กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กชั้นประถมศึกษา ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

โรงเรียนประถมศึกษาในเขตรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคฟันผุจัดเป็นโรคติดต่อ เพราะเกิดจากเชื้อโรค และติดต่อกันได้ทางน้ำลาย โดยกระบวนการเกิดโรค จำเป็นจะต้องมีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่างด้วยกัน ได้แก่ ตัวฟัน เชื้อจุลินทรีย์ และสภาวะความเป็นกรดภายในช่องปาก การที่ฟันผุ หรือเหงือกอักเสบนั้น ต้องใช้เวลานานกว่าจะแสดงอาการ สิ่งที่จะมาเสริมสร้างความแข็งแรงของฟันได้ จะต้องดูแลรักษา และรับประทานอาหารให้ถูกต้อง ตั้งแต่เริ่มแรก และเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
เด็กประถมศึกษาถือเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก เพราะเป็นช่วงวัยที่เริ่ม มีการเปลี่ยนแปลงชุดฟันในช่องปากจากฟันน้ำนมเป็นฟันถาวร ฟันที่เริ่มขึ้นมาในช่องปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันกรามถาวรซี่แรกที่ขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ 6 ปี จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุสูงมาก เพราะการสะสมแร่ธาตุที่ผิวฟันยังไม่สมบูรณ์ และเด็กยังไม่สามารถแปรงฟันได้อย่างมีคุณภาพ ที่สำคัญคือช่วงวัยนี้ เป็นช่วงวัยของการพัฒนาวินัย บุคลิกภาพ และพฤติกรรม เป็นช่วงวัยที่เหมาะสมแก่การฝึกทักษะ และปลูกสร้างลักษณะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้น เป็นช่วงเวลาทองของการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเน้นคุณภาพ สำหรับสุขนิสัยที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปาก ได้แก่ การรู้จักดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองอย่างเป็นกิจวัตรด้วยการแปรงฟัน และการบริโภคอาหาร ที่เหมาะสม
ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ที่พบปัญหาโรคฟันผุในเด็กประถมศึกษา จากข้อมูลการตรวจสุขภาพช่องปากนักเรียนตามระบบเฝ้าระวังทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษา ตั้งแต่ปี 2560 ถึง 2563 พบว่าเด็กอายุ 6-12 ปี มีฟันแท้ผุเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 33.75 35.67 52.23 และ53.88 ตามลำดับ ซึ่งในปี 2563 พบฟันแท้ผุมากในเด็กอายุ 6 9 และ12 ปี คิดเป็นร้อยละ15.33 21.43 และ 35 ตามลำดับ
ทั้งนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงจัดทำโครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังทันตสุขภาพในเด็กชั้นประถมศึกษา ปีงบประมาณ 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากของนักเรียนอย่างจริงจังตามบริบทและวิถีการดําเนินชีวิตในพื้นที่ และเพื่อให้เด็กมีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กสามารถแปรงฟันอย่างถูกวิธี ตลอดจนปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในด้านสุขภาพช่องปาก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง

ร้อยละ 85 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง

70.00 85.00
2 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ได้รับบริการเคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่

ร้อยละ 50 ของนักเรียนได้รับการเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ (4-12 ปี) และได้รับการเคลือบหลุมร่องฟัน (ุ6-12 ปี)

35.00 50.00
3 เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก และตรวจคัดกรองโรคในช่องปากเบื้องต้นได้

นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80

60.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 306
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง โดยการให้ความรู้ และลงมือปฏิบัติการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ซึ่งวัดความสะอาดด้วยค่าดัชนีวัดคราบจุลินทรีย์(Plaque Index) แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ในโรงเรียนที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ อบต. ควนโดน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง โรงเรียนบ้านดูสน โรงเรียนบ้านบูเกตยามู รวมจำนวนนักเรียน 306 คน และติดตามประเมินผลการแปรงฟันอย่างถูกวิธี โดยวัดความสะอาดด้วยค่าดัชนีวัดคราบจุลินทรีย์(Plaque Index) จำนวน 2 ครั้ง งบประมาณ

โรงเรียนบ้านควนโต๊ะเหลง ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 95 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,750 บาท

โรงเรียนบ้านดูสน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 110 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,500 บาท

โรงเรียนบ้านบูเกตยามู ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 101 คน ๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,050 บาท

ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 คน คนละ 2 ชม.ๆ ละ300 บาท จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 5,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ80 ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 มีทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และมีค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque Index)ลดลง
  2. ร้อยละ50 ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 ได้รับบริการเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ และเคลือบหลุมร่องฟันในรายที่มีฟันกรามแท้เป็นหลุมร่องลึก
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมหมอน้อยรู้ทันฟันผุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมหมอน้อยรู้ทันฟันผุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมหมอน้อยรู้ทันฟันผุ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องโรคในช่องปาก สามารถตรวจฟันเบื้องต้นด้วยตนเองและให้ผู้อื่นได้ ตลอดจนสามารถแนะนำการรักษาเบื้องต้นให้แก่ผู้อื่นได้ โดยการให้นักเรียนจับคู่ตรวจฟัน ซึ่งมีทันตบุคลากรเป็นผู้ควบคุมดูแล

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ80 ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 มีทักษะการแปรงฟันอย่างถูกวิธี และมีค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque Index)ลดลง
2. ร้อยละ 50 ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6ได้รับการเคลือบ/ทาฟลูออไรด์เฉพาะที่ในเด็กวัยเรียน (4-12 ปี) และเคลือบหลุมร่องฟันในเด็กวัยเรียน (ุ6-12 ปี)
3. นักเรียนมีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก หลังการอบรม มากกว่าร้อยละ 80


>