กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ NCD ควนโดนรักษ์สุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.ควนโดน ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

หมู่ที่ 2,3,4,6,7,8,9 และ ม.10 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สถานการณ์ปัจจุบัน กลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และอันดับหนึ่ง ในประเทศไทย ทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวมในประเทศไทย ภาระโรค เกิดจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อหลักสำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงปัจจัยทางสังคม เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง กลยุทธ์ทางการตลาด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสาร ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและทำให้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้มาตรฐาน หลักเกณฑ์และรูปแบบ การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ ที่ดำเนินงานอยู่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการปัญหาและลดผลกระทบที่เกิดจากโรคไม่ติดต่อได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายสำคัญให้มีการทบทวนและจัดทำแผนยุทธศาสตร์การป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่สอดคล้อง ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ ชาติระยะ 20 ปีด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน รวมทั้ง การปรับสมดุลและพัฒนา ระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี(ด้านสาธารณสุข) ว่าด้วยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน เพื่อเป็นทิศทางขับเคลื่อนสู่การลดปัญหาโรคไม่ติดต่อ โดยมีวิสัยทัศน์“ประชาชนสุขภาพดีปลอดจากภาระโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้”
ปัญหาหลักของการรักษาโรคเรื้อรังในประเทศไทย คือการที่ผู้ป่วยไม่ได้ตระหนัก ว่าเป็นโรค และการที่ยังไม่สามารถควบคุมโรคให้ลดลงมาตามเกณฑ์ปฏิบัติได้ อย่างไรก็ตาม พบว่าแนวโน้มของการไม่ตระหนักถึงการเป็นโรคของผู้ป่วยลดลง จากร้อยละ 72.4 ในปี พ.ศ. 2547 เหลือร้อยละ 44.7 ในปีพ.ศ. 2557 ในขณะที่สัดส่วนของผู้ที่ได้รับการรักษาและสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ ต่ำกว่า 140/90 มม.ปรอทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 8.6 ในปีพ.ศ. 2547 มาเป็น ร้อยละ 29.7 ในปีพ.ศ. 2557 สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือดที่สำคัญในประเทศไทย จากรายงานของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปี พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2558 พบว่าการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจของประชาชนไทยเพิ่มสูงขึ้น โดย ผู้ชายเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวสูงกว่าผู้หญิงเกือบเท่าตัวในเกือบทุกกลุ่มอายุ ยกเว้นในกลุ่มที่อายุ มากกว่า 70 ปี มีอัตราการเสียชีวิตที่ไม่ต่างกันระหว่างเพศชายและเพศหญิง ในปี พ.ศ. 2558 กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจทั้งประเทศรวม 18,922 คน (คิดเป็น 28.9 คนต่อประชากรหนึ่งแสนราย) และรายงานการเสียชีวิตจาก โรคหลอดเลือดสมองรวม 27,884 คน (คิดเป็น 42.6 คนต่อประชากรหนึ่งแสนราย) หากสามารถควบคุมโรคเรื้อรังในประเทศไทยให้ได้ผลดีขึ้น จะช่วยลดอัตราการ เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้อย่างแน่นอน
จากการดำเนินงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน มีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด 374 คน ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด 159 คน คิดเป็น 42.51% มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง จำนวน 11 คน คิดเป็น 0.75 % ลดลงจากปี 62 ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 30 คน ปี 63 จำนวน 27 ราย ลดลง คิดเป็น 10.00 % (ผ่านตัวชี้วัด) เป็นผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี คิดเป็น 18.98 % (ไม่ผ่านตัวชี้วัด) ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทั้งหมด 1,045 คน ขึ้นทะเบียนและมารับบริการทั้งหมด 394 คน คิดเป็น 37.70% มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 1 คน จากกลุ่มเสี่ยง จำนวน 22 คน คิดเป็น 4.55 % ลดลงจากปี 62 ซึ่งมีผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 78 คน ปี 63 จำนวน 64 ราย ลดลง คิดเป็น 17.95 % (ผ่านตัวชี้วัด) เป็นผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี คิดเป็น 33.88 % (ไม่ผ่านตัวชี้วัด) ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังทั้งหมด 417 คน ได้รับการคัดกรองโรคหลอดเลือดสมอง 393 คน คิดเป็น 94.24 % (ผ่านตัวชี้วัด 90%) และผู้ป่วยที่รับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน ได้รับการคัดกรอง ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด คิดเป็น ร้อยละ 100 % ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาต่อ ทางตา จำนวน 4 คน ทางไต จำนวน 3 คน ควบคุมระดับนำ้ตาลในเลือดได้ไม่ดี จำนวน 2 ราย ควบคุมระดับความดันโลหิตได้ไม่ดี จำนวน 1 คน จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ ส่งผลต่อสุขภาพของผู้ป่วยเอง ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ผู้ดูแลต้องดูแลอย่างใกล้ชิด อาจเกิดความพิการ และเสียชีวิตได้ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการ NCD ควนโดน รักษ์สุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.ควนโดน ปี 2564 ขึ้น เพื่อการดูแลสุขภาพกลุ่มดังกล่าวได้ครอบคลุม ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อประชาชนสุขภาพดี ปลอดจากภาระโรคไม่ติดต่อที่ป้องกันได้ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและหรือผู้ดูแล มีการพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สามารถปฏิบัติตัวถูกต้องตามหลัก 3อ.2ส. ร้อยละ 80
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ ร้อยละ 80
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รับประทานยาตามแพทย์สั่งและมาตรวจตามนัด ร้อยละ 80
80.00 0.00
2 2.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 90

90.00 0.00
3 3.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนแต่ละด้าน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น

ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนแต่ละด้าน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น ร้อยละ 90

90.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 156,106
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด และความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวนทั้งหมด 156 คน จัดแบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 78 คน

- กิจกรรมให้ความรู้ พัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
*ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อ ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 78 คน /รุ่น จำนวน 2 รุ่น คนละ 100 บาท เป็นเงิน 15,600 บาท
*ค่าวิทยากร 2 คน คนละ 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 2,400 บาท กิจกรรมที่ 1 รวมเป็นเงิน 18,000 บาท - กิจกรรมคัดกรองภาวะแทรกซ้อน ทาง ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง
* ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
2. กิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มที่ผลการตรวจเริ่มผิดปกติ รุ่นที่ 1 กลุ่มควบคุมเบาหวาน ความดันไม่ได้ และเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 53 คน รุ่นที่ 2 กลุ่มเสี่ยงโรคไตและไขมันในเลือดสูง 53 คน *ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ ค่าอาหารกลางวัน มื้อละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 53 คน /รุ่น จำนวน 2 รุ่น คิดเป็นคนละ 100 บาท เป็นเงิน 10,600 บาท
*ค่าวิทยากร 2 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 300 บาท จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 2,400 บาท กิจกรรมที่ 2 รวมเป็นเงิน 13,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต Output 1.จัดกิจกรรม พัฒนาศักยภาพการดูแลตนเองด้วยหลัก 3 อ. 2 ส. 2.จัดคู่หู บัดดี้ ดูแลสุขภาพ ระหว่าง อสม.และผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ 3.ตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด และหลอดเลือดสมอง ผลลัพธ์ Outcome 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและหรือผู้ดูแล มีการพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ร้อยละ 80 2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 90 3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนแต่ละด้าน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังและหรือผู้ดูแล มีการพัฒนาทักษะการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ร้อยละ 80
2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการคัดกรองภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า หัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 90
3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนแต่ละด้าน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้น ร้อยละ 90 และมีผลการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในด้านต่างๆดีขึ้น ในปีต่อไป


>