กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการคัดกรองสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบื้องต้นสำหรับโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงตำบลตาลีอายร์ ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาลีอายร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรองสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบื้องต้นสำหรับโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงตำบลตาลีอายร์ ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาลีอายร์

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตาลีอายร์

หมู่ที่ 1,2,3,4 ตำบลตาลีอายร์ อำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาลีอายร์ ดำเนินงานเน้นโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต. กับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมการของประชาชน
ในปีงบประมาณ 2562 และ 2563 ที่ผ่านมา ตำบลตาลีอายร์ มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 55 และ 17 รายผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง 223 และ 210 ราย ผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 13 และ 60 ราย รวมผู้ป่วยทั้งหมด291 และ 287 ราย(ทั้งนี้มีผู้ป่วยโรคความดันและเบาหวานเสียชีวิต 5 ราย และย้ายไปรับยานอกพื้นที่จังหวัดปัตตานี 2 รายและมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง 3 ราย) ซึ่งการคัดกรองโรค และการป้องกันโรคเป็นเป้าหมายสำคัญ คือ เป็นการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชน และลดปัญหาด้านสุขภาพ และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาในระยะยาว โดยใช้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค การเสริมสร้างความรู้ให้กับประชาชน ให้มีความตระหนักในการลดปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคในอนาคต ทั้งนี้การดำเนินโครงการจำเป็นต้องจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มเติมคือเครื่องวัดความดันและแถบตรวจน้ำตาลเนื่องจากแถบตรวจน้ำตาลเป็นการใช้แบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ส่วนเครื่องวัดความดันต้องการให้มีเครื่องวัดความดันใช้ปริมาณที่เพียงพอกับจำนวน อสม. (ปัจจุบัน อสม. 40 คน เครื่องวัดดันจำนวน 13 เครื่อง เฉลี่ย 3-4 ตนต่อ 1 เครื่อง) อีกทั้งยังมีเครื่องวัดความดันที่เสียไปด้วย โดยการใช้งานปกติอยู่ที่เครื่องละ 1-3 ปี จึงทำให้มีอุปกรณ์ที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งานครั้งนี้ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน (ผู้ที่มีอายุ35ปี ขึ้นไปในพื้นที่) ได้เข้าถึงการรับบริการคัดกรองจาก อสม.ในฐานะผู้ที่มีหน้าที่ในการช่วยดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รองจาก รพ.สต.ได้อย่างทั่วถึงและถูกต้อง ทางชมรมอสาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตาลีอายร์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการคัดกรองสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบื้องต้นสำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงตำบลตาลีอายร์ ซึ่งถือว่าผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดสองโรคนี้ในพื้นที่ตำบลตาลีอายร์ มีจำนวนมากขึ้นทุกวัน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองฯ ด้วยวาจา ด้วยแบบคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าข่ายความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่างทั่วถึง 3. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม เยี่ยมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องต่อไป 4. เพื่อให้ผู้ที่สงสัยหรือมีอาการจะป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันจาก รพ.สต.

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 804
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2020

กำหนดเสร็จ 28/02/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรอง จำนวน 502 แผ่น ๆละ 1 บาท เป็นเงิน 502 บาท 1.2 ค่าถ่ายเกสารแบบบันทึกผลการคัดกรอง จำนวน 200 แ่ผ่น ๆ ละ 1 บาท เป็นเงิน 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
702.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มให้แก่ผู้ที่เข้ารับการตรวจติดตาม(ต้องอดอาหารเพื่อเจาะหาระดับน้ำตาลในเลือด)จำนวน 804 ราย ๆละ 25 บาท เป็นเงิน  20,100  บาท 2.ค่าจัดซื้อแถบตรวจเบาหวาน (Dextro strip) 9 กล่อง  ๆ ละ 1,200 บาท เป็นเงิน  10,800  บาท 3.ค่าจัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตระบบดิจิตอลที่ต้นแขน จำนวน 4 เครื่องๆ ละ 2,250.- บาท เป็นเงิน 9,000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤศจิกายน 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,602.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรองฯ ด้วยวาจา ด้วยแบบคัดกรองความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน และคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อย่างครอบคลุมต่อเนื่องในพื้นที่
2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าข่ายความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงอย่างทั่วถึง
3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการติดตาม เยี่ยมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อไป
4. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้ที่สงสัย หรือมีอาการจะป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อเพื่อตรวจยืนยันจาก รพ.สต.


>