กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อยสุขภาพดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลท่ามิหรำ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ

นางกรุณาวิสโยภาส
นายเสริมขวัญนุ้ย
นางนันทภรณ์ รุยันต์
นางหนูพร้อม ด้วงเอียด
นางสาวสิริรัตน์ พรหมมินทร์

ตำบลท่ามิหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

 

1.00
2 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

 

30.00
3 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

 

73.00

เด็กปฐมวัยจะมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรง พัฒนาการสมวัยทุกด้านทั้งทางร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมร์และสังคม พร้อมที่จะเติบโต เป็นประชากรที่มีคุณาพต่อไปในอนาคต แต่การที่เด็กจะดีหรือเป็นเด็กดีได้นั้นองค์ประกอบที่สำคัยอย่างหนึ่งคือการมีสุขภาพที่ดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต เพราะเมื่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตไม่ดีหรือมีโรคภัยไข้เจ็บ ก็ไม่มีพลังที่จะพัฒนาตัวเองให้เป็นเด็กดี และเด็กเก่งได้เท่ากับผู้ที่มีสุขภาพดี แต่ในปัจจุบันปประเทศไทยอยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้คนเราต้องดิ้นรนทำมาหาเลี่ยงชีพตนเองและครอบครัว จนไม่มีเวลาดูแลเด็กหรือบุตรด้วยตนเองซึ่งทำให้เกิดปัญหากับสุขภาพแก่เด็ก การดูแลด้านสาธารณสุขสำหรับเด็กที่ควรได้รับ เช่น การส่งเสริมโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-6 ปี การส่งเสริมสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันฟันผุ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยของเด็ก การติดตามและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพดีในทุกด้าน
จากการดำเนินงานตามโครงการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย ปี 2563ด้านการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก พบว่าเด็กอายุ 0-5 ปี ของตำบลท่ามิหรำ ที่ต้องได้รับการตรวจพัฒนาการ จำนวน 156 คนหลังจากการดำเนินการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงวัย ทาง รพ.สตงบ้านน้ำเลือด มีการตรวจติดตามพัฒนาการทุกเดือน ในเด็กที่มีอายุครบ 9 เดือน 18 เดือน 42 เดือน และ 60 เดือนพบเด็กที่มีพัฒนาการสมวันทันที 112 คน คิดเป็นร้อยละ 71.79พบเด็กที่พัฒนาการไม่สมวัยทันที จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.65 ได้รับการรักษาที่ รพ.พัทลุง รักษาต่อเนื่อง เด็กมีพัฒนาการดีขึ้น และพบเด็กที่พัฒนาการสงสัยล่าช้า จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 27.56 หลังแนะนำการกระตุ้นพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครอง นัดมาตรวจพัฒนาการอีก 1 เดือน พบมีพัฒนาการสมวัยจำนวน 43 คนไม่พบมีพัฒนาการไม่สมวัย จะเห็นได้ว่า การส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก มีความสำคัญมาก จำเป้นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อค้นหาเด้กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย จะได้รับการกระตุ้นและรักษาอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมเด็กที่มีพัฒนาการที่สมวัยให้มีพัฒนาการที่ปกติตามวัย ด้านการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อป้องกันโรคฟันผุเด็ก 0-6 ปี จำนวน 190 คน พบ่ามีฟันน้ำนมผุ จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 38.42 มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็ก เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น ผู้ปกครองตระหนักในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กมากขึ้น ลดโรคฟันผุในเด็ก ด้านภาวะโภชนาการของเด็ก 0-6 ปี พบว่ามีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์จำนวน 30 คน น้ำหนักเกินเกณฑ์ 10 คน หลังจากดำเนินโครงการ โดยจัดอบรมและจ่ายนม UHT พบว่าหลังจากเด็กได้ดื่มนมอย่างต่อเนื่อง มีเด็กที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นจากน้ำหนักน้อยเป็นน้ำหนักค่อนข้างน้อย/ตามเกณฑ์จำนวน 10 คน และจากน้ำหนักค่อนข้างน้อยเป้นน้ำหนักตามเกณฑ์ จำนวน 10 คน รวมเด็กที่มีน้ำหนักเพิมขึ้นจำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 66.67 ดังนั้นการแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กจึงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลท่ามิหรำ รพ.สต.บ้านน้ำเลือด กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลท่ามิหรำ และเทศบาลตำบลท่ามิหรำ เห็นว่าโครงการนี้ ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ปกครองต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในแต่ละด้านแต่ละช่วงวัยเพื่อให้สามารถค้นพบเด็กที่มีปัญหารายใหม่ และให้ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีและลดอัตราการเจ็บป่วยของเด็กปฐมวัย อันจะส่งผลให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของประเทศชาติในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้เด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า

จำนวนเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่ประเมินแล้วมีภาวะพัฒนาการล่าช้า(คน)

1.00 0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ(คน)

30.00 30.00
3 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

73.00 73.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบและเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การดูแลสุขภาพช่องปาก การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การดูแลสุขภาพช่องปาก การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย
1.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ปกครองเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 160 คนๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท    - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 3 ครั้ง เป็นเงิน 5400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กอายุต่ำว่า 5 ปี ได้รับความรู้ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย จำนวน  160 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9400.00

กิจกรรมที่ 3 การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การดูแลสุขภาพช่องปาก การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การดูแลสุขภาพช่องปาก การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมส่งสริมสุขภาพช่องปาก เด็ก 0-6 ปี
1.โดยการให้ความรู้ผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพช่องปาก     - ค่าอาหารว่างสำหรับผู้ปกครองเด็ก 0-6 ปี จำนวน 200 คน ๆละ 1 มื้อ ๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5000 บาท     - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 7,200 บาท 2.บริการป้ายฟันด้วยฟลูออไรด์วานิชแก่เด็ก 9 เดือน ถึง 6 ปี     -ฟลูออไรดวานิชเจล และพู่กันป้วยฟัน ได้รับการสนับสนุนจากงานทันตกรรม โรงพยาบาลพัทลุง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้กครองของเด็กอายุ 0-6 ปี ได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปาก  จำนวน 200 คน เด็กอายุ 9 เดือน ถึง 6 ปี ได้รัการป้ายฟันด้วยฟลูออไรด์วานิช

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 4 การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การดูแลสุขภาพช่องปาก การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี

ชื่อกิจกรรม
การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การดูแลสุขภาพช่องปาก การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก 0-6 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมด้านการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก 0 - 6 ปี
1 ให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องโภชนาการ สำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ผิดปกติ    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วม จำนวน  40 คน ๆละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1000 บาท    - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน  1800  บาท 2.มอบอาหารเสริม แก่เด็กที่มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
   - ค่าอาหารเสริม ( นมรสจือด UHT ขนาด 85 มล.) จำนวน 30 คน ๆละ 150 กล่อง ราคากล่องละ 5 บาท เป็นเงิน 22,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองของเด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ผิดปกติได้รับความรู้เรื่องโภชนาการ   จำนวน  40 คน เด็กที่มีภาวะโภชนาการที่ผิดปกติได้รับอาหารเสริม ( นมรสจือด UHT ขนาด 85 มล.) คนละ 150 กล่อง  จำนวน 30 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25300.00

กิจกรรมที่ 5 เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ติดตามการพัฒนาการ และภาวะโภชาการ เด็ก 0 ข 6 ปี

ชื่อกิจกรรม
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ติดตามการพัฒนาการ และภาวะโภชาการ เด็ก 0 ข 6 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประเมินพัฒนาการของเด็ก อายุ 9 เดือน, 18 เดือน, 30 เดือน, 42 เดือน และ  60 เดือน 2..เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเยี่ยมบ้านร่วมกับ อสม.ในการติดตามเด็กที่ไม่มารับการตรวจพัฒนาการตามช่วงอายุ แะเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า 3.มีการส่งต่อ รพ.พัทลุง เมื่อมีเด็กมีพัฒนาการล่าช้าและติดตาม หลังการรักษา 4.อสม.มีการติดตามชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เด็ก 0-ุ 6ปี ทุก 3 เดือน เพื่อติดตามภาวะโภชนาการ 5.เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.มีการติดตามซ้ำ กรณีที่เด็กมีภาวะโภชนาการผิดปกติ หากสงสัยเป็นโรค มีการส่งต่อเพื่อพบแพทย์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก อายุ 9 เดือน, 18 เดือน, 30 เดือน, 42 เดือน และ  60 เดือน ได้รับการประเมินพัฒนาการของเด็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็ก 0-6 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยและเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มมีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ
2.ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก
3.ลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กปฐมวัย
4.เด็ก 0-6 ปี มีภาวะโภชนาการที่ปกติ


>