กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคอาหารปลอดภัย ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาหว้า

ชมรม อสม.รพ.สต.นาหว้า

1. นางเยาวรัส ชฎารัตน์ โทร. 08-1093-4187
2. นางมณฑา บินดุเหล็ม โทร. 09-5914-1801
3. นางสุมาลี มันอะ โทร. 08-1095-0248
4. นางขอรีเย๊าะ หมานยอ โทร. 09-3685-2442
5. นางสมนึก คงแก้ว โทร. 08-1609-8761

พื้นที่ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ (คน)

 

0.00
2 ร้อยละของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านมาตรฐาน Clean Food Good Taste

 

0.00
3 ร้อยละของแผงลอยจำหน่ายอาหารสดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร

 

20.00
4 ร้อยละของร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว

 

20.00

ด้วยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายดำเนินการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริมในร้านชำ วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคในชุมชน เนื่องจากพบว่าในหมู่บ้านยังพบว่ามีร้านค้าในชุมชน หรือรถเร่นำสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ไม่มีฉลากภาษาไทยมาจำหน่ายแก่ชาวบ้าน ประกอบกับในปัจจุบันมีการโฆษณาชวนเชื่อผลิตภัณฑ์สุขภาพเกินจริง ผู้บริโภคที่ขาดความรู้ในการบริโภคอาจตกเป็นเหยื่อหรือเกิดอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานจากการหลงเชื่อโฆษณาดังกล่าว
การดำรงชีวิตของคนในปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย รวมไปถึงการจัดหาและเลือกที่จะรับประทานอาหารจากอดีตที่มีการจัดหาวัสดุอาหารมาดำเนินการปรุง การประกอบอาหารเองที่บ้านหรือในครัวเรือน อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัย ไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วยคือ คุณค่าตามหลักโภชนาการ คุณภาพ ความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ในปัจจุบันมีการจัดตั้งร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารไว้บริการอาหารปรุงสำเร็จแก่ประชาชน สะดวกต่อการเลือกซื้อมาเพื่อการบริโภคทั้งในครัวเรือนหรือการจัดเลี้ยงอาหารในรูปแบบต่างๆ มากมาย ดังนั้นการควบคุม ดูแล ให้การประกอบกิจการการจัดบริการอาหารโดยสถานประกอบการด้านอาหารเป็นไปอย่างเหมาะสม เน้นความสะอาดและปลอดภัยแก่ผู้บริโภค จึงเป็นงานสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้ความร่วมมือในการปรับปรุงและพัฒนายกระดับสถานประกอบการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่ปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
ดังนั้น เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.นาหว้า จึงมีแผนที่จะให้โครงการคุ้มครองผู้บริโภคอาหารปลอดภัย ปี 2564 วัตถุประสงค์เพื่อทำหน้าที่่เฝ้าทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การตรวจร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร แผลลอยจำหน่ายอาหารสด ร้านขายของชำ ฯลฯ ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชนเพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ (คน)

0.00 56.00
2 เพื่อเพิ่มร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านมาตรฐาน Clean Food Good Taste

ร้อยละของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารผ่านมาตรฐาน Clean Food Good Taste เพิ่มขึ้น

0.00 80.00
3 เพื่อให้แผงลอยที่จำหน่ายอาหารสดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร

ร้อยละของแผงลอยที่จำหน่ายอาหารสดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารเพิ่มขึ้น

20.00 80.00
4 เพื่อให้ร้านชำ ผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว

ร้อยละของร้านชำ ผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาวเพิ่มขึ้น

20.00 40.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ร้านชำ 43
ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร 11
อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ 56
แผงลอยจำหน่ายอาหารสด 12
โรงครัวโรงเรียน/โรงครัว ศพด. 5

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 12/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 16 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 400 บาท
    หมายเหตุ...1. กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ประธาน อสม.ทุกหมู่ จำนวน 12 คน และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.นาหว้า จำนวน 4 คน 2. การรับสมัครอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผนการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
400.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
อบรมอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 56 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 2,800 บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 56 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 2,800 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
  4. ค่าวัสดุ/เอกสารการอบรม จำนวน 56 ชุดๆ ละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 2,800 บาท
    หมายเหตุ...กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย กลุ่มอาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 56 คน
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 17 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภค มีความรู้และเฝ้าระวังฯ ในพื้นที่ได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด/ร้านขายของชำ/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ประชุมอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด/ร้านขายของชำ/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 71 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,775 บาท 2.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 71 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 3,550 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท
  3. ค่าวัสดุ/เอกสารการอบรม จำนวน 71 ชุดๆ ละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 3,550 บาท
  4. ผ้ากันเปื้อนพร้อมหมวก จำนวน 28 ชุดๆ ละ 150 บาท รวมเป็นเงิน 4,200 บาท
  5. ค่าป้ายไวนิล ขนาดความกว้าง 1 เมตร ความยาว 2.5 เมตรๆ ละ 150 รวมเป็นเงิน 375 บาท
    หมายเหตุ 1. ผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย เจ้าของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร 2. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผ้ากันเปื้อนคือ เจ้าของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร 3. ผ้ากันเปื้อนพร้อมหมวก เป็นใช้ผ้าลินินและสั่งตัดตามแบบมาตรฐาน (ภาพประกอบดังแนบ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้ารับการอบรมปรับปรุง ฯ ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15250.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด/ร้านขายของชำ/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด/ร้านขายของชำ/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าชุดอุปกรณ์ทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Sl2) จำนวน 2 ชุดๆ ละ 1,550 บาท (ทีมตรวจจำนวน 2 ทีม)
  2. ค่าอาหารตรวจโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (Sl2) จำนวน 4 ลังๆ ละ 1,200 บาท (1 ลังมี 25 ขวด รพ.สต.นาหว้า มีเป้าหมายทั้งหมด 18 ร้าน โดย 1 ร้านใช้ 10 ขวด/10 ตัวอย่าง รวมใช้ทั้งหมด 180 ขวด)
  3. ค่าชุดอุปกรณ์ตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสด จำนวน 2 ชุดๆ ละ 1,000 บาท
  4. ค่าสารตรวจสารปนเปื้อนในอาหารสด จำนวน 2 ชุดๆ ละ 2,700 บาท
  5. ค่าป้ายสัญลักษณ์อาหารสะอาด รสชาติอร่อย (CFGT) จำนวน 11 ป้ายๆ ละ 200 บาท รวมเป็นเงิน 2,200 บาท (เอกสารดังแนบ)
  6. ค่าป้ายสัญลักษณ์ร้านชำติดดาว จำนวน 18 ป้ายๆ ละ 200 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท (เอกสารดังแนบ)
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 24 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนร้าน/แผงลอย/ร้านชำ/ศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21100.00

กิจกรรมที่ 5 จัดกิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 71 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท รวมเป็นเงิน 1,775 บาท
  2. ค่าตอบแทนผู้ดำเนินรายการ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

หมายเหตุ...กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เจ้าของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารสด/ร้านชำ/แม่ครัว

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มีนาคม 2564 ถึง 19 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3575.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,325.00 บาท

หมายเหตุ :
ขอถัวเฉลี่ยจ่ายทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ผ่านการอบรมและสามารถตรวจร้านได้
2. ร้อยละ 80 ของร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหาร ผ่านมาตรฐาน Clean Food Good Taste
3. ร้อยละ 80 ของแผงลอยจำหน่ายอาหารสดผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร
4. ร้อยละ 40 ของร้านชำผ่านเกณฑ์ร้านชำติดดาว


>