กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกตำบลชะมวง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

องค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง

หัวหน้าสำนักปลัด

ตำบลชะมวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
ตำบลชะมวงเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยในปี 2563 เท่ากับ70.91ต่อแสนประชากร สูงสุดในอำเภอควนขนุนในขณะนี้ แต่ไม่มีผู้ป่วยตายด้วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลชะมวงแต่อัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นจากต้นปีถึงปลายปี 63 คาดว่าปีงบประมาณ 64 จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ซึ่งส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการปัจจุบันในตำบลชะมวงอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง ก็เป็นพื้นที่เสี่ยง ที่อาจจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก

มีอัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 10 คน

10.00 8.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลายในชุมชน

ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายจำนวนครัวเรือนได้รับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายครอบคลุมทุกครัวเรือน

5.00 5.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม

ครัวเรือนมีความรู้ในการควบคุม ป้องกันไข้เลือดออกที่ถูกวิธี

3500.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 8,500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ
1. ประสานงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทีม SRRT ระดับตำบล เทศบาล ผู้นำชุมชน อสม.และประชาชนในชุมชนเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
2. จัดหาทรายอะเบท น้ำยาสารเคมีกำจัดยุงลาย เครื่องพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่(ULV) กำลังคนและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน 3. ประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยใช้หอกระจายข่าว และเสียงตามสายในหมู่บ้าน 4. รณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย โดยพร้อมเพรียงกัน เดือนละ ๑ ครั้ง ทั่วพื้นที่ตำบลชะมวง 5. แต่งตั้งอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.)หมู่บ้านละ 3 คน เป็นคณะกรรมการสุ่มประเมินลูกน้ำยุงลาย โดยสุ่มประเมินไขว้สลับหมู่บ้าน เดือนละ 1 ครั้ง ค่าใช้จ่าย
1. จัดซื้อโลชั่นทากันยุงจำนวน 45 แพ็ค เป็นเงิน 13500 บาท
2. จัดซื้อหน้ากาก N95 จำนวน 10 กล่อง เป็นเงิน 10000 บาท
3. จัดซื้อวัสดุเชื้อเพลิงเป็นเงิน 10000 บาท
4. ค่าชุดป้องกันสารเคมี จำนวน 4 ชุดๆ ละ 1819 บาท เป็นเงิน 7276 บาท
5. ค่าตอบแทนอาสาสมัครทำหน้าที่พ่นละอองฝอย/หมอกควัน จำนวน 50 รายๆละ 3 ครั้งๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 30000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. ทำให้ประชาชนในชุมชน พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
  3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้น้อยลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70776.00

กิจกรรมที่ 2 ควบคุมโรคในโรงเรียน วัด และสถานที่ราชการ

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมโรคในโรงเรียน วัด และสถานที่ราชการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานงาน ร่วมกับหน่วยงานกับครู นักเรียน อสม. ผู้นำชุมชน พระภิกษุ และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงาน
  2. ประชาสัมพันธ์การรณรงค์พร้อมให้ความรู้แก่นักเรียน โดยใช้ระบบเสียงตามสายในโรงเรียน
  3. รณรงค์พ่นสารเคมีกำจัดตัวแก่ยุงลาย ในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด และสถานที่ราชการ
  4. อสม.นักเรียน พระภิกษุ และเจ้าหน้าที่พนักงานส่วนราชการ ในพื้นที่ตำบลชะมวง ร่วมรณรงค์สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในภาชนะที่มีน้ำขัง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ควบคุมโรคกรณีระบาด

ชื่อกิจกรรม
ควบคุมโรคกรณีระบาด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. รายงานกองทุนฯ เมื่อมีผู้ป่วยระบาดในเขตพื้นที่
  2. ประสานข้อมูลกับศูนย์ระบาดวิทยาระดับอำเภอ และการออกสวบสวนโรคเพื่อยืนยันข้อมูล และค้นหาแหล่งรังโรค
  3. ประสานทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว(SRRT)ระดับตำบลชะมวง
  4. พ่นละอองเคมี ตามมาตรการ๐,๓,๗, และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยคว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง, ใส่ทรายอะเบท
  5. อสม. สำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง เป็นเวลา ๑ เดือน
  6. รายงานการควบคุมโรค สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค
    ไม่ใช้งบประมาณ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 70,776.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
2. ทำให้ประชาชนในชุมชน พฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมการป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
3. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
4. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายให้น้อยลง


>