กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยของกลุ่มเกษตรกร หมู่ที่ 3 บ้านดาลอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยง

สุเหร่าบ้านดาลอตะวันตก หมู่ที่ 3 ต.มะนังยง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เกษตรกรมีความสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศ แต่เนื่องจากประชาชนที่อยู่ในภาคเกษตรเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุด เพราะจากปัจจัยเสี่ยงต่ออุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น เกษตรกรที่ทำนามีโอกาสเสี่ยงต่อการถูกหอยหรือของมีคมบาดทำให้เกิดบาดแผลและปัญหาการเจ็บป่วยจากการทำงาน ได้แก่ อาการปวดเมื่อกล้ามเนื้อเนื่องจากการยกของที่ไม่ถูกวิธี ทำให้ปวดไหล่และหลัง การเร่งรีบทำงานมีผลทำให้เคร่งเครียดทางจิตใจ ออกแรงมากเกินกำลังเป็นประจำ การทำงานด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม การเคลื่อนไหวของร่างกายในลักษณะซ้ำซาก
พื้นที่หมู่ 3 บ้านดาลอ มีประชากรที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมดในพื้นที่หมู่ 3 อีกทั้งเกษตรอำเภอยะหริ่งได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ เพื่อเป็นการสรา้งรายได้และปรับปรุงคุณภาพชีวิตครอบครัวเกษตรกร อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านดาลอ จึงเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัวเกษตรกรจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยจากการทำงานของแรงงานภาคเกษตร จะได้มีการอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีวอนามัยแก่เกษตรกรเพื่อให้รู้จักป้องกันอันตรายอันเกิดจากการทำงานในภาคเกษตร ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีการทำงานที่ดี มีประสิทธิภาพตลอดจนมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยที่ดี

ร้อยละของเกษตรกรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและรู้วิธีการดูแลสุขภาพในการประกอบอาชีพ

0.00 0.00
2 เพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้ในแนวทางป้องกันอันตรายเนื่องจากการทำงานภาคเกษตร

ร้อยละของเกษตรกรได้มีความรู้ในแนวทางป้องกันอันตรายเนื่องจากการทำงานภาคเกษตร

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 55
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 เชิญประชุมคณะทำงานอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 3 บ้านดาลอ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม 1.2 เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขอรับการการอนุมัติงบประมาณ 1.3 ประชาสัมพันธ์การรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีกลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 55 คน 1.4 จัดโครงการตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ 1.5 สรุปผลโครงการ 1.6 รายงานผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรม/บรรยายให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรม/บรรยายให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ - การดูแลและควบคุมสภาพแวดล้อมการทำงาน - โรคที่เกิดจากการทำงาน - ป้องกันการเกิดโรคที่อาจเกิดจากการทำงาน
- การป้องกันอันตรายจากพิษภัยสารกำจัดศัตรูพืช 2.2 รายละเอียดค่าใช้จ่ายมีดังนี้ - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ จำนวน 55 คน ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,750 บาท
- ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อ จำนวน 55 คน ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 3,850 บาท - ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.20 x 3.00 เมตรจำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 900 บาท - ค่าวิทยากรบรรยายให้ความรู้ จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท - ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม จำนวน 55 ชุด ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 1,650 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกษตรกรมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและรู้วิธีการดูแลสุขภาพในการประกอบอาชีพ
2. เกษตรกรได้มีความรู้ในแนวทางป้องกันอันตรายเนื่องจากการทำงานภาคเกษตร


>