กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพ ร่วมมือ ร่วมใจ ลด ละ เลิก ยาสูบ บุหรี่ สุรา และสารเสพติด เพื่อชุมชนสุขภาพดี มีสุข ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพ ร่วมมือ ร่วมใจ ลด ละ เลิก ยาสูบ บุหรี่ สุรา และสารเสพติด เพื่อชุมชนสุขภาพดี มีสุข ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน

ม.2,3,4,6,7,8,9 และหมู่ที่ 10 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุรา , แผนงานยาสูบ , แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

บุหรี่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญทางประชากรโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่าประชากรโลกเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ปีละ 4 ล้านคน บุหรี่เป็นสาเหตุการตายของโรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง และเส้นโลหิตในสมองแตกหรือตีบ ในประเทศไทยบุหรี่เป็นสาเหตุการตายของคนไทยปีละ 42,000 คน เฉลี่ยวันละ 115 คน (มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ,2544) บุหรี่นอกจากจะทำลายสุขภาพแล้ว ยังทำให้ประชาชนสูญเสียรายได้ แม้มีการรณรงค์เรื่องการเลิกสูบบุหรี่ที่ทำให้คนไทยตื่นตัว เห็นถึงอันตรายของการสูบบุหรี่กับสุขภาพ แต่ก็พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่มีมากขึ้น จากการสำรวจปี 2542 พบว่ามีผู้สูบบุหรี่ 10.2 ล้านคน หรือร้อยละ 20 (มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ,2544) และพบว่ามีผู้สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นมาเป็น 11.3 ล้านคน หรือร้อยละ 23 ของประชากรไทย (สำนักงานสถิติแห่งชาติ ,2547) ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวาง และเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมากจากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2557 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน 11.4 ล้านคนอัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25 - 59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6และกลุ่มอายุ 15 - 24 ปีร้อยละ 14.7 ตามลำดับ เป็นผู้ชายร้อยละ 40.5 และผู้หญิงร้อยละ 2.2 โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวนเอง 4.2 ล้านคน และทั้งบุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวนเอง 1.9 ล้านคนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2 - 3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า การรณรงค์เพื่อป้องกันและลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ รวมทั้งการช่วยเหลือสนับสนุนให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ จึงเป็นเป้าหมายหลัก ที่จะช่วยลดอัตราความเจ็บป่วย และการตายจากโรคที่มีสาเหตุจากการสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่เป็นสิ่งที่บุคคลต้องใช้ความพยายาม และความตั้งใจ ต้องอาศัยการสนับสนุนจากบุคลากรสุขภาพเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนโดน จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคจากบุหรี่ จึงผลักดันให้เกิดความร่วมมือ ทีมหมอครอบครัวระดับตำบลและชุมชน ภายในตำบลควนโดน อำเภอควนโดน ภายใต้แผนงานป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป้าหมาย คือ การลดปัจจัยเสี่ยงและลดโรควิถีชีวิตในประชาชน กลวิธีสำคัญคือ กลุ่มเสี่ยง จะเน้นให้คำปรึกษา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเรื่องการสูบบุหรี่เพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อ ป้องกันไม่ให้ป่วย และติดตามเป็นระยะๆ การส่งเสริมศักยภาพชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถจัดการปัญหาสุขภาพของตนเองได้ และเชื่อว่าจะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดนักสูบรายใหม่ สร้างสังคมปลอดควัน ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนไปจนถึง ลดการเสียชีวิต และการสูญเสียทางเศรษฐกิจลงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. พัฒนาการมีส่วนร่วมและศักยภาพของท้องถิ่นในการพัฒนากระบวนการควบคุมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราในชุมชน

1.1 เกิดคณะกรรมการดำเนินโครงการที่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของชุมชน จำนวน..40..คน 1.2 คณะกรรมการมีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน
1.3 เกิดแผนปฏิบัติและการดำเนินงานควบคุมยาสูบตามแผนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน 1.4 คณะกรรมการมีส่วนร่วมในการติดตามกำกับและสรุปบทเรียนการดำเนินงาน

80.00 80.00
2 2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ในชุมชน

2.1 สถานที่ที่เป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่มีการติดป้ายสัญลักษณ์ ร้อยละ 90 2.2 มีกลไก/อาสาสมัครในการติดตาม ตรวจตราการจัดสถานที่ปลอดบุหรี่ 2.3 ร้านค้า ร้อยละ100 ได้รับความรู้และมีความเข้าใจในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย

90.00 90.00
3 3.ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน และได้บุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ ของแต่ละหมู่บ้าน

