กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ปี 2564 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 64 – L7452 – 1 - 2
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานแพทย์แผนไทย กลุ่มงานบริการการแพทย์และสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 44,107.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทธิดา บุญแสร์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขระดับโลกรวมทั้งประเทศไทย มีรายงานว่ามีผู้ป่วยเป็นเบาหวานทั่วโลกมากถึง 382 ล้านคน และคาดว่าจำนวนจะเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 417 ล้านคนในปี ค.ศ. 2035 ในประเทศไทย พบอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานปี พ.ศ.2557-2559 เท่ากับ 4,694.75, 4,900 และ 4,850.23 ต่อแสนประชากรตามลำดับ โรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งการเกิดแผลที่เท้า ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุระดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และตามมาด้วยการตัดเท้าหรือขา จากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลา 1 ปี พบอุบัติการณ์การเกิดแผลใหม่ที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ1-2.63อัตราการถูกตัดขาในผู้ป่วยเบาหวานมีตั้งแต่ 2.1 ถึง 13.7รายต่อ1,000 คนต่อปีซึ่งสูงกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวานถึง 10 เท่า จากข้อมูลระบาดวิทยาและค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ถูกตัดเท้าหรือขาเนื่องจากเบาหวานที่โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2547 พบว่าผู้ถูกตัดเท้าหรือขาเนื่องจากเบาหวานที่โรงพยาบาลศิริราชมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี ระยะพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเฉลี่ย 32.5 วัน มีค่าใช้จ่ายทางตรงเฉลี่ย 80,490 บาท ส่วนใหญ่ใช้สิทธิการรักษาจากสวัสดิการจากรัฐพบผู้ที่มีการสูญเสียความรู้สึกของเท้า มีโอกาสเกิดแผล ที่เท้าเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่มีการสูญเสีย ความรู้สึกที่เท้า อาการชาเท้า ในผู้เป็นเบาหวาน เป็นอาการสูญเสียการรับความรู้สึก จึงเสี่ยงต่อ การบาดเจ็บ การเกิดแผลที่เท้า เมื่อเกิดบาดแผลแล้วอาจติดเชื้อได้ง่ายและหายยาก อาจลุกลามร้ายแรงถึงขั้นต้องตัดเท้าหรือขา แนวทางการรักษา ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าวิธีการใดดีที่สุด แต่มีการนำการแพทย์ทางเลือกมาใช้การรักษา มีงานวิจัยมากมายพบว่า มีวิธีการลด อาการชาเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ด้วยการนวดหลากหลายวิธี เช่น การนวดเท้าด้วยวิธีหัตถบำบัดแบบแพทย์แผนไทยการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้า การนวดด้วยกะลามะพร้าว
สถานการณ์โรคเบาหวานจังหวัดยะลา ระหว่างปีงบประมาณ 2559 – 2561 พบอัตราผู้ป่วยเท่ากับ 2,946.07 3,016.0 และ 3,540.65 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ ในเขตพื้นที่ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาและรับยาต่อเนื่องในระบบ (1 ตุลาคม 2561 – 23 กันยายน 2562)จำนวน 1,778 ราย ได้รับการตรวจเท้า โดยตรวจจุดสูญเสียด้วย Monofilament 4 จุด จำนวน 1,373 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.18 ผลการตรวจเท้าอยู่ระดับปกติ จำนวน 1,213 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.35 ระดับความเสี่ยงต่ำ จำนวน 111 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.08 ไม่พบระดับเสี่ยงปานกลาง และระดับความเสี่ยงสูง จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ0.07 มีแผลที่เท้า 1 รายคิดเป็นร้อยละ 0.07 ถูกตัดขา 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.15 (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา,2561) งานแพทย์แผนไทย สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการดูแลสุขภาพเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลสุขภาพเท้า ด้วยการนวดฝ่าเท้าตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งการนวดฝ่าเท้าจะช่วย เพิ่มการไหลเวียนโลหิต กระตุ้นระบบประสาทส่วนปลาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ เพิ่มความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อเท้า ให้สารอาหารสามารถไปเลี้ยงบริเวณฝ่าเท้าได้ดี และเพื่อให้เกิดการพัฒนางานด้านการแพทย์แผนไทย ให้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพ และที่สำคัญยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานดูแลสุขภาพเท้า ด้วยตนเองสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อลดอาการชาบริเวณฝ่าเท้าหรือขจัดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดแผลให้หมดไปหรือ เหลือน้อยที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 ผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเท้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
  1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100 ตามเป้าหมาย
  2. ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจหลังการอบรม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
0.00
2 2 ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการรักษาอาการชาบริเวณ ปลายเท้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
  1. ร้อยละ 80 ของผู้ที่ได้รับการดูแลเท้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย มีผลการตรวจเท้าหลังเข้าร่วมโครงการอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 44,107.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย 0 31,640.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 การดูแลฟื้นฟูสุขภาพเท้าในผู้ป่วยเบาหวานด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย 0 12,467.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรม 3 ติดตามประเมินผล - ตรวจประเมินระบบประสาทรับความรู้สึกที่เท้า 4 จุด ด้วย Monofilament หลังเสร็จสิ้นโครงการบันทึกและรายงานผลเป็นรายบุคคล 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลเท้าด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลให้เกิดแผลที่เท้าได้
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการรักษาอาการชาเท้า และมีอาการชาปลายเท้าลดลง
  3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงการรับบริการฟื้นฟูสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 14:17 น.