่องปากที่สะอาด ข้อที่ 2เพื่อให้เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ข้อที่ 3ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียน
  1. เด็กนักเรียนสามารถแปรงฟันได้อย่างถูกวิธี มีสุขภาพช่องปากที่สะอาด ร้อยละ 80
  2. เด็กนักเรียนแปรงฟันหลังรับประทานอาหารทุกครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ร้อยละ 80
  3. ผู้ปกครองมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียน ร้อยละ 80
90.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 544
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพครูประจำชั้น/ครูอนามัยโรงเรียน นักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 และประถมศึกษาปีที่ 1-6จำนวน 544 คน (5 แห่ง)

- ค่าป้ายโครงการ
ขนาด 1.๒ x ๓เมตร จำนวน1 ป้าย เป็นเงิน ๗๒0 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร 3 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 15,300 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน อัตราชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง จำนวน 26 วัน รวมเป็นเงิน 7,800 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน อัตราชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง จำนวน 12 วัน รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน อัตราชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 1 ชั่วโมง จำนวน 13 วัน รวมเป็นเงิน 3,900 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 16,020 บาท 2. อบรมให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3ประถมศึกษาปีที่ 1-6จำนวน 544 คน (5 แห่ง) ได้แก่ ร.ร.บ้านน้ำดำร.ร.บ้านค่ายร.ร.บ้านกาหยีร.ร.พัฒนศึกษา และร.ร.พระราชดำริศูนย์ครูใต้
- ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน อัตราชั่วโมงละ 300 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง จำนวน 5 วัน รวมเป็นเงิน 9,000 บาท - ค่าอาหารมื้อเที่ยงพร้อมน้ำ
ผู้เข้าร่วม จำนวน 544 คน อัตรามื้อละ50 บาท 1 มื้อ จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 27,200 บาท - ค่าอาหารว่าง
ผู้เข้าร่วม จำนวน 544 คน อัตรามื้อละ 25 บาท 2 มื้อ จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 27,200 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 2รายการ เป็นเงิน 180 บาท ได้แก่ - กระดาษA4 1รีม อัตรา 110 บาท - ปากกา 1 กระปุก อัตรา70 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 63,580 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็กนักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธี มีสุขภาพช่องปากที่สะอาด
  2. เด็กนักเรียนแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
  3. ผู้ปกครองมีความรู้ ความตระหนักและมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
79600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 79,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กนักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกวิธี มีสุขภาพช่องปากที่สะอาด
2. เด็กนักเรียนแปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารกลางวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
3. ผู้ปกครองมีความรู้ ความตระหนักและมีทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนได้


>