กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพนักเรียน 6-12 ปี ในตำบลวังประจัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพวังประจัน

1…นายวัฒนชัย ไชยจิตต์…………………
2…นางสาวมารียา สุขสง่า............……
3…นางรสนาบินหมาน…………………
4…นางวนิดาศรีริภาพ………………..
5…นางอภิยา เหตุทอง……………………..

โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรังและโรงเรียนบ้านวังประจัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีปัญหาฟันผุ

 

43.67

ฟันและอวัยวะในช่องปากเป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร และมีความสำคัญสำหรับการ ติดต่อสื่อสารของผู้คนในสังคม ปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคของคนเปลี่ยนไป ในขณะที่ระบบบริการสุขภาพ และระบบการพัฒนาคนยังไม่สามารถปรับตัวรองรับให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ทำให้การเกิดโรคฟันผุ ในทุก กลุ่มวัยเพิ่มขึ้น
ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนวัยเรียน เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกัน ปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้นนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้ว ยังมีผลกระทบต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก นักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่าย นอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานของหวาน ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย
รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8ประเทศไทย 2560 พบว่าเด็กวัยเรียนอายุ 12 ปี ร้อยละ 58.7 เรียนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย ถึงตอนมัธยมตอนต้น จากการสำรวจสภาวะโรคฟันผุในฟันถาวรพบว่า เด็กอายุ 12 ปี ฟันดีไม่มีผุ (Cavity free)1 ร้อยละ 66.7 ความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 12 ปี คิดเป็นร้อยละ 52.0 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด (DMFT) เท่ากับ 1.4 ซี่/คน เป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 31.5 มีฟันอุดร้อยละ 31.1 และมีการสูญเสียฟัน 1 ฟันดีไม่มีผุ (Cavity free)
จากการสำรวจสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.วังประจัน พบว่า เด็กกลุ่มอายุ 6 -12 ปี มีอัตราฟันแท้ผุเฉลี่ยร้อยละ 43.67และเด็กอายุ12 ปี มีอัตราฟันดีไม่มีผุ (Cavity Free) ร้อยละ 56.32 (ข้อมูล รพ.สต.วังประจัน จากแฟ้ม HDC สสจ.สตูล 2562) จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าสภาวะฟันผุของเด็กนักเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านวังประจัน อยู่ในระดับสูง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงทัศนคติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขป้องกันได้
จากเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน ซึ่งมีหน้าที่ในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในช่องปากของกลุ่มเป้าหมายให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงให้เกิดประสิทธิภาพที่ยั่งยืนเพื่อให้ สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่การสร้างเสริมทันตสุขภาพในระดับชุมชนเป็นมาตรการที่สามารถพัฒนาสุขภาพช่องปากของประชาชนที่ยั่งยืนที่สุดแต่ต้องอาศัยระยะเวลาและกระบวนการในการผลักดันและขับเคลื่อนสร้างให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมด้านทันตสุขภาพ อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพช่องปากของคนในชุมชนและสร้างเสริมสุขภาพช่องปากที่ดีอย่างยั่งยืน จึงได้จัดโครงการส่งเสริมทันตสุขภาพนักเรียน 6-12 ปี ตำบลวังประจัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 นักเรียนในโรงเรียนได้รับบริการทันตกรรมส่งเสริมเคลือบหลุมรองฟันและทา/เคลือบฟลูออไรด์เฉพาะที่

ได้รับบริการทันตกรรมส่งเสริมเคลือบหลุมรองฟันและทา/เคลือบฟลูออไรด์เฉพาะที่ ร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งสองโรงเรียน

0.00
2 นักเรียนในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรังและโรงเรียนบ้านวังประจัน แปรงฟันได้อย่างมีคุณภาพ

คิดจากการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลงของนักเรียนทั้ง 2 โรงเรียน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 183
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ 2.จัดประชุมคณะทำงานงาน 3. ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. ดำเนินกิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมาย
5. ประชุมชี้แจงโครงการผู้ที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง กลุ่มนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโรคในช่องปาก และการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง กลุ่มนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจช่องปากนักเรียนทุกคน ในโรงเรียนบ้านทุ่งมะปรังและโรงเรียนบ้านวังประจัน 2.ให้ทันตสุขศึกษานักเรียน 3.ฝึกภาคปฏิบัติทักษะการแปรงฟันคุณภาพในโรงเรียน 4.ตรวจและบันทึกผลค่า Plaque Index
5.ให้บริการทันตกรรมส่งเสริม เคลือบหลุมร่องฟันและทา/เคลือบฟลูออไรด์เฉพาะที่ ในนักเรียนชั้น ป.1 - ป.6 -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน183คนๆละ2มื้อๆละ25บาทเป็นเงิน9,150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียนในโรงเรียน ได้รับบริการทันตกรรมส่งเสริม เคลือบหลุมร่องฟันและทา/เคลือบฟลูออไรด์เฉพาะที่ร้อยละ 50 2.ร้อยละ 85 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9150.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำยุวอสม.ในโรงเรียนสุขบัญญัติ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำยุวอสม.ในโรงเรียนสุขบัญญัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างแกนนำยุวอสม.ในโรงเรียนสุขบัญญัติ (โรงเรียนบ้านทุงมะปรัง) - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน30คนๆละ2มื้อๆละ25บาทเป็นเงิน1,500 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน4ชั่วโมงๆละ300 บาทเป็นเงิน1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โรงเรียนผ่านมาตรฐานโรงเรียนสุขบัญญัติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,850.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนในโรงเรียน ได้รับบริการทันตกรรมส่งเสริม เคลือบหลุมร่องฟันและทา/เคลือบฟลูออไรด์เฉพาะที่ร้อยละ 50
2. ร้อยละ 85 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีทักษะในการแปรงฟันอย่างถูกวิธีตลอดจนมีระดับค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์(Plaque index)ลดลง
3. มีแกนนำยุวอสม.ขับเคลื่อนโรงเรียนสุขบัญญัติในโรงเรียน


>