กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

วัคซีนครบ เด็กสุขภาพดี ชุมชนดาริงและกือแด ปี 64

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

ชมรม อสม.ชุมชนดาริงและกือแด ม.4 ตุยง

1.นางสาวปาตีเมาะดือเระ
2.นางสาวรอหานีดอเลาะ
3.นางสาวฟาดีละ อาแวแบรอ
4.นางหามีดะห์ปะกียา
5.นายเจ๊ะอับดุลวาหับเจริญยืน

หมู่่ที่ 4 บ้านดาริง และบ้านกือแด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์(คน)

 

145.00

จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี พบว่า ผลการดำเนินงานในภาพรวมของชุมชนดาริงใต้และกือแด ม.4 ตำบลตุยง ปีงบประมาณ 2563 ผลของความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กอายุครบ 1ปี ได้แก่ วัคซีน BCG ร้อยละ 96.97 , HBV1 ร้อยละ 100 , DTB-HB3OPV3 ร้อยละ 69.70 และ MMR1 ร้อยละ 63.64 , IPV1 ร้อยละ 84.85 , เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีน DTP4 , OPV4 ร้อยละ 53.33 และ JE1 53.33 , เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีน JE2 ร้อยละ 47.06 , MMR2 ร้อยละ 50และเด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีน DTP5 , OPV5 ร้อยละ 34.25 ตามลำดับ (ข้อมูลจาก HDC จากจังหวัดเดือนพฤศจิกายน 2563) จากรายงานดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ในแต่ละช่วงอายุหรือบางรายไม่ได้รับวัคซีนทำให้มีโอกาสเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนขึ้น ได้แก่ โรคคอตีบ โรคหัด และโรคไอกรน เป็นต้น
จากการวิเคราะห์และสอบถามข้อมูลจากผู้ปกครอง พบว่า สาเหตุการได้รับวัคซีนในเด็กไม่ครบตามเกณฑ์หรือไม่ได้รับ เนื่องจาก กลัวบุตรจะมีไข้ทำให้ผู้ปกครองต้องหยุดงานและขาดรายได้ , ผู้ปกครองต้องไปประกอบอาชีพชายแดนมาเลเซียหรือต่างจังหวัด ทำให้ขาดนัดการได้รับวัคซีน รวมทั้งเด็กอาศัยอยู่กับญาติผู้ใหญ่ ซึ่งมีความเชื่อและทัศนคติที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการได้รับวัคซีนทำให้ไม่พาบุตรหลานมาฉีด
จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบในระยะยาวต่อกลุ่มเป้าหมายเด็กในชุมชนดาริงและกือแด ดังนั้นทางชมรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพของเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี และลดอัตราป่วยการเกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เพื่อพัฒนางานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคโดยการติดตามเด็กที่ฉีดวัคซีนไม่ครบหรือไม่ได้รับ รวมทั้งสำรวจเด็กที่เกิดใหม่หรือย้ายเข้า และย้ายออกเพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อความสะดวกในการติดตามและให้ได้วัคซีนครบตามเกณฑ์ และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี จึงได้จัดทำโครงการเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง นี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ในชุมชนดาริงและกือแด ม.4 ตำบลตุยง ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์มาตรฐาน

อัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปีครบตามเกณฑ์มาตรฐาน เป้าหมายไม่ต่ำกว่า 90%

60.00 90.00
2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคจากการไม่ได้รับวัคซีน

ลดอัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรคคอตีบ เป้าหมาย ไม่เกิน 0.015 ต่อประชากรแสนคน
และโรคหัดในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ เป้าหมาย ไม่เกิน 3 ต่อประชากรล้านคน

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 145
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 20/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพผู้ปกครองและผู้ดูแล

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพผู้ปกครองและผู้ดูแล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมพร้อมจัดทำเวทีประชาคมในชุมชน โดยเชิญผุ้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก - ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่มจำนวน 80 คน x 60 บาทเป็นเงิน 4,800 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 4 ชม. x 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท รวมเป็นเงิน12,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองและผู้ดูแลได้รับความรู้ และทัศนคติที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12800.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาระบบการติดตามและการส่งต่อ เด็กที่ขาดนัด

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาระบบการติดตามและการส่งต่อ เด็กที่ขาดนัด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมผู้ปกครองเด็กในกลุ่มที่ขาดนัดการฉีดวัคซีนหรือไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนและให้บริการวัคซีนแก่เด็กในชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 25 บาท x 88 คนเป็นเงิน2,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายให้ความร่วมมือในการส่งเสริมการฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

กิจกรรมที่ 3 บริการเชิงรุกในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
บริการเชิงรุกในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

บริการรุกในพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม.ในพื้นที่

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 15 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับบริการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปโครงการ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปโครงการ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานเพื่อส่งคณะกรรมการกองทุนฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กันยายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรายงานสรุปส่ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1. ประชุมชี้แจงและให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง หญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้นำต่างๆ
2. พัฒนาองค์ความรู้
3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขคืนข้อมูลเพื่อการติดตามเด็ก 0-5 ปีให้ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และตรวจพัฒนาการตามวัย
4. อสม.ติดตามเด็ก 0-5 ปีให้ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์และตรวจพัฒนาการตามวัย
5. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีในชุมชน ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และไม่เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน
2. คนในชุมชนเกิดความตระหนักโดยการพาบุตรมาฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นและมีระบบติดตามเด็ก
3. เกิดระบบการทำงานเป็นเครือข่ายในการดูแลระบบสุขภาพของชุมชนที่เข้มแข็ง


>