กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพตนเองแก่ผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 ต.นาโหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 ตำบลนาโหนด

1.นายมิตร เปรียญกิจไพศาล
2.นายเฉวียง จันทร์เอียด
3.นายบุญสอด ทองแดง
4.นางเอี่ยมศรี เปรีญกิจไพศาล
5.นางถันทิพย์ คล้ายสมบัติ

หมู่ที่ 3 ตำบลนาโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนแกนนำในการดูแลสุขภาพ

 

16.00
2 ผู้สูงอายุไม่ได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ (คน)

 

50.00
3 ผู้สูงอายุขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น (คน)

 

50.00

ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 บ้านหัวหมอน ตำบลนาโหนด จัดตั้งขึ้นตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และได้ขึ้นทะเบียนต่อสาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ประจำจังหวัดพัทลุง เมื่อเดือน พฤศจิกายน 256 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลในทุกมิติอย่างทั่วถึงโดยผ่านการดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการชมรมปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 105 คนจาก จำนวนผู้สูงอายุ 233 คนจากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุหมู่ที่ 3 ตำบลนาโหนด ในปีงบประมาณ 2563 แยกตามความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันพบว่าจากผู้สูงอายุทั้งหมด 233 คน เป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 1 ช่วยเหลือตัวเองได้ดี จำนวน 202 คน เป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 2 ช่วยตัวเองได้บ้าง จำนวน 5 คน เป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 3 ต้องพึ่งพิงคนอื่น จำนวน 1 คนและผลจากการคัดกรองสุขภาพผู้สงอายุ10 เรื่อง พบว่ามีภาวะเสี่ยง-เสี่ยงสูง ต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 73 คน มีภาวะเสี่ยง-เสี่ยงสูง ต่อโรคเบาหวาน จำนวน104 คน เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองระดับสูง สูงมาก อันตราย จำนวน 31 คน สุขภาพช่องปากผิดปกติจำนวน 6 คน สมองเสื่อมจำนวน 2คนโรคซึมเศร้า จำนวน 1 คน ข้อเข่าผิดปกติจำนวน 7 คน มีภาวะเสี่ยงหกล้ม7 คน อ้วน จำนวน9 คน ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนโรคเบาหวาน จำนวน 55 คน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 147 คน ส่วนใหญ่รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด สาเหตุของการเกิดปัญหาภาวะสุขภาพดังกล่าว สืบเนื่องจากผู้สุงอายุส่วนใหญ่ ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูและสุขภาพ ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพ อีกทั้งขาดแกนนำด้านสุขภาพ เป็นเหตุให้เกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 3 ตำบลนาโหนด จึงได้จัดทำโครงการ "อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของตนเองแก่ผู้สูงอายุ ม.3 ต.นาโหนด ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

มีแกนนำที่มีความรู้ ความสามารถในการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ

16.00 16.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิต

50.00 50.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้น สามารถดูแลสุขภาพเบื้องต้นของตนเองได้ถูกต้อง

ผู้สูงอายุได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และสามารถดุแลสุขภาพเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำด้านสุขภาพ 16

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมแกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดเลือกแกนนำด้านสุขภาพ จำนวน 16 คน
2.จัดอบรมให้ความรู้แกนนำสุขภาพ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (ADL) โดยวิทยากรด้านสาธารณสุข โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 16 คน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 320 บาท
-ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำสุขภาพจำนวน 16 คน ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการการประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ สามารถประเมินสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุได้อย่างถุกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1520.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ ได้แก่ การตรวจฟัน การประเมินภาวะสุขภาพกายและจิต การประเมิน ADL  โดย เจ้าหน้าที่ และแกนนำสุขภาพ โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
-ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบประเมิน ADL การจำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการ ประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of DailyLiving : ADL)
จำนวน 60 ชุดๆ ละ 10 แผ่น ๆ ละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ ได้รับการประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น โดยเจ้าหน้าที่ และแกนนำสุขภาพ จำนวน 50 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพด้วยหลัก 3อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ ให้สุขศึกษา เรื่อง การดุแลสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วยหลัก 3 อ แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือบุคคลที่มีความรู้ในเรื่องของการดุแลสุขภาพในวัยผู้สูงอายุ โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรม จำนวน 50 คนๆ 2 มื้อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท  เป็นเงิน 2,400 บาท
-ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400 บาท
-ค่าจ้างทำเอกสารคู่มือในการอบรม ชุดละ 10 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุเข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการดูแลสุขภาพตนเองด้วยหลัก 3อ สามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีแกนนำที่มีทักษะในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชมรม จำนวน 16 คน
2.ผู้สูงอายุ ได้รับการตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น จำนวน 50 คน
3.ผู้สูงอายุ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยหลัก 3อ จำนวน 50 คน และสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างถุกต้อง


>