กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมลดสารเคมีตกค้างในเกษตรกร(กลุ่มแรงงานนอกระบบ) ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

ชมรมอสม.หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 8 ตำบลชะมวง

นางสาวอาภรณ์ ลูกแก้ว
นางกาญจนา จันปาน
นางอนงค์ ทองชุม
นางปราณี ทองอิน
นางสำเนียง เสนแก้ว

หมู่ 7 และ หมู่ 8 ตำบลชะมวง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเกษตรกรและกลุ่มเสี่ยง

 

20.00

จากการตรวจสารเคมีตกค้าง ของกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและและประชาชนทั่วไปที่นิยมซื้อผักผลไม้บริโภค ในปี 2563 ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านจันนา ตำบลดอนทรายพบว่าผลตรวจสุขภาพของกลุ่มที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประชาชนทั่วไปที่ซื้อผักผลไม้รับประทาน จำนวน30คน พบอัตราผู้มีสารเคมีตกค้างในกระแสโลหิต มีระดับความเสี่ยงจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 26.66พบผลปลอดภัยจำนวน 22 คนคิดเป็นร้อยละ73.33

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ 7 และหมู่ 8 ตำบลชะมวงได้ดำเนินการเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเคมีและประชากรที่ซื้อผักผลไม้รับประทาน พบว่ากลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยผ่านการอบรมเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการล้างผักผลไม้ที่ถูกวิธีจึงได้จัดทำโครงให้ความรู้และสำรวจความเสี่ยงของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีกำจัดสัตรูพืชแกละกลุ่มประชากรที่บริโภคผักผลไม้ที่ซื้อจากตลาด และตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด ปี 2564ขึ้น เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนเองส่งเสริมให้ประชาชนปลุกผักสวนครัวไว้บริโภคกันเองในครอบครัว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกร(กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) ที่มีความเสี่ยงได้มีความรู้ในเรืองความปลอดภัยจาการใช้สารเคมีและให้เกษตรกรที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยง ระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

เกษตรกร(กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ)ที่ร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการป้องกันสารเคมีตกค้างในเลือด เพิ่มขี้น ร้อยละ 80 และกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ที่มีระดับสารเคมีระดับเสี่ยง และระดับไม่ปลอดภัยทุกคน  ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาด้วยชาชงรางจืดทุกคน

20.00 80.00
2 เพื่อส่งเสิรมให้เกษตรกร(กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) ที่ใช้ยาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ที่นิยมซื้อผักผลไม้รับประทานเองเป็นประจำ ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจสารตกค้างในเลือด  ร้อนละ 100

20.00 100.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักสวนครัวแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อบริโภค

ผู้เข้าร่วมโครงการ ปลูกผักสวนครัวแบบเกษตรอินทรี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

20.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร การล้างผักอย่างถูกวิธี การปลูกพืชแบบเกษตรอินทรี การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้สารเคมี

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เรื่องสารเคมีตกค้างในเลือดเกษตรกร การล้างผักอย่างถูกวิธี การปลูกพืชแบบเกษตรอินทรี การทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้สารเคมี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 25 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 625 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้เข้าอบรม  ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
625.00

กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักกินเองทุกครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักกินเองทุกครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวิทยากรให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงเกษตรกร  จำนวน 3  ชม.ๆละ 600 บาท  เป็นเงิน 1,800  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเกษตรกร(กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) จำนวน 20 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจสุขภาพโดยการเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมาย ก่อน ดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพโดยการเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมาย ก่อน ดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเจาะเลือด จำนวน 20 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกร (กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ)  ได้รับการเจาะเลือด ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจสุขภาพโดยการเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายซ้ำ เมื่อดำเนินโครงการ ครบ 3 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสุขภาพโดยการเจาะเลือดกลุ่มเป้าหมายซ้ำ เมื่อดำเนินโครงการ ครบ 3 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเจาะเลือดกลุ่มเสี่ยงเกษตรกร (กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ)  ครั้งที่ 2 จำนวน 20 คนลๆ 50 บาท เป็นเงิน 1000  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มสี่ยงเกษตรกร (กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ) ได้รับการเจาะเลือด ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,425.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบมีความปลอดภัยจาการบริโภคอาหาร
2.กลุ่มวัยแรงงานนอกระบบ ที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและรักษาด้วยรางจืด ร้อยละ100


>