กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลปุโละปุโย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

1.นางสาวแอเสาะ ดอเลาะ
2.นางสาววีนัส สาเระ
3.นางสาวสารีฮา กาเดร์
4.นางสาวนูรีดา ลาเตะ
5.นางลีเยาะ ดอนิ

ม.1,ม.4,ม.5,ม.8,ม.9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตัวเอง และได้รับบริการสาธารณสุขได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน

 

90.00

ผู้สูงอายุเป็นประชากรกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งของประเทศ ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ปี พ.ศ.2560 - 2562 พบกลุ่มผู้สูงอายุ 15.45 16.06 และ 16.73 ตามลำดับ (กรมกิจการผู้สูงอายุ) ปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งจากบุตรหลานมากขึ้นทำกิจวัตรและดูแลตัวเองในเรื่องของความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เมื่อเจ็บป่วยไม่สามารถมารับบริการด้านสาธารณสุขได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ปี พ.ศ.2560 – 2562 พบผู้ป่วย ที่ต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีความรู้ในเรื่อง การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การป้องกันอุบัติเหตุเหล่านี้เป็นต้น เพื่อที่จะสามรถดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ ทำให้เกิดปัญหาได้น้อยที่สุด และถ้าครอบครัวเล็งเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุด้วยแล้ว ครอบครัว และทุกคนมีสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ร่างกายดีตามมา
การพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งการสร้างต้นแบบสุขภาพ สร้างเครือข่ายด้านการส่งเสริมสุขภาพ และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ที่ต้องมีการมุ่งสร้างการส่งเสริมสุขภาพในการ เตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายด้านในการรองรับ ดังนั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการดำเนินงานเพื่อการแก้ไขปัญหาโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ต้องมีการเตรียมการด้านสุขภาพเพื่อยามสูงอายุ โดยการมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์
การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตัวเอง และได้รับบริการสาธารณสุขได้โดยไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปุโละปุโยจึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ประจำปี 2564 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สามารถดูแลตนเองได้,เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานได้,เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแล ติดตาม และเติมยาที่บ้านอย่างต่อเนื่อง

1.ผู้สูงอายุได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านร้อยละ 100 2.ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ร้อยละ 90 3. เยี่ยมบ้านติดตาม เติมยาที่บ้านในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่ไม่สามารถมารับบริการในสถานบริการได้ ร้อยละ 100

90.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 273
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงและติดตามการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงและติดตามการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงโครงการให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
หมายเหตุ - กิจกรรมคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป - ส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วยเพื่อรับการวินิจฉัยจากแพทย์ - เติมยาให้กับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถมารับยาได้ด้วยตนเอง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 65 คน x 1 มื้อ x 25 บาท
เป็นเงิน 1,625 บาท เป็นเงิน 1,625 บาท 2.ประชุมติดตามอาสาสมัครสาธารณสุขในการดำเนินงาน หมายเหตุ ติดตามทั้งหมด จำนวน 5 ครั้ง ครั้งที่ 1 ติดตามกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 2 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ครั้งที่ 3 แยกกลุ่มเป้าหมาย เป็นเขียว เหลือง แดง ครั้งที่ 4 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส และส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัย ครั้งที่ 5 เติมยาให้กับผู้สูงอายุที่ไม่สามารถมารับยาได้ด้วยตนเอง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 65 คน x 1 มื้อ x 25 บาทจำนวน 5 ครั้ง เป็นเงิน 8,125 บาท 3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ - จัดซื้อเครื่องตรวจเบาหวาน จำนวน 4 เครื่องๆละ 2,450 บาท เป็นเงิน 9,800 - อุปกรณ์อื่นๆ จำนวน 450 บาท รวมเป็นเงิน 10,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านร้อยละ 100
  2. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
  3. เยี่ยมบ้านติดตาม เติมยาในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่ไม่สามารถมารับบริการในสถานบริการได้ ร้อยละ 100
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านร้อยละ 100
2. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
3. เยี่ยมบ้านติดตาม เติมยาในกลุ่มผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่ไม่สามารถมารับบริการในสถานบริการได้ ร้อยละ 100


>