3.1 ผู้สูบบุหรี่ได้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโทษ พิษภัยของการสูบบุหรี่ อย่างน้อยร้อยละ 50 3.2 ผู้สูบบุหรี่สนใจเข้าร่วมโครงการ และอยากลด ละ เลิกสูบบุหรี่ใน 6 เดือนอย่างน้อยร้อยละ 50
3.3 ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ 3.3.1 มีผู้เลิกสูบบุหรี่ (6 เดือนขึ้นไป) จำนวน 8 คน 3.3.2 มีผู้ลด/ละการสูบบุหรี่ จำนวน 40 คน 3.3.3 เกิดบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่อย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 คน

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 15/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. พัฒนาการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการพัฒนากระบวนการควบคุมการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนโดยชุมชน

ชื่อกิจกรรม
1. พัฒนาการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการพัฒนากระบวนการควบคุมการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนโดยชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดตั้งคณะทำงานควบคุมยาสูบของชุมชนร่วมขับเคลื่อนโครงการ ตั้งแต่การศึกษาข้อมูล การจัดทำแผน และบริหารจัดการโครงการ
  2. อบรมให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยจากบุหรี่แก่คณะทำงาน รวมทั้งประเมินค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในปอด โดยใช้เครื่องเป่าลม เพื่อทราบระดับของแต่ละท่าน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานแก้ไข
  3. นัดติดตามผล รวมทั้งประเมินค่าคาร์บอนไดออกไซด์ในปอด โดยใช้เครื่องเป่าลม เพื่อทราบระดับของแต่ละท่านที่เข้าร่วมโครงการ 2 ครั้ง ระยะเวลา 2 เดือน และ 1 เดือน หลังจากอบรม

- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 2,000 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน คนละ 2 ชั่วโมง ๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
รวมเป็นเงิน5,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดคณะกรรมการดำเนินโครงการที่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของชุมชน จำนวน....40.....คน
  2. คณะกรรมการมีความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน
  3. เกิดแนวทางการปฏิบัติและการดำเนินงานควบคุมยาสูบ ตามแผนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5200.00

กิจกรรมที่ 2 2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่/การจัดสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
2. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่/การจัดสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรม อสม.แกนนำ ร่วมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ร้านค้าให้ปฏิบัติตามกฎหมาย
2.จัดกิจกรรมในหมู่บ้าน/ชุมชนปลอดบุหรี่ เช่น
- จัดสถานที่สาธารณะปลอดบุหรี่ และมี อสม.แกนนำ ติดตามผลการดำเนินงาน ทุก 2 เดือน
งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 19 คนๆละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 950 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 19 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน950 บาท รวมเป็นเงิน 1900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สถานที่ที่เป็นพื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามสูบมีการติดป้ายสัญลักษณ์ห้ามสูบ ร้อยละ 100 2.มีกลไก/อาสาสมัครในการติดตาม ตรวจตราการจัดสถานที่ปลอดบุหรี่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1900.00

กิจกรรมที่ 3 3.ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน และได้บุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่

ชื่อกิจกรรม
3.ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในชุมชน และได้บุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมผู้สูบบุหรี่เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการและให้ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของบุหรี่ พร้อมตรวจคัดกรองระดับค่าบอนไดออกไซด์ในปอดฯ สำรวจ และรับสมัครผู้สนใจเลิกบุหรี่ 2.สนับสนุนกระบวนการช่วยเลิกบุหรี่ ให้ความช่วยเหลือและจัดบริการเลิกบุหรี่ในสถานบริการสุขภาพชุมชนให้ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่โดยใช้ชุมชนเป็นฐานโดยมีสถานบริการสาธารณสุขให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ และการเข้าถึงบริการช่วยเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์ 1600 งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คนๆ ละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท รวมเป็นเงิน 5,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูบบุหรี่สนใจเข้าร่วมโครงการ และอยากลด ละ เลิกสูบบุหรี่ใน 6 เดือนอย่างน้อยร้อยละ 50
3. ลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ 3.1 มีผู้เลิกสูบบุหรี่ (6 เดือนขึ้นไป) จำนวน..8..คน 3.2 มีผู้ลด/ละการสูบบุหรี่ จำนวน 40...คน 3.3 เกิดบุคคลต้นแบบเลิกบุหรี่อย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีการพัฒนา การมีส่วนร่วมและศักยภาพของท้องถิ่นในการพัฒนากระบวนการควบคุมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราในชุมชน
2.มีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการสูบบุหรี่ในชุมชน
3.มีการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน และได้บุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่ ของแต่ละหมู่บ้าน


>