กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพในช่องปากของนักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120

1. นางจินตนาฉิมมุสิก
2. นางประภากรมะเย็ง
3. นางสาวรัตนาภรณ์ตันก่วนก้อง

โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

สุขภาพชองปากมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประชาชนในทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะในเด็กกลุ่มวัยเรียนมักพบปัญหาทางด้านทันตสุขภาพเสมอ และปัญหาที่พบมากคือ โรคฟันผุ ซึ่งสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก ทั้งนี้อัตราการเกิดฟันผุ สาเหตุหลักที่ ทำให้เด็กมีฟันผุ มาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องในวัยเด็ก รวมถึงการดูแลทำความสะอาด ช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนจึงก่อให้เกิดโรคฟันผุอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็กได้
จากปัญหาข้างต้นที่กล่าวมาทางโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120 จึงเห็นควรจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพในช่องปากของนักเรียนโรงเรียนผัง 120เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120 แปรงฟันได้อย่างถูกวิธี

ร้อยละของนักเรียน  โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120  ที่แปรงฟันได้สะอาดและถูกวิธี

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กอนุบาลโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120 มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในปกครอง

ร้อยละของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120 สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในปกครองได้

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 192
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก และฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก และฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก และฝึกปฏิบัติการแปรงฟันที่ถูกวิธี
2.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 จำนวน 3 ชั่วโมง และฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน (เป้าหมาย 104 คน)
2.2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองรักเรียนอนุบาลและนักเรียนชั้นอนุบาล จำนวน 3 ชั่วโมงและฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน (เป้าหมาย เด็กอนุบาล 44 คน ผู้ปกครอง 44 คน)

  • ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงชั่วโมงละ600 บาท จำนวน 2 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 192 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลชื่อโครงการ ขนาด 100 X 120ซม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 180 บาท (ตารางเมตรละ 150 บาท)
  • ค่าป้ายโฟมบอร์ดให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในช่องปาก ขนาด 100 X 120 ซม. จำนวน 4 ป้าย 3,120 บาท (ตารางเมตรละ 650 บาท)
  • แบบบันทึกสุขภาพปาก เล่มละ 25 บาทจำนวน 148 เล่ม เป็นเงิน3,700 บาท

  • ค่าอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน( แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำพลาสติกผ้าเช็ดหน้า) จำนวน 148 ชุด ชุดละ 70 บาทเป็นเงิน 10,360 บาท

  • ค่าเม็ดสีทดสอบความสะอาดของการแปรงฟัน จำนวน 12 ขวด ขวดละ 50 บาท เป็นเงิน 600 บาท

  • หลอดกาแฟ 5 ถุง ถุงละ 10 บาท เป็นเงิน 50 บาท

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ค่าเอกสาร ประเมินความรู้ แบบความพึงพอใจ

  • ค่ากระดาษบรูฟ กระดาษกาว เป็นต้น เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26910.00

กิจกรรมที่ 2 จัดกิจกรรมส่งเสริมดูแลรักษาสุขภาพฟัน โดยให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และตรวจฟันทุกวันโดยครูประจำชั้น

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมส่งเสริมดูแลรักษาสุขภาพฟัน โดยให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และตรวจฟันทุกวันโดยครูประจำชั้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมส่งเสริมดูแลรักษาสุขภาพฟัน โดยให้นักเรียนแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน และตรวจฟันทุกวันโดยครูประจำชั้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและประเมินผลกิจกรรม โดยการทดสอบการแปรงฟันของเด็กนักเรียนเมื่อครบเวลา 1 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลกิจกรรม โดยการทดสอบการแปรงฟันของเด็กนักเรียนเมื่อครบเวลา 1 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามและประเมินผลกิจกรรม โดยการทดสอบการแปรงฟันของเด็กนักเรียนเมื่อครบเวลา 1 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดทำ /เข้าเล่มรายงาน จำนวน 2 เล่ม x 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 27,410.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120 ร้อยละ 85 สามารถแปรงฟันและดูแลรักษาสุขภาพในช่องปากอย่างถูกวิธี
2. ผู้ปกครองเด็กอนุบาลโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120 ร้อยละ 85มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กในปกครอง


>