กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสตรีใส่ใจ ป้องกันภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะนังยง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง

ม.1 , 3 , 4 และ 5 ตำบลมะนังยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในหญิงไทย พบมีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 8,200 ราย พบมากที่สุดระหว่างอายุ 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม อัตราการอยู่รอด 5 ปี ประมาณร้อยละ 60 จึงมีผู้ป่วยสะสมจำนวนมาก คาดประมาณว่าจะมีผู้ป่วยพบรายใหม่และผู้ป่วยเก่าที่ต้องติดตามทำการดูแลรักษาอยู่ไม่น้อยกว่า 6,000 คนทั่วประเทศการทำการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกอย่างต่อเนื่องจะสามารถควบคุมการดำเนินของโรคได้ ซึ่งการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองจะสามารถค้นหาความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว ส่วนการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยการทำ Pap Smearมีผลการศึกษาวิจัยทั่วโลกว่าสามารถลดอุบัติการณ์ และอัตราตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าร้อยละ 80 ถ้าทำได้อย่างมีคุณภาพและมีความครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายทั้งหมดได้สูงจากผลการศึกษาในหลายประเทศแสดงให้เห็นว่าการตรวจคัดกรองด้วยการทำ Pap Smear ให้ครอบคลุมกลุ่มสตรีเป้าหมายทั้งหมด มีความสำคัญต่อการลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกมากกว่าความถี่ที่ได้รับการตรวจแต่ไม่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด ในอำเภอยะหริ่ง สถานการณ์ การคัดกรอง...........ตรวจพบคนที่ผิดปกติ..........ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมต้องมีการค้นหา โดย การตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่ อยู่ในระยะเริ่มแรกและในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม .................. มีความตระหนักและเห็นถึงปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มการเข้าถึงบริการคัดกรองมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกขึ้นเพื่อลดอัตราการเกิดโรคโดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60 ปีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม 2. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก 3. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง
  1. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 100 มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
  2. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 40 ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
  3. สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ร้อยละ 100 สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง
0.00 0.00

1. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
2. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก
3. เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ/กิจกรรม แก่ทีม PAP โซน และผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ จำนวน 60 คน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ/กิจกรรม แก่ทีม PAP โซน และผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ จำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมชี้แจงโครงการ/กิจกรรม แก่ทีม PAP โซน และผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการประชุมชี้แจงโครงการฯ จำนวน 60 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่สตรี อายุ ระหว่าง 30-60 ปี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่สตรี อายุ ระหว่าง 30-60 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ให้กับสตรีที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี จำนวน 100 คนโดยมีเนื้อหาดังนี้ - ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
- การตรวจ ค้นหา โรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
-แนวทางการป้องกัน ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง
- ฝึกทักษะการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง มีค่าใช้จ่ายดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 35 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าวัสดุทางการแพทย์ในการจตรวจ เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าผ้าถุง จำนวน 100 คน คนละ 1 ผืน ผืนละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 27,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สตรีอายุ 30 - 60 ปี ได้รับการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม จำนวน 100 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปีมีความรู้เรื่องมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก และมีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และได้รับการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น


>