กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหญิงตั้งครรภ์รู้ทัน ป้องกันครรภ์เสี่ยง ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

รพ.สต.ควนโดน

ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีส่งผลให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงเมื่อแต่งงานมีครอบครัว ผลที่ตามมาคือการตั้งครรภ์จะโดยพึงประสงค์หรือไม่พึงประสงค์ก็ตามแต่สภาพสังคมปัจจุบัน ผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้นไม่ว่าจะทำงานในบ้านและทำงานนอกบ้านควบคู่กับการดูแลครอบครัวไปด้วย ทำให้ขาดการดูแลเอาใจใส่ตัวเอง บางครั้งลักษณะของงานที่ทำบางอย่างและการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ที่ไม่ถูกต้องจึงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ด้วย ดังนั้นหญิงมีครรภ์ควรรู้จักวิธีการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพ มารดาและทารกปลอดภัย มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง การส่งเสริมเรื่องต่างๆ ได้แก่ การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายการดูแลสุขภาพอนามัย การเลือกใช้ยา การประเมินภาวะเสี่ยงขณะตั้งครรภ์และการปฏิบัติตนต่าง ๆ รวมไปถึงการเตรียมตัวเป็นคุณแม่ในอนาคตการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีเครือข่ายที่เข้มแข็งได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทุกเพศ ทุกวัย และทุกกลุ่มอายุ และอยู่ใกล้ชิดกับชุมชนมากที่สุด
จากการปฏิบติงานในปีที่ผ่านมาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงด้วยโรคประจำตัวและภาวะเสี่ยงต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง(ครรภ์เป็นพิษ) โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไทรอยค์ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะซีด การคลอดก่อนกำหนด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงเหล่านี้ ควรได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง จากการรวบรวมข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงในเขตตำบลควนโดน ปี ๒๕๖๒ - ๒๕๖๓ พบว่า อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะครรภ์เป็นพิษ ร้อยละ ๑ (๑๐๐) และ ๕.๑๐ (๙๘) อัตราหญิงตั้งครรภ์มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ ๔และ ๑๕.๓๑และภาวะตกเลือดหลังคลอด ร้อยละ ๓และ ๔.๑และ ปี ๒๕๖๒ - ๒๕๖๓ พบว่ามีมารดาตายในเขตอำเภอควนโดน จำนวน ๒ ราย ด้วยโรคหัวใจ(ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานขณะตั้งครรภ์) และภาวะตกเลือดหลังคลอด จากข้อมูลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดนจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกัน ปัญหาการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงขึ้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ และสามี หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนการตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองในขณะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง โดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีโรคประจำตัวด้วยโรคต่างๆได้มีความรู้ในการดูแลตนเองและเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ถูกต้อง เพื่อให้เด็กที่อยู่ในครรภ์ได้รับการดูแลที่ถูกวิธีคลอดออกมามีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีและเป็นกำลังสำคัญของประเทในอนาคตบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง และสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้อง

ให้หญิงตั้งครรภ์มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง และสามารถดูแลตนเองได้ถูกต้องร้อยละ 80

80.00
2 2.เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเป็นอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์

หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะสี่ยงสูงได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

80.00
3 3.เพื่อส่งเสริมสุขภาพของหญิงขณะตั้งครรภ์จนกระทั่งหลังคลอด

หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอด ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 150
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญด้านอนามัยแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพ อสม.เชี่ยวชาญด้านอนามัยแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.คัดเลือก อสม.เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน
2.ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรมในโครงการ
3. จัดเตรียมเอกสารหลักสูตร แบบประเมินความรู้ก่อน - หลังการอบรม
4. จัดเตรียมสถานที่และประสานวิทยากร
5. จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพ อสม.เชียวชาญ แม่และเด็ก
6. สรุปและประเมินผลกิจกรรม
งบประมาณ -ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน จำนวน 25 คนๆ ละ 100บาทเป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3700.00

กิจกรรมที่ 2 รู้ทัน ภัยเสี่ยง เตรียมพร้อมตั้งครรภ์

ชื่อกิจกรรม
รู้ทัน ภัยเสี่ยง เตรียมพร้อมตั้งครรภ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
2.ประสานงานกับ อสม.ในการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย และจัดเตรียมเอกสารการอบรมให้ความรู้
3.ดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย คือ หญิงตั้งครรภ์หรือสามีหรือญาติหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 18 - 35 ปี และหญิงหลังคลอด ในหัวข้อดังนี้
บทบาทของพ่อแม่ และการใช้สมุดสีชมพู
การดูแลสุขภาพของแม่ขณะตั้งครรภ์
โภชนาการสำหรับหญิงตั้งครรภ์ อันตราย ของครรภ์เสี่ยง7 โรค อาการผิดปกติที่ต้องพบแพทย์ทันที
4.ประเมินภาวะเสี่ยงแก่กลุ่มเป้าหมาย ที่วางแผนการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งคัดกรองเบาหวาน
5.สรุปและประเมินผลกิจกรรม
งบประมาณ
-ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 100 บาท จำนวน 3 รุ่น เป็นเงิน15,000 บาท
-ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 จำนวน 3 รุ่น เป็นเงิน5,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20400.00

กิจกรรมที่ 3 คืนข้อมูลและประชุมเชิงปฏิบ้ติการ การป้องกันครรภ์เสี่่ยงในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลและประชุมเชิงปฏิบ้ติการ การป้องกันครรภ์เสี่่ยงในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำสรุป ข้อมูลการตั้งครรภ์และการคลอดประจำปี 2564
  2. วิเคราะห์ข้อมูล และวางแผนร่วมกับ อสม.ในชุมชน
  3. ร่วมวิเคราะห์ แก้ปัญหาเชิงลึก ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หญิงวัยเจริญพันธ์ เพื่อเตรียมพร้อมการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ 4.ดำเนินกิจกรรมคืนข้อมูล
    งบประมาณ
    -ค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน จำนวน 24 คน ๆละ 100 บาทเป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.หญิงตั้งครรภ์ คู่สมรสใหม่ และหญิงวันเจริญพันธุ์ที่คาดว่าจะมีบุตรคนต่อไปมีความรู้ ทักษะ และตระหนักถึงความสำคัญของการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ได้ถูกต้อง สามารถนำความไปเผยแพร่ในชุมชนได้
๒.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะผิดปกติต่างๆในขณะตั้งครรภ์อย่างครอบคลุมเพื่อค้นหาภาวะเสี่ยงต่างๆ ในระยะเริ่มแรกและได้รับการแก้ไข/ส่งต่ออย่างทันท่วงที
๓.หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างน้อย ๒ ครั้งในครรภ์ปกติและสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงจะได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางตลอดการตั้งครรภ์
๔. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงได้การเยี่ยมติดตามอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ตลอดจนแกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด


>