กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพี่ช่วยน้องส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพช่องปาก (รพสต.บ้านตลิ่งชัน)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

(รพสต.บ้านตลิ่งชัน)

(รพสต.บ้านตลิ่งชัน)

นักเรียนชั้น ป.๑และชั้น ป.๖รร.บ้านศาลาน้ำ รร.บ้านเนินทราย รร.บ้านตลิ่งชัน จำนวน ๘๕ คน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศพบว่า เด็กในกลุ่มประถมศึกษา ซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในกลุ่มเด็กประถมศึกษามีสภาวะการเกิดโรคฟันผุค่อนข้างคงที่ โดยมีสัดส่วนผู้เป็นโรคฟันผุ ร้อยละ ๕๓.๙ ,๕๗.๓ และ๕๖.๘๗ ค่าเฉลี่ยฟันผุ ผุ อุด ถอน ๑.๕๕ , ๑.๖๔ และ๑.๕๕ซี่ต่อคนปัจจัยที่ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีสภาวะการเกิดโรคฟันผุค่อนข้างคงที่ คือการเข้าถึงบริการ ทันตกรรมป้องกันที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ พบว่า การมีบริการเคลือบหลุมร่องฟันเป็นบริการในชุดสิทธิประโยชน์ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กมารับบริการเพิ่มมากขึ้นจากการประชาสัมพันธ์การเคลือบหลุมร่องฟัน เนื่องจากโครงการได้สนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งวิธีการป้องกันการเกิดโรคฟันผุในฟันกรามแท้ซี่ที่หนึ่ง คือต้องเริ่มต้นนับตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นมาในช่องปากคือ อายุ ๖ ปี และหากต้องการป้องกันไม่ให้เกิดการผุจะต้องให้บริการเคลือบหลุมร่องฟันตั้งแต่ในกลุ่มนี้ ป. ๑ และฟันซี่นี้จะขึ้นเต็มที่โดยที่อยู่ในแนวการบดเคี้ยวอาหาร (occlusal plane) เมื่อเด็กอายุ ๘ ปี ซึ่งการติดตามคุณภาพการยึดติดแน่นเป็นการประเมินประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ในช่วงวัยนี้และจะทำให้สามารถเคลือบหลุมร่องฟันซ้ำในกรณีที่มีการหลุดออกหรือมีแนวโน้มจะเกิดฟันผุในกรณีของเด็กอายุ ๑๒ ปี จะมีฟันกรามแท้ซี่ที่ ๒ ซึ่งเป็นฟันกรามที่ขึ้นถัดจากฟันกรามแท้ซี่ที่ ๑ เข้าไป โดยที่จะเกิดการผุที่ด้านบดเคี้ยวของฟันซี่นี้ในเด็กอายุ ๑๒ ปี เช่นเดียวกับกรณีฟันกรามแท้ซี่ที่ ๑ในเด็ก ป. ๑ การสำรวจ พบว่า ฟันกรามแท้ซี่ที่ ๒ มีการผุไปแล้วร้อยละ ๑๒ แม้ว่าจะเป็นช่วงวัยที่ฟันเริ่มขึ้นก็ตาม
การตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในชั้น ป. ๑และ ป. ๖ เป็นกลุ่มอายุดัชนีที่หากสามารถติดตามเฝ้าระวังและให้บริการทันตกรรมป้องกันด้วยการเคลือบหลุมร่องฟันในฟันกรามทั้ง ๒ ซี่นี้จะทำให้รักษาฟันของเด็กซึ่งยังประโยชน์ในการบดเคี้ยวอาหารตลอดช่วงชีวิต
การเคลือบหลุมร่องฟัน(Sealant)พร้อมกันนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการป้องกันฟันผุ ฟันที่ได้รับการเคลือบหลุมร่องฟันแล้ว ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลทำความสะอาดและได้รับฟลูออไรด์อย่างสม่ำเสมอ มาตรการที่เหมาะสม คือ การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ทุกวัน ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างสุขนิสัยที่ต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่เด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันแท้กำลังจะขึ้น ไปจนถึงเด็กวัยประถมศึกษา และสร้างสุขนิสัยในการดูแลรักษาสุขอนามัยส่วนตัวให้แก่เด็ก เป็นการเตรียมความพร้อมให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองในอนาคตและเพื่อให้มีการดำเนินการส่งเสริมทันตสุขภาพช่องปากในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตลิ่งชันได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบบริการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพที่มีคุณภาพและครอบคลุม ร่วมกับการพัฒนาศักยภาพของเด็กในการดูแลรักษาอนามัยช่องปากของตนเองและส่งเสริมกิจกรรมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ และชั้นประถมศึกษาปีที่๖ ไดรับการตรวจสุขภาพช่องภาพ
2.เพื่อให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ และชั้นประถมศึกษาปีที่๖ ได้รับบริการเคลือบหลุมร่องฟันตามเป้าหมาย

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 85
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมป้องกัน/กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและวางแผนการรักษาอย่างเร่งด่วนทันเวลา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมส่งเสริมป้องกัน/กิจกรรมตรวจสุขภาพช่องปากและวางแผนการรักษาอย่างเร่งด่วนทันเวลา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฟันผุ เหงือกอักเสบและหินปูนในช่องปาก 2.สาธิต ฝึกทักษะ การแปรงฟัน ที่ถูกวิธีและการทำความสะอาดช่องปาก 3.ตรวจสุขภาพช่องปาก ๔.ให้บัตรนัดนักเรียนมารับบริการ ทันตกรรมเคลือบหลุมร่องฟัน 5.ดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ช่องปาก 6.สรุปผลการดำเนินงาน งบประมาณ ค่าแปรงสีฟันจำนวน85 ชุดๆละ 45 บาท =3825 -ค่าแก้วน้ำบ้วนปาก จำนวน 85 ใบๆละ10 บาท = 850 -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 85คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท = 4250 -ค่าวิทยากร จำนวน5 ชม.ๆละ300 บาท = 1500 -ค่าป้ายโครงการ = 450 รวมเงินทั้งสิ้น10875.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑ และชั้นประถมศึกษาปีที่๖ สามารถตรวจฟันด้วยตนเองได้ ร้อยละ ๘๐ เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑  และชั้นประถมศึกษาปีที่๖  มีความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันโรคฟันผุ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10875.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,875.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑และชั้นประถมศึกษาปีที่๖มีความรู้เกี่ยวกับวิธีป้องกันโรคฟันผุ
2.เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๑และชั้นประถมศึกษาปีที่๖ได้รับบริการทันตกรรมเคลือบหลุมร่องฟันตามกลุ่มเป้าหมาย


>