กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ลงพื้นที่ อบต.ในควน จ.ตรัง

by twoseadj @10 ม.ค. 60 20:35 ( IP : 14...181 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 1000x750 pixel , 78,865 bytes.

เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา เภสัชกรสมชาย ละอองพันธ์ หัวหน้างานประสานงานเครือข่ายกองทุนสุขภาพตำบล และพี่เลี้ยงประจำจังหวัดตรัง คือ นายสมงคล สองทิศ นางประจวบ ชัยเกษตรสิน นายธีรนันท์ ลงติดตามกรณีการใช้เงินงบประมาณกองทุนฯ เพื่อดำเนินโครงการ รายละเอียดดังนี้

ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินโดยสำนักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัดตรัง ได้ตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินของกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ในควน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ กรณี การไม่ส่งสรุปผลการดำเนินงานซึ่งไม่เป็นตามประกาศฯจำนวน ๔ โครงการ ประกอบด้วย ๑.โครงการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวัดโพรงจระเข้ จำนวนเงิน ๙๖,๐๕๐ บาท ๒.โครงการผู้สูงอายุแจ่มใส ห่างไกลโรค ของชมรมผู้สูงอายุแจ่มใส จำนวนเงิน ๓๓,๖๐๐ บาท
๓.โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยวิธีแอโรบิค ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวัดโพรงจระเข้ จำนวนเงิน ๑๗,๔๐๐ บาท
๔.โครงการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเด็กปฐมวัย อำเภอย่านตาขาว ครั้งที่ ๑ ประจำปี ๒๕๕๘ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพรงจระเข้ จำนวน ๕,๐๐๐ บาท แล้วนั้น

ทางเภสัชกรสมชาย ละอองพันธุ์ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานประสานงานเครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ สปสช.เขต ๑๒ สงขลาและนายมงคล สองทิศ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานหลักประกันสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้ลงพื้นที่ อบต.ในควน อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ที่ผ่านมา เพื่อรับฟังข้อเท็จจริงของการดำเนินงาน ขอรายงานผลของการรับฟังข้อเท็จจริง ผลปรากฎว่าทั้ง ๔ โครงการได้ส่งสรุปผลงานการดำเนินงานเรียบร้อยแล้ว เอกสารสรุปผลผลงานทั้ง ๔ โครงการทาง อบต.ในควน ได้ส่งมอบมายังหน่วยงานท่านแล้ว และสปสช.เขต ๑๒ สงขลา ได้ทำความเข้าใจกับผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ เรื่องการกำกับติดตามการดำเนินโครงการของผู้ขอรับสนับสนุนทุน ดังนี้

๑.๑ ต้องมีการประชุมคณะกรรมการบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพสุขภาพในระดับพื้นที่อย่างน้อย ๔ ครั้ง/ปี และในช่วงของไตรมาส ๓ ควรมีวาระการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ โดยต้องให้ผู้รับการสนับสนุนงบประมาณมานำเสนอ

๑.๒ ให้แต่งตั้งคณะทำงานหรือคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลโครงการ มีหน้าที่ลงติดตามการดำเนินโครงการของผู้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ และรายงานผลการติดตามในที่ประชุมแก่คณะกรรมการกองทุนฯ

๑.๓ ให้คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.ในควน ควรพิจารณาอนุมัติโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์กองทุนฯ กล่าวคือ กรณีของโคงการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเด็กปฐมวัย มีลักษณะไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และอาจซ้ำซ้อนกับงบประมาณปกติของหน่วยงาน

๒.การตรวจสอบโครงการที่ขอรับการสนับสนุน จำนวน ๓ โครงการมีข้อโต้แย้ง
๒.๑ ประเด็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานรับผิดชอบโดยตรง นั้นของเรียนแจ้งประเด็นดังกล่าวว่า เนื่องจากกองทุนสุขภาพตำบลเป็นงบประมาณประเภทส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ (P&P_Community) จัดสรรรายหัว ๔๕ บาท/ประชากร ช้ำสำหรับกิจกรรมจัดบริการสาธารณสุขเกี่ยวกับการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลเชิงรุก ผู้ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายไม่จำกัดสิทธิการรักษาหรือต้องเป็นกลุ่มบุคคลในพื้นที่ 
๒.๒ ประเด็น การเบิกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัสดุอุปโภคบริโภคเพื่อแจกจ่ายให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผ้าถุง ปลากระป๋อง  ตู้ยาสามัญประจำบ้าน  และค่าผ้าขนหนู เป็นต้น ทาง สปสช.เขต ๑๒ สงขลา ได้ชี้แจงให้คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลในควนทราบและต้องระมัดระวังการอนุมัติค่าใช้จ่ายอุปโภคหรือค่าของรางวัล ตลอดจนของแจกจ่ายที่เข้าข่ายไม่ตรงตามวัตถุประสงค์กองทุนฯตามข้อ ๔ ของประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ พ.ศ.๒๕๕๗  ตลอดจนผลของการอนุมัติงบประมาณที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯและให้เพิ่มกลไกคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ติดตามกลุ่นกรองโครงการของกองทุนฯให้ตรงตามวัตถุประสงค์ต่อไป