กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการนักเรียนโรงเรียนผัง 120 ปลอดเหา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ

โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120

โรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ที่มีความทันสมัย สะดวกสบาย และเข้าถึงได้ง่าย เป็นสาเหตุให้เทคโนโลยีเข้ามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างมาก ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป เยาวชนมีการออกกำลังกายน้อยลง ทำให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่ายขึ้นและเพิ่มจำนวนอย่างต่อเนื่องจากการตรวจสุภาพนักเรียนในแต่ละเดือนจะพบว่าเด็กนักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120 จำนวนมากจะเป็นโรคเหาซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพและการเรียนรู้ของนักเรียนทำให้นักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางโรงเรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการกำจัดเหาให้หมดไป จึงเสนอโครงการนักเรียนโรงเรียนผัง 120 ปลอดเหา ขึ้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับนักเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนการเกิดโรคเหาให้กับนักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120

ร้อยละ 85 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายหายจากโรคเหา

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมวางแผนการดำเนินงานและสำรวจ ค้นหาจำนวนนักเรียนที่เป็นเหา

ชื่อกิจกรรม
ประชุมวางแผนการดำเนินงานและสำรวจ ค้นหาจำนวนนักเรียนที่เป็นเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมวางแผนการดำเนินงานและสำรวจ ค้นหาจำนวนนักเรียนที่เป็นเหา

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เชิญวิทยากรให้ความรู้เรื่อง โรคเหา

ชื่อกิจกรรม
เชิญวิทยากรให้ความรู้เรื่อง โรคเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เชิญวิทยากรให้ความรู้เรื่อง โรคเหา
  • ความหมายของเหา การขยายพันธุ์การเจริญเติบโต
  • อาการของโรคเหา
  • สาเหตุของโรคเหา

  • การวินิจฉัยโรคเหา

  • การรักษาโรคเหา
  • ภาวะแทรกซ้อนของเหา
  • การป้องกันเหา
  • การสาธิตวิธีการกำจัดเหา

  • ค่าวิทยากรจำนวน 2 ชั่วโมงชั่วโมงละ600 บาทเป็นเงิน1,200 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลชื่อโครงการ ขนาด 100 X 120ซม. จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 180 บาท(ตารางเมตรละ 150 บาท)
  • ค่าป้ายโฟมบอร์ดให้ความรู้เรื่องโรคเหา ขนาด 100 X 120 ซม. จำนวน 2 ป้าย เป็นเงิน 1,560 บาท (ตารางเมตรละ 650 บาท)

รวมเป็นเงิน 2,940 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2940.00

กิจกรรมที่ 3 ปฏิบัติการฆ่าเหา

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการฆ่าเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดกิจกรรมหมักเหาให้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในวันอังคารและวันศุกร์ เวลา 14.30 – 16.30 น. เป็นเวลา 8 สัปดาห์

  • ให้นักเรียนใช้หวีสางเหาในโรงเรียนทุกวันโดยให้บันทึกการหวี โดยการจดบันทึกแบบเพื่อช่วยเพื่อนในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2- 6 ส่วนนักเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษาปีที่ 1 ให้ครูเป็นผู้สังเกตและทำการจดบันทึกรวมถึงการดูแลในเรื่องการหวีเหาของเด็กด้วย

  • ค่าผ้าขนหนูคลุมผม(ขนาด 65*30 ซม.) ผืนละ 50 บาท จำนวน  35 ผืน รวมเป็นเงิน 1,750 บาท

  • ค่าหมวกคลุมผม  ลูกละ  49 บาท  จำนวน  35 ลูก  เป็นเงิน  1,715 บาท
  • ค่ายาสระผมฆ่าเหา (สคัลลี่ ขนาด 20 ml) ซองละ 15 บาท จำนวน 560 ซอง เป็นเงิน 8,400  บาท
    (ใช้ครั้งละ 1 ซอง ต่อ 1 คน เป็นเวลา  8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง)

  • ค่าหวีสางเหา อันละ 70 บาท จำนวน 35 อัน เป็นเงิน 2,450 บาท

  • ค่าวัสดุอื่น ๆ เช่น   ถุงมือยาง ขันน้ำพลาสติก พลาสติกคลุมกันน้ำ เป็นต้น เป็นเงิน 1,500 บาท

รวมเป็นเงิน  15,815 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15815.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 เยี่ยมบ้านหลังประเมิน ผลครั้งที่ 1 เมื่อทำไปครบ 4 สัปดาห์ (ติดตามผลและให้ความรู้ผู้ปกครอง)
4.2 เยี่ยมบ้านครั้งที่ 2 หลังเสร็จสิ้นโครงการ (ติดตามผล )

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

5.1 ประเมิน ผลครั้งที่ 1 เมื่อทำไปครบ 4 สัปดาห์
5.2  ประเมินผลครั้งที่ 2 เมื่อครบ 8 สัปดาห์  โดยการใช้แบบสำรวจ

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น แบบสำรวจ แบบบันทึก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเข้าเล่ม และอื่น ๆ เป็นต้น รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

รวมเป็นเงิน  1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,755.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120 กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 85 หายจากโรคเหา
2. นักเรียนโรงเรียนนิคมพัฒนาผัง 120 กลุ่มเป้าหมาย มีสมาธิในการเรียนสูงขึ้น


>