กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการตรวจคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากการทำงาน ของพนักงานเทศบาลตำบลคลองขุด

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากการทำงาน ของพนักงานเทศบาลตำบลคลองขุด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1.นายธีระ จันทร์ทองพูน
2.นายวินิช ถวิลวรรณ์
3.นางเกศวรางค์สารบัญ
4.นางสาวบิสณี เด่นดารา
5.นางสาวอังคณา เล่ห์ทองคำ

ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

 

0.00
2 ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

 

80.00

อาชีพของพนักงานเก็บขนขยะถือว่าเป็นอาชีพที่คนส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นความสำคัญ หลายคนมองไม่เห็นว่าอาชีพเก็บขนขยะเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับคนกลุ่มหนึ่งที่ทำมาหากินอย่างสุจริตมีส่วนในการช่วยลดปัญหาขยะล้นเมืองและผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ ตามมา แต่ในขณะเดียวกันในแง่ของสุขภาพและความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพแล้วกลุ่มอาชีพนี้ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความปลอดภัยในการทำงาน แม้ว่าพนักงานเก็บขนขยะของเทศบาลตำบลคลองขุดจะมีการดำรงชีวิตในด้านการป้องกันด้านสุขภาพอย่างเพียงพอ แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอันเนื่องมาจากการทำงานที่เกิดโรคจากการประกอบอาชีพ (occupational diseases)การอยู่ในสภาพที่มีกลิ่นที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จนได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม อันเป็นผลมาจากขยะมูลฝอยเป็นที่สะสมของสารเคมีอันตราย เชื้อโรคต่างๆหรือแม้แต่ของมีคมต่างๆและจากรูปแบบการจัดการขยะพบว่า ในปัจจุบันลักษณะการเก็บขนรวบรวมขยะของประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่มีการแยกประเภทของขยะ ทำให้สุขภาพและความปลอดภัยจากการประกอบอาชีพของคนกลุ่มอาชีพนี้ ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและความปลอดภัยในการทำงาน และส่งผลปัญหาสุขภาพที่สำคัญจากขยะติดเชื้อ และสารเคมีตกค้างในร่างกาย เช่น สารตะกั่ว สารหนู ปรอท และสารโลหะหนักอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีปัญหาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการยกของหนัก
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการ“ตรวจคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงจากโรคที่เกิดจากการทำงาน ของพนักงานเทศบาลตำบลคลองขุด” ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ดูแลความสะอาดเรียบร้อย ซึ่งได้แก่ พนักงานเก็บขนขยะ พนักงานกวาดขยะ และเจ้าหน้าที่ควบคุมโรค ซึ่งบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ทั้ง ๓ กลุ่มนี้ มีภาระงานที่ต้องสัมผัสกับสิ่งปฏิกูลมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน และสารเคมี ซึ่งถือเป็นจุดเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรค เพื่อให้เกิดการป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ปลอดโรค ปลอดภัย ให้ได้รับบริการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม และได้รับการเฝ้าระวังความเสี่ยงทางสุขภาพ ควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการสัมผัสขยะ รวมถึงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสม อันจะส่งผลต่อการลดอัตราการเจ็บป่วยของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

80.00 60.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตราการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตราการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 37
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/03/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้โรคจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้โรคจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้โรคจากการประกอบอาชีพ การป้องกันตนเอง และการฟื้นฟูสรรถภาพ 2.ตรวจสุขภาพ งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง
        จำนวน ๓๗  คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วันๆ ละ 2 มื้อ    เป็นเงิน ๑,๘๕0  บาท     2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง
        จำนวน ๓๗  คน คนละ 60 บาท จำนวน 1 วัน      เป็นเงิน ๒,๒๒๐ บาท     3. ค่าวิทยากร (บรรยาย) จำนวน ๔ ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท      เป็นเงิน ๒,๔00 บาท     ๔. ค่าตรวจสุขภาพ (ตามมาตรฐานการตรวจสุขภาพบุคคลในการตรวจสุขภาพโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ งานอาชีวอนามัย โรงพยาบาลสตูล) จำนวน ๓๗ คน คนละ ๑,๒๐๐ บาท เป็นเงิน 44,400 บาท*
    ๕. ค่าอุปกรณ์ป้องกัน (เข็มขัดพยุงหลัง) จำนวน ๗๔ ชุด ราคาชุดละ ๗๐๐ บาท เป็นเงิน ๕๑,๘๐๐ บาท**     ๖. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.20 x 2.50 เมตร           เป็นเงิน 360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้-ความเข้าใจในด้านการป้องกันโรคจากการทำงานจำนวน ๓๗ คน 2. ผู้เข้าอบรมสามารถป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการทำงานเก็บขนขยะ จำนวน ๓๗ คน ผลลัพธ์ ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการทำงาน และสามารถป้องกันตนเองจากภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากการทำงานได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
103.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 103.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณต่างๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรม สถานที่และเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
* รายการตรวจสุขภาพ โดยเบื้องต้นจะดำเนินการตรวจตามสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประกันสังคมกำหนดให้ของเจ้าหน้าที่แต่ละคน
** อุปกรณ์ป้องกัน (เข็มขัดพยุงหลัง)จำนวน ๒ ชุด ต่อ ๑ คน ต่อ ๑ ปี

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคที่เกิดจากการทำงาน และสามารถป้องกันตนเองจากภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากการทำงานได้


>