กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรักษ์สุภาพกับคลีนิกใกล้บ้าน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ

นางกรุณา วิสโยภาส
นายเสริมขวัญนุ้ย
นางนันทภรณ์รุยันต์
นางหนูพร้อมด้วงเอียด
นางสาวสิริรัตน์พรหมมินทร์

ตำบลท่ามิหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในคลีนิกรับยาโรคเรื้อรังของ รพ.สต.

 

250.00
2 ผู้่ป่วยเบาหวาน ในคลีนิกรับยาโรคเรื้อรง ของ รพ.สต.

 

50.00
3 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสื่อม ระยะ 3 ในคลีนิกรับยาโรคเรื้อรังของ รพ.สต.

 

40.00

จากปีงบประมาณ 2563 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่สามาถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติร้อยละ 61.43
ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตามในเลือดไม่ได้ร้อยละ 60
ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสื่อมระยะ 3มีการทำงานของไตดีขึ้นเพียง ร้อยละ 62.85
ผู้ป่วย 3 กลุ่มนี้ จำเป็นต้องฟื้นฟูเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองแบบเข้มข้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นจากการเป็นโรคดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน 3 กลุ่มนี้ และหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ พบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้เป็นปกติได้ร้อยละ 76.42ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อย 76.67 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อมระยะ 3 มีการทำงานของไตดีขึ้น ร้อยละ 75
ในปีงบประมาณ 2564 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ เห็นว่าโครงการดังกล่าวมีผลลัพธ์ที่ดี จึงควรจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพของตนองแบบเข้มข้นสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อมระยะ 3 ทุกคน เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักในการดูแลตนเองได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ

ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้ปกติ ร้อยละ 70

250.00 175.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ

ผู้ป่วยเบาหวาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ ร้อยละ 45

50.00 23.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่เกิน ร้อยละ 10

250.00 25.00
4 เพื่อให้ผุ้ป่วยโรคเบาหวานไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่เกินร้อยละ 10

50.00 5.00
5 ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะไตเสื่อมระยะ 3 มีความรู้ ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่าการทำงานของไตดีขึ้น

ผู้ป่วยทีมีภาวะไตเสี่อม เมื่อติดตามซ้ำ การทำงานของไตดีขึ้น  ร้อยละ 60

40.00 24.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 340
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมรับยาในคลีนิกโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรับยาในคลีนิกโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • กิจกรรมรับยาในคลีนิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านน้ำเลือด เปิดให้บริการคลีนิคจ่ายยาโรคเรื้อรัง ทุกวันอังคารที่ 2 ของทุกเดือน  อสม.ดูแลให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และเจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือด ลงบันทึกในแฟ้มครอบครัวและสมุดประจำตัวโรคเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลพัทลุง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คลีนิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านน้ำเลือด เปิดให้บริการคลีนิคจ่ายยาโรคเรื้อรัง ทุกวันอังคารที่ 2 ของทุกเดือน  อสม.ดูแลให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และเจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือด ลงบันทึกในแฟ้มครอบครัวและสมุดประจำตัวโรคเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลพัทลุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจ่ายยาโรคเรื้อรัง ติดตามผู้ป่วยที่ขาดนัด ตรวจเลือด ตรวจตา เอกซเรย์ปอด ตรวจช่องปาก และเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจ่ายยาโรคเรื้อรัง ติดตามผู้ป่วยที่ขาดนัด ตรวจเลือด ตรวจตา เอกซเรย์ปอด ตรวจช่องปาก และเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • มีบริการจ่ายยาโรคเรื้อรัง โดยพยาบาลวิชาชีพ -มีการติดตามผู้ป่วยที่ขาดนัดในแต่ละเดือนโดยเจ้าหน้าที่ และ อสม. -ผู้ป่วยได้รับการตรวจเลือดประจำปี -ตรวจตา เอกซเรย์ปอด ตรวจสุขภาพช่องปาก และตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีบริการจ่ายยาโรคเรื้อรัง โดยพยาบาลวิชาชีพ -มีการติดตามผู้ป่วยที่ขาดนัดในแต่ละเดือนโดยเจ้าหน้าที่ และ อสม. -ผู้ป่วยได้รับการตรวจเลือดประจำปี -ตรวจตา เอกซเรย์ปอด ตรวจสุขภาพช่องปาก และตรวจเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อร้งที่มีภาวะสุขภาพ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อ่มระยะ 3

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อร้งที่มีภาวะสุขภาพ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อ่มระยะ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วย ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
- ค่าวิทยากร จำนวน 3 ช.ม. ๆละ 600 บาท จำนวน 10 ครั้ง เป็นเงิน 18,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 250 คน ๆละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน -ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน3,600 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 2 ครั้ง ๆ ละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2500 บาท กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อมระยะ 3
-ค่าวิทยากร จำนน 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท กิจกรรมสนับสนุนไข่ไก่ให้ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมระยะ 3
- ค่าไข่ไก่สำหรับผู้ที่มีภาวะไตเสื่อม 40 คน ๆ ละ 100 ฟอง ๆละ 3.4 บาท เป็นเงิน 13,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อร้งที่มีภาวะสุขภาพ เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อ่มระยะ 3

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
53000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมการวัดความดันโลหิตสูง ซ้ำในผู้ป่่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และผู้ป่่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อมระยะ 3 ให้สามารถดูแลไตให้มีการทำงานที่ดีขึ้น โดยการเจาะเลือดซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการวัดความดันโลหิตสูง ซ้ำในผู้ป่่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และผู้ป่่วยโรคเรื้อรังมีภาวะไตเสื่อมระยะ 3 ให้สามารถดูแลไตให้มีการทำงานที่ดีขึ้น โดยการเจาะเลือดซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ติดตามวัดความดันโลหิตสูงซ้ำตามเกณฑ์มาตรฐาน -ติดตามเจาะหาค่าน้ำตาลในเลือดซ้ำตามเกณฑ์มาตรฐาน -ติดตามค่าการทำงานของไต โดยการเจาะเลือดซ้ำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการตรวจความดันซ้ำ ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการเจาะหาค่าน้ำตาลในเลือดซ้ำตามเกณฑ์มาตรฐาน ผู้ป่วยโรคไตได้รบการการตรวจการทำงานของไตโดยการเจาะเลือดซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 53,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้มีความดันโลหิตที่ปกติ ค่าน้ำตาลในเลือดปกติ เพื่อการป้องกันภาวะแทรกซ้อน ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.ผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้การทำงานของไตดีขึ้น
3.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังรับยาต่อเนื่อง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน


>