กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มเกษตรกร ปีี 64

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ตุยง

ตำบลตุยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบของประเทศไทย พ.ศ.2555 – 2559 ที่มีพันธกิจ เพื่อผลักดันให้เกิดการขยายความคุ้มครองสู่แรงงานนอกระบบครอบคุลมทุกกลุ่มอาชีพอย่างเท่าเทียมกัน ปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง พัฒนาสมรรถภาพและขยายโอกาสการมีงานทำเสริมสร้างแนวทางการเข้าถึงแหล่งงานและความยั่งยืนของอาชีพให้กับแรงงานนอกระบบ ส่งเสริมการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่าย พัฒนาส่งเสริม สนับสนุน สุขภาพความปลอดภัยในที่ทำงาน นอกจากนี้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ดำเนินการเกี่ยวกับการสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการพยาบาลอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลดังกล่าวล้วนเป็นภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพขั้นพื้นฐาน หรือการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน เพื่อการป้องกันโรคติดต่อและส่งเสริมการอนามัยสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ขอบเขตการดำเนินกิจกรรมบริหารจัดการงานสาธารณสุขมูลฐานตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดทำข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขของอบต.ตุยงมีนโยบายด้านการพัฒนาสังคม และการเสริมสร้างพลังชุมชน ที่ต้องการพัฒนาทางสังคม เป็นการนำเอาเรื่องการเสริมสร้างพลังที่มุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่มทางเลือกการใช้ชีวิตในชุมชนท้องถิ่น และสังคม มีส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้อย่างมีคุณค่าและมีศักดิ์ศรี มีคุณธรรมจริยธรรม เปิดพื้นที่และโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงออกทางความคิดอย่างสร้างสรรค์ และนโยบายด้านการพัฒนาสาธารณสุขและส่งเสริมคุณภาพชีวิต ส่งเสริมการพัฒนายกระดับงานทางด้านการจัดการสุขภาวะชุมชนแบบองค์รวมให้เกิดการตระหนักและการตื่นตัวต่อการจัดการสุขภาวะภาคประชาชน ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านการสร้างสุขภาพของประชาชน และการบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นยุทธศาสตร์สร้างนำซ่อม,สนับสนุนการควบคุมป้องกันโรคทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มอาสาสมัครที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะในการดูแลสุขภาพ จัดให้มีการบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหาในพื้นที่และเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 พัฒนาสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม โดยตำบลตุยงมีประชากรในพื้นที่ทั้งหมด 6,929 คน (ข้อมูล ณ 1 เดือนเมษายน 2563 ) มีทั้งหมด 8 หมู่บ้าน กลุ่มอาชีพต่างๆ ในพื้นที่ เช่น กลุ่มอาชีพเกษตรกร, กลุ่มประมง และรับจ้างทั่วไป ซึ่งกลุ่มอาชีพหลักๆดังกล่าวยังขาดการเฝ้าระวังโรคจากการประกอบอาชีพ องค์การบริหารส่วนตำบลตุยงโดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มอาชีพดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อขอรับการสนับสนุนและบูรณาการร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ

ร้อยละของแรงงานนอกระบบที่เจ็บป่วย จากการประกอบอาชีพ ลดลง

50.00 50.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนมาตรการ ในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน

มีจำนวนมาตรการในการทำงานหรือกำหนดข้อบังคับการใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ป้องกันปัญหาสุขภาพ/โรคจากการทำงาน เพิ่มขึ้น

0.00 1.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่

จำนวนอาสาสมัครแรงงานในพื้นที่ เพิ่มขึ้น(คน)

0.00 16.00
4 เพื่อเพิ่มนวัฒกรรมในการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเกษตรกร

มีนวัฒกรรมในการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มเกษตรกรเกิดขึ้น

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาทีกษะแกนนำกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและแกนนำอาสาสมัครชีวะอนามัย

ชื่อกิจกรรม
การพัฒนาทีกษะแกนนำกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงและแกนนำอาสาสมัครชีวะอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดตั้งอาสาสมัครอาชีวอนามัย(อสอช.) ตำบลตุยง - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คน x 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 2,800.- บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน40 คน x 60 บาท เป็นเงิน 2,400.- บาท
- ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน 720.- บาท - วัสดุ อุปกรณ์ ประกอบการอบรม(สมุด ปากา แฟ้ม แบบสำรวจ และอื่นๆ) 40 คน x 30 บาทเป็นเงิน 1,200.- บาท รวมเป็นเงินจำนวน 7,120บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มี อสอช.เกิดขึ้นในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7120.00

กิจกรรมที่ 2 พัฒนาระบบหรือกลไกเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาโรคจากการประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาระบบหรือกลไกเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาโรคจากการประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองตรวจสุขภาพเบื้องต้น และสำรวจข้อมูลความเสี่ยง ภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร - ค่าตอบแทนผู้สำรวจข้อมูลและบันทึกข้อมูล จำนวน 40 ชุด x 30 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีข้อมูลด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ (อสอช. ตัวแทนผู้ประกอบอาชีพ จำนวน 50 คน) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 35 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,500.- บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน x 60 บาทเป็นเงิน 3,000.- บาท
- ค่าวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 6 ชม.x 600 บาทเป็นเงิน 3,600.- บาท รวมเป็นเงิน 10.100บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายมีทักษะด้านความรู้ที่ดีขึ้นนำไปสู่การปรับเปลี่ยน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10100.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมติดตามผลพฤติกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมติดตามผลพฤติกรรมการลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมเพื่อติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการดำเนินงานในด้านต่างๆ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน  40 คน x 25 บาท  เป็นเงิน 1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดข้อตกลงร่วมในการดำเนินงานในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,420.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดฐานข้อมูลความเสี่ยงและภัยคุกคามจากการประกอบอาชีพและระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรในพื้นที่ตำบลตุยง
2. เกิดกลุ่มอาสาสมัครชีวอนามัย ตำบลตุยง ที่มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับอาชีวอนามัยเชิงรุก การประเมินความเสี่ยง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการใช้งานแอพพลิเคชั่นในการสำรวจข้อมูล
3. เกิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรในตำบลตุยง
4. เกิดมาตรการ ข้อตกลง ข้อเสนอนโยบายในการส่งเสริมป้องกันโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ
5. กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรในตำบลตุยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ


>