กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา

ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

2.00

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยปีพ.ศ.2562 มีผู้ป่วยจำนวน 81,500 ราย และมีผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 89 รายในจังหวัดปัตตานีได้มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วจำนวน 1,040 ราย โดยในตำบลบางตาวา ในปัจจุบัน ตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2563 มีจำนวนผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางตาวา ได้เล็งเห็นความสำคัญดำเนินการควบคุมและการป้องกันโรคที่เข้มแข็งและมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการประสานความร่วมมือกับชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของส่วนราชการ องค์กรท้องถิ่นและชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินร้อยละ 250 ต่อแสนประชากร อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0

2.00 0.00
2 เพื่อลดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

ค่า HI (House Index) ไม่เกินร้อยละ 10 ค่า CI (Container Index) ไม่เกินร้อยละ 0

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง และกำหนดมาตรการทางสังคมร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง และกำหนดมาตรการทางสังคมร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการประชุมชี้แจงเชิงปฏิบัติการ  2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,500 บาท -ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการคนละ 75 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 3,750 บาท -ค่าพาหนะสำหรับผู้เข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการ คนละ 50 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 4,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และสามารถถ่ายให้กับประชาชนทั่วไปได้ 2.สามารถออกกระบวนการกำจัดรคไข้เลือกออกให้หมดไปในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14550.00

กิจกรรมที่ 2 สุ่มประเมินบ้าน คัดเลือก “บ้านสะอาด ชีวีมีสุข” และ รณรงค์ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
สุ่มประเมินบ้าน คัดเลือก “บ้านสะอาด ชีวีมีสุข” และ รณรงค์ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนพ่นหมอกควันจำนวน 2 หมู่บ้านๆละ 2,000 บาท      เป็นเงิน  4,000 บาท
  • ค่าจัดซื้อเครื่องพ่นหมอกควัน จำนวน 1 เครื่อง ราคาเครื่องละ 56,000 บาท เป็นเงิน 56,000  บาท -ค่าจัดซื้อน้ำยาพ่นหมอกควัน จำนวน 6 ขวดๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 9,000  บาท -ค่าจัดซื้อทรายอะเบทป้องกันลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1 ถังๆละ 4,500 บาท เป็นเงิน 4,500  บาท
  • ค่าจัดซื้อโลชั่นทากันยุงแบบซอง จำนวน 200 ซองๆละ 4.90 บาท
    เป็นเงิน 980 บาท -ค่าจัดซื้อสเปรย์กำจัดยุง ขนาด 300 ml
    จำนวน 60 ขวดๆ ละ 75 บาท    เป็นเงิน 4,500  บาท -  ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 4,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.สามารถกำจัดโรคพาหะของโรคไข้เลือดออก 2. มีบ้านต้นแบบในชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 3. มีอุปกรณ์เพียงพอในดูแลป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
83780.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 98,330.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงและไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต
2. ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
3. มีบ้านสะอาด ชีวีมีสุข เป็นต้นแบบและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง


>