กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำภูรา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ประจำปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำภูรา

โรงเรียนวัดสิทธิโชค ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

โรงเรียนวัดสิทธิโชค ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทุกคนและต้องบริโภคกันอยู่ทุกวัน เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่เราบริโภคอยู่ทุกวันนี้มีความสะอาดปลอดภัย หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่คนส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า
ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่น บอแรกซ์ โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
ดังนั้น หากผู้บริโภคขาดความรู้ ความเข้าใจ อย่างเพียงพอในเรื่องความปลอดภัยของอาหาร ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถเลือกซื้อ หรือเก็บรักษาอาหารได้ถูกต้อง และไม่สามารถดูแลปกป้องตนเองจากพิษภัยของอาหารที่ไม่ปลอดภัยได้ และเนื่องจากเราทุกคนต้องกินอาหารทุกวันตั้งแต่เกิดจนตาย ดังนั้น การให้ความรู้เบื้องต้นเรื่องความปลอดภัยของอาหาร จึงควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ ที่สุด คือในวัยเด็กที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วเพื่อที่จะปลูกฝังให้เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ตลอดไป ไม่ว่าเด็กจะเติบโตขึ้นเป็นเพียงผู้บริโภค หรือเป็นผู้ประกอบการผลิตอาหารเองด้วยในอนาคตก็ตาม การตระหนักในความสำคัญของความปลอดภัยของอาหาร ความสะอาด รู้จักดูแล หยิบจับเก็บรักษาอาหารอย่างถูกต้อง การรู้จักปกป้องตนเอง รู้จักการเลือก สังเกต หรือทดสอบและรู้จักปฏิเสธอาหารที่ไม่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้และฝึกฝนตั้งแต่เด็กเพื่อให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ตลอดไปอย่างยั่งยืน
โรงเรียนวัดสิทธิโชคได้เล็งเห็นความสำคัญของเด็กในวัยเรียน ซึ่งมีความกระตือรือร้น และมีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี จึงได้จัดตั้งให้มีกลุ่ม อย.น้อยในโรงเรียนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียน อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สามารถเผยแพร่ความรู้ไปยังเพื่อนนักเรียนได้

นักเรียน อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ มีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ  และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย  สามารถเผยแพร่ความรู้ไปยังเพื่อนนักเรียนได้ ร้อยละร้อย

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ไปพัฒนาหรือแก้ไขพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนได้

นักเรียนนำกิจกรรม  อย.น้อย  ใส่ใจสุขภาพ ไปพัฒนาหรือแก้ไขพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนได้ร้อยละร้อย

0.00
3 เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วม ในกิจกรรม

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วม ในกิจกรรมร้อยละร้อย

0.00
4 เพื่อสร้างแกนนำในโรงเรียน

โรงเรียนมีแกนนำอย.น้อย  ใส่ใจสุขภาพ นำร้อยละร้อย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม อย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอย.น้อยใส่ใจสุขภาพเป็นเงิน 7,845 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าเอกสารให้ความรู้ เล่มละ 20 บาท จำนวน 21 เล่ม เป็นเงิน 420 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม คนละ 25 บาท จำนวน 21 ชุด เป็นเงิน 525 บาท - ชุดทดสอบเชื้อราในอาหารราคาชุดละ 260 บาท จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 1,040 บาท - ชุดทดสอบสารบอแรกซ์ ราคาชุดละ 280 บาท จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 1,120 บาท - ชุดทดสอบเกลือไอโอดีน ราคาชุดละ 180 บาท จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 720 บาท - ชุดทดสอบสารฟอกขาว ราคาชุดละ 280 บาท จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 1,120 บาท - ชุดหน้ากากอนามัย ราคาชุดละ 200 บาท จำนวน 4 ชุด เป็นเงิน 800 บาท - ค่าไวนิล ขนาด240*240 ซม. เป็นเงิน 900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7845.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,845.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนโรงเรียนวัดสิทธิโชคมีความรู้ในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยสามารถเผยแพร่ความรู้ไปยังเพื่อนนักเรียนได้
2. นักเรียนนำกิจกรรมอย.น้อยใส่ใจสุขภาพ ไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนได้
3. นักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรมอย.น้อย ใส่ใจสุขภาพ ในโรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมใน กิจกรรม
4. มีนักเรียนแกนนำกิจกรรม อย.น้อยใส่ใจสุขภาพ ในโรงเรียน


>