กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน (โรงเรียนวัดนิคมสถิต)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่

โรงเรียนวัดนิคมสถิต

โรงเรียนวัดนิคมสถิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กวัยเรียน(7-12 ปี) ที่มีภาวะเสียงทุพโภชนาการ

 

25.00

เด็กเป็นทรัพยากรที่สมบูรณ์ที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตการพัฒนาเด็กทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นเรื่องสำคัญของมาตราฐานการเหมาะสมกับวัยซึ่งหน่วยงานจำเป็นต้องรับผิดชอบจะต้องตระหหนัก และให้ความสนใจเพื่อให้การพัฒนาเด็เป็นไปอ่างมีคุณภาพและได้มาตราฐานเหมาะสมกับวัย ปัจจุบันเด็กนักเรียนในโรงเรียนวัดนิคมสถิต ส่วนมากมีผู้ปกครองประกิบอาชีพเกษตรกร คือการกรีดยางพารา ซึ่งต้องทำงานตั้งแต่กลางคืนจนถึงกลางวัน โดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ต้องส่งลูกไปโรงเรียนมักต้องเป็นเวลาต้องเก็บน้ำยาง ทำให้การเอาใจใส่ลูกเรื่องการกินอาหารเช้าไม่ค่อยสมบูรณ์ เด็กส่วนมากไม่ได้รับประทานอาหารเช้าก่อนมาเรียน ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมสำหรับเด็กที่ควรได้รับสารอาหาร โดยเฉพาะอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เป็นภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในเด็ก และการพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กเป็นไปอย่างล่าช้าได้
ดังนั้นโรงเรียนวัดนิคมสถิต จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องดำเนินการส่งเสริมด้านโภชนาการให้แก่เด็ก อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านร่างกายให้เด็ก ให้ได้รับการพัฒนาตามมมาตรฐานการศึกษาของชาติที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เก่ง ดี มีความสุขทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 จำนวนเด็กวัยเรียน(7-12ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ ลดลง

เด็กวัยเรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า และปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

25.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 25
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอาหารเสริมสำหรับนักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
จัดอาหารเสริมสำหรับนักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประเมินนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมโครงการ (ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง)
2.จัดอาหารเสริมแก่นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก

งบประมาณ

  • ค่าอาหารเสริม จำนวน 25 ชุด ชุดละ 20 บาท จำนวน 100 วัน เป็นเงิน 50,000 บาท
  1. ประเมินนักเรียนหลังการเข้าร่วมโครงการ (ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง)
ระยะเวลาดำเนินงาน
2 พฤศจิกายน 2020 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารที่มีประโยชน์ และปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการทุกคนได้รับอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
2. นักเรียนที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการทุกคนได้รับอาหารเสริมเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
3. นักเรียนมีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการลดลง


>