กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.ตุยง

หมู่ที่ 1-8 ตำบลตุยง อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก “Coronavirus disease 2019” เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมือปี 2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเสียบพลันปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมและได้ว่าเป็นเชื้อ ไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรคซาร์ส (SARS) และเมอร์ส (MERS) ในปีที่ผ่านพบการระบาดในทั่วโลกเป็นจำนวนมากและยังคงมีการระบาดอย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 63 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (ศบค.) แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวันว่าประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 427 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 5,716 ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตเพิ่ม รวมยอดผู้เสียชีวิต 60 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 4,078 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,578 ราย ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 427 คน แบ่งเป็นการติดเชื้อภายในประเทศ 16 คน การค้นหาเชิงรุกในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ 397 คน และผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 14 คน อยู่ในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการที่สำคัญคือ การป้องกันตนเองมิให้สัมผัสกับโรคโดยการหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมลภาวะและไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยไอหรือจาม รวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการล้างมือ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนัก มีส่วนร่วมในการป้องกันโรค ไม่เฉพาะโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เท่านั้น รวมถึงโรคระบาดหรือโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเห็นควรให้มีการบูรณาการความร่วมมือจัดให้มีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ
องค์การบริหารส่วนตำบลตุยงเห็นถึงความสำคัญในปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการเพื่อเป็นการป้องกัน เฝ้าระวัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง จึงขอเสนอโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อจะได้ดำเนินการในลำดับต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตุยง

ลดอัตราการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (covid 19)

1.00 0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19)

ลดอัตราการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 19 (covid 19)

1.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 6,929
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าสื่อ วัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในกิจกรรมประชาสัมพันธ์ การเฝ้าระวัง การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ COVID-19
    เป็นเงิน 13,440 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีการจัดซื้อจัดจ้างทำสื่อ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อใช้ในกิจกรรมเฝ้าระวังและป้องกันโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13440.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังและการป้องกันโรค COVID-19

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังและการป้องกันโรค COVID-19
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชาสัมพันธ์ ให้้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ ในเรื่องการป้องกันโรคและมาตรการต่างๆตามที่ศบค.ประกาศ เช่น การใช้รถประชาสัมพันธ์เชิงรุกในพื้นที่ เสียงตามสายในชุมชน การติดป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ ฯลฯ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
  2. ประชาชนได้มีส่วนร่วมและทันกับเหตุการณ์
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 คัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่มาจากพื้นที่เสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มเป้าหมายที่มาจากพื้นที่เสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการบูรณาการร่วมระหว่างหน่วยงานราชการในพื้นที่ และองค์กรภาคประชาชน ในการคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และการกักตัวตามมาตรการต่างๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,440.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีการดำเนินงาน
1. จัดทำโครงการเสนอผู้บริหารและคณะกรรมการกองทุนฯตามลำดับ
2. บูรณาการโครงการกับกิจกรรมหรือโครงการอื่นๆตามความเหมาะสม
3. ดำเนินงานตามกิจกรรมที่ได้ระบุในโครงการโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการหรือองค์กรชุมชนในพื้นที่ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน ศพด. ชมรมอสม. ผู้นำชุมชน เป็นต้น
4. สรุปรายงานผลกิจกรรมให้คณะกรรมการกองทุนฯรับทราบเมื่อดำเนินการเสร็จตามระยะเวลา

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีความรู้ในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2. ประชาชนในพื้นที่อบต.ตุยงได้การป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3. การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